mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มจธ. FIBO – ศูนย์ Login พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR หวังยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital

มจธ. FIBO – ศูนย์ Login พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR หวังยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital

0

             ศูนย์วิจัยระบบอัตโนมัติภายในโรงพยาบาล (HAC, Hospital Automation Research Center) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO, Institute of Field Robotics) ต่อยอดนวัตกรรมหุ่นยนต์ CARVER Mini ที่เคยนำไปใช้ในโรงพยาบาลสนาม ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สู่การพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติในชุด CARVER-AMR ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยศาสตร์ของโลจิสติกส์ เพื่อยกเครื่องระบบโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลแบบครบวงจร โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login) บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มจธ. มาวิจัยโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลทั้งระบบ เพื่อออกแบบโซลูชันโลจิสติส์และหุ่นยนต์ (Robotics) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ปัญหา และความต้องการของแต่ละโรงพยาบาล 

              ด้วยเป้าหมายลดความผิดพลาด ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มขีดความสามารถด้านบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วและลดความแออัด นำไปสู่การสร้าง Smart Hospital ด้วยโซลูชันที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละโรงพยาบาล และใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งนี้ โครงการยังเปิดรับโรงพยาบาลที่สนใจนำหุ่นยนต์ CARVER-AMR ไปทดสอบ พร้อมออกแบบโซลูชันโลจิสติกส์ที่เหมาะสมในโรงพยาบาล

             ผศ.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยระบบอัตโนมัติภายในโรงพยาบาล (HAC@FIBO) และหัวหน้าทีมผู้พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER กล่าวว่า ปีนี้โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ CARVER ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัล มาต่อยอดพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robot) เพื่อนำมาใช้งานในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขนส่งของหนักขนาดใหญ่ในโรงพยาบาลได้ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบความสามารถพื้นฐานของหุ่นยนต์ และการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ในโรงพยาบาล 

              ปัจจุบันหุ่นยนต์ CARVER-AMR กำลังทดสอบอยู่ในโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

              “การทดสอบ CARVER-AMR ในโรงพยาบาลขณะนี้เป็นการทดสอบความสามารถพื้นฐานของหุ่นยนต์ การวางแผนที่การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ในโรงพยาบาลว่า สามารถขนส่งของขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากไปในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างไร เช่น พื้นที่ที่มนุษย์เข้าได้ หุ่นยนต์ต้องเข้าได้ เช่นเดียวกับพื้นที่ที่รถวิลแชร์เข้าได้ หุ่นยนต์ก็ควรเข้าได้ แต่มีพื้นที่ที่ยังเป็นข้อจำกัดอยู่ อย่างบางพื้นที่ในโรงพยาบาลที่มีธรณีประตูสูงๆ อาจเข้าไม่ได้ หรือ ทางลาด 7 องศา ก็จะเริ่มมีผลต่อการเคลื่อนที่ ซึ่งนี่คืออุปสรรคที่หุ่นยนต์ต้องก้าวข้ามผ่านไปให้ได้” ผศ.สุภชัย อธิบาย

             การนำหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติไปใช้งานในโรงพยาบาล จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ เป็นงานที่สกปรก เป็นงานที่อันตราย และเป็นงานที่ทำซ้ำๆ 

             ตัวอย่างจากการนำหุ่นยนต์ CARVER Mini เข้าไปใช้ในโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลผู้ช่วยโควิด-19 ที่ผ่านมา เป็นการนำไปใช้ในกิจกรรมที่เสี่ยงต่อโรค สกปรก และอันตราย ขณะเดียวกันการขนส่งอาหารและยา ก็เป็นกิจกรรมที่ทำซ้ำๆ และต้องทำวันละหลายๆ รอบ จึงเหมาะสมกับการนำหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้าไปใช้งาน

              ทั้งนี้ การพัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR เป็นการใช้งานเพื่อเสริมศักยภาพทั้งระบบของโรงพยาบาล เป้าหมายคือยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital โลจิสติกส์จึงเข้ามามีบทบาทในการออกแบบการเคลื่อนที่ของสรรพสิ่งทั้งระบบในโรงพยาบาลเพื่อลดความสูญเปล่า ใช้ประโยชน์จากความสามารถของบุคลากรได้อย่างเต็มที่ และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้วยหุ่นยนต์

                ด้าน ผศ.กานดา บุญโสธรสถิตย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ หรือ ล็อกอิน (Login) กล่าวว่า การนำโลจิสติกส์เข้ามาประกอบกับงานวิจัยจะช่วยให้การออกแบบหุ่นยนต์นั้นสมจริง นำไปใช้งานได้จริง เนื่องจากโลจิสติกส์จะสามารถบอกได้ว่าหุ่นยนต์จำเป็นต้องทำอะไรบ้าง และควรเพิ่มความสามารถด้านใด เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของบุคลากร คนไข้ และข้อจำกัดต่างๆ เช่น พื้นที่ งบประมาณ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล

                “ยกตัวอย่าง การพัฒนาห้องยาอัตโนมัติ จะไม่สามารถนำหุ่นยนต์เข้าไปใช้งานทันทีได้ เนื่องจากต้องเข้าใจก่อนว่าข้อจำกัดและขั้นตอนการทำงานของห้องยาเป็นอย่างไร  ตั้งแต่รับใบยา ตรวจสอบใบยา จัดยาตามใบยา ตรวจสอบรายการยา ก่อนจ่ายยาให้กับคนไข้ แล้วเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน โดยพิจารณาทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะบางขั้นตอน หรือบางกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้น นักโลจิสติกส์จึงจำเป็นมากในการช่วย System Integrator ในการออกแบบหุ่นยนต์ ระบุประเภทและจำนวนหุ่นยนต์ที่เหมาะสม เพื่อให้การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และโรงพยาบาลได้ประโยชน์จริง” ผศ.กานดา อธิบายเสริม

                 หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกแบบกระบวนการโลจิสติกส์ยังช่วยให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งควรพัฒนา และนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับใดมาใช้ เช่น โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ที่มีคนไข้เข้ามาพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก มีความแออัดมาก  อาจพัฒนาไปถึงระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ แต่หากเป็นโรงพยาบาลที่ขนาดเล็กลงมา อาจใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารว่าต้องการให้โรงพยาบาลไปในทิศทางใด

             ผศ.วรพจน์ อังกสิทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) กล่าวว่า หัวใจสำคัญของโลจิสติกส์ คือ การทำอย่างไรให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้ปริมาณงานมากที่สุด ขณะเดียวกันก็มีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามีบทบาทในอุตสาหกรรมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่การบริการ ก็เริ่มเห็นการนำหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น เช่น โรงแรม, สนามบิน 

             ทั้งนี้ ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ โลจิสติกส์จะเป็นตัวช่วยศึกษาว่าการทำงานทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่ดีเยี่ยมอยู่แล้วหรือไม่ หากยังมีช่องว่าง หรือความสูญเสีย จะสามารถระบุได้ว่าเป็นเรื่องใดควรปรับแก้ไข ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้

             “บทบาทของศูนย์วิจัยโลจิสติกส์จะเข้ามาช่วยดูว่าหุ่นยนต์ควรทำงานรูปแบบใด ความเหมาะสมของการใช้งานหุ่นยนต์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การวางผังการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ การจัดจำนวนของหุ่นยนต์ว่าควรใช้เท่าไหร่  โลจิสติกส์สามารถบอกได้เลยว่ากิจกรรมนี้ หรือ งานนี้จำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์จำนวนเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานทั้งระบบคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และแม่นยำมากขึ้น ผสมผสานกับหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่ปฎิบัติงาน” ผศ.วรพจน์ กล่าว

               การนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อการทดแทนแรงงาน แต่เป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ทวีคูณ เช่น ปัจจุบันการทำงานในพื้นที่อาจทำแล้วได้งานเพียง 80% เนื่องจากