mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
4 เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ! ชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์โครงการ “Chevron Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 4” ตะลุยเยอรมนี

4 เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ! ชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์โครงการ “Chevron Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 4” ตะลุยเยอรมนี

0

              การกลับมาพบกันอีกครั้งของ 4 เยาวชนผู้ชนะการประกวด Chevron Enjoy Science: Young Makers Contest ปีที่ 4 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา แม้จะห่างหายกันไปกว่า 2 ปีจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 จนเมื่อเยอรมันเริ่มเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้เดินทางเข้าประเทศได้ จึงเป็นโอกาสดีที่น้องๆ จะออกเดินทางไปเปิดประสบการณ์ในต่างแดนด้วยการศึกษาดูงาน Maker Faire Sachsen และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยี ณ ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 7-14 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา

              หากย้อนกลับไปบนเวทีการประกวดไอเดียความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ในโครงการ Chevron Enjoy Science: Young Makers Contest ปีที่ 4 ภายใต้การสนับสนุนโดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จะเปิดเวทีให้เหล่าน้องๆ นักประดิษฐ์จากทั่วประเทศได้ส่งไอเดียผ่านความคิดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมและชุมชนให้ดีขึ้น โดยผลการพิจารณารางวัลชนะเลิศสายอาชีพ ได้แก่ โครงการชุดเลี้ยงกบในขวดพลาสติกระบบรีไซเคิลน้ำ โดยนายอนุชิต สุวรรณ์ และนางสาวศศิญาดา สุริโย จากวิทยาลัยการอาชีพไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และรางวัลชนะเลิศสายสามัญ ได้แก่ โครงการอุปกรณ์เลี้ยงปลาวาไรตี้ โดยนายกะวีวัตน์ แก่นยางหวาย และนายธีรภพ ปุรณกรณ์ จากโรงเรียนปลาปากวิทยา จ.นครพนม โดยได้รับทุนการศึกษาพร้อมสิทธิ์ในการเข้าร่วมงาน Maker Faire ระดับโลก

              เมื่อโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงทันทีไม่เว้นแม้แต่การจัดงาน Maker Faire ในต่างประเทศก็เช่นกัน แต่ถึงกระนั้นโควิด-19 ก็ไม่อาจจะปิดกั้นโอกาสของน้อง ๆ ได้ เพราะเมื่อสถานการณ์เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ถึงเวลาที่เหมาะสมและทุกอย่างลงตัว ประกอบกับงาน Maker Faire Sachsen ได้กลับมาจัดขึ้นเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2565 การเดินทางของ 4 เยาวชนจึงเริ่มต้นขึ้น

               นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. มีหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรวิจัยของประเทศ รวมถึงส่งเสริมและการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในทักษะด้านสะเต็ม พร้อม สร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงเมกเกอร์ อันจะทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมต่อไป

                การที่ได้พาน้องๆ ทีมชนะเลิศทั้ง 4 คนมาร่วมงาน Maker Faire Sachsen ในครั้งนี้ เราจะเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ถึงแม้เราจะต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกัน แต่ความคิดสร้างสรรค์ก็ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ การจัดงาน Maker Faire ของทุกประเทศต่างมีเป้าหมายที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเป็นแหล่งพบปะของเหล่านักประดิษฐ์ที่มีในทุกเพศและทุกวัยได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดกิจกรรมที่ทุกคนสามารถร่วมสนุกได้ ทำให้เด็กๆ ที่มาร่วมในงานต่างก็สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับกิจกรรม

                  ซึ่งก็จะได้ซึมซับกระบวนการคิดและเรียนรู้ไปในเวลาเดียวกัน   “ในวันนี้แม้น้องๆ ทั้ง 4 คนต่างแยกย้ายเส้นทางชีวิตไปศึกษาต่อในระดับชั้นอุดมศึกษา แต่ก็เชื่อมั่นว่าน้องๆ จะได้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่การเข้าร่วมประกวดโครงการ จนถึงการเดินทางมาร่วมงาน Maker Faire ในต่างแดนครั้งนี้ไปต่อยอด นำไปปรับใช้กับการเรียนและเป็นกำลังสำคัญที่จะทำประโยชน์ให้กับชุมชนและประเทศต่อไป” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว

            นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวถึงความมุ่งมั่นของเชฟรอนเพื่อผลักดันการศึกษาในสาขาสะเต็ม (STEM) มาโดยตลอดว่า “ตลอดระยะที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเรามุ่งให้ความสำคัญกับการปลูกฝังการเรียนรู้ด้านสะเต็มอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต  เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมคือรากฐานที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนได้ ดังนั้นการตีตั๋วพาเหล่าเยาวชนเมกเกอร์ไปเยือนต่างแดนในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการ ‘ตีตั๋ว’ แห่งโอกาสให้ประเทศไทย ในการจุดประกายและแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พัฒนาองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเมกเกอร์ชาติอื่นๆ นำกลับมาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ขับเคลื่อนสู่การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในระดับนานาชาติอีกด้วย ดังนั้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของเชฟรอนในการยกระดับขีดความสามารถของเยาวชนไทยให้พัฒนาเป็น Smart Citizen พร้อมรับมือกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อขับเคลื่อนประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน”

              นายกะวีวัตน์ แก่นยางหวาย หรือน้องแฟ้ม โรงเรียนปลาปากวิทยา จ.นครพนม ทีมชนะเลิศด้านสายสามัญ เล่าว่าการเดินทางครั้งนี้ได้ทั้งความรู้และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีที่ได้เห็นวิวัฒนาการของยานพาหนะในสมัยต่างๆ ของเยอรมัน ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกของเรือ รถ และเครื่องบินที่นำชิ้นส่วนและอุปกรณ์จริงมาจัดแสดงได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ แถมในระหว่างทริปยังได้เกร็ดความรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมันด้วย

               และน้องภพ หรือนายธีรภพ ปุรณกรณ์ เล่าต่ออีกว่า สำหรับตนเองถือเป็นการเดินทางไกลครั้งแรกที่ทำให้ได้พบกับผู้คนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนและยังได้รับความรู้อีก ก่อนเดินทางรู้สึกตื่นเต้นมากจนนอนไม่หลับไปหลายวัน “สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในการไปดูงานคือ ได้เห็นรถยนต์รุ่นต่างๆ ที่ผมฝันถึงหลายคัน บางรุ่นเคยเห็นแต่ภาพในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่คิดฝันว่าจะได้มาเห็นของจริงในวันนี้ ความรู้และประสบการณ์ที่ผมได้รับโอกาสดีๆจากผู้ใหญ่ในครั้งนี้ ผมสัญญาว่าจะช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยคนที่เดือดร้อนให้ได้มากที่สุดต่อไปครับ”

             อีกด้านสายอาชีพ นายอนุชิต สุวรรณ์ หรือน้องนก วิทยาลัยการอาชีพไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บอกเล่าว่า ผมรู้สึกประทับใจในการดูงานเมกเกอร์ครั้งนี้มาก ได้รับความรู้หลายๆ อย่าง ทั้งด้านเครื่องจักรต่างๆ เเละที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของประเทศเยอรมัน และการเดินทางครั้งนี้ยังทำให้ผมรู้สึกว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญกับเรามากๆ เมื่อก่อนเป็นคนที่ไม่ชอบเรียนภาษาอังกฤษเลย เพราะคิดว่าไม่รู้จะเรียนไปทำไม เรียนไปก็ไม่รู้จะเอาไปพูดกับใคร จนมาถึงวันนี้ที่ผมได้เดินทางมาต่างประเทศทำให้ผมนึกขึ้นได้ภาษาอังกฤษสำคัญ ทำให้อยากจะไปเรียนภาษาเพิ่ม เพื่อที่จะได้สื่อสารและสนทนากับชาวต่างชาติได้

               และน้องมิ้น หรือ นางสาวศศิญาดา สุริโย เล่าให้ฟังว่าสำหรับการดูงานเมกเกอร์ที่ประเทศเยอรมันในครั้งนี้ มีความประทับใจอย่างมาก ที่ได้เห็นผลงานสิ่งประดิษฐ์หลากหลายความคิดและเทคโนโลยี ซึ่งเห็นได้ชัดเลยว่าสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ นั้นเกิดจากองค์ความรู้ในหลายๆด้านมาประกอบรวมกัน และในงานนี้ตนชื่นชอบผลงานเขียนแบบ 3D มากที่สุด มันสามารถเขียนได้ทุกแบบทุกมิติปริ้นออกมาเป็นชิ้นงานซึ่งโดดเด่นมาก เช่นการทำเป็นตัวเลโก้ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างสวยงาม ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและอยากทดลองทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ทีมตนที่ได้รางวัลชนะเลิศก็มีความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์และนำมาใช้ได้จริง ๆ และถ้ามีโอกาสก็จะพัฒนาผลงานตัวเองต่อไป

ShareTweetShare
Previous Post

มหิดล ค้นพบสารสกัดจากใบมะรุมใช้ลดมลพิษในสิ่งแวดล้อมได้ครั้งแรก

Next Post

“บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย” ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ย่อยสลายเองได้ใน 45 วัน ทดแทนโฟมและพลาสติก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”
News

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”

8 months ago
31
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
Science

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

8 months ago
14
สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

8 months ago
21
NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566
News

NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566

9 months ago
17
Load More
Next Post
“บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย” ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ย่อยสลายเองได้ใน 45 วัน ทดแทนโฟมและพลาสติก

“บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย” ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ย่อยสลายเองได้ใน 45 วัน ทดแทนโฟมและพลาสติก

มจธ. FIBO – ศูนย์ Login พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR หวังยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital

มจธ. FIBO – ศูนย์ Login พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR หวังยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.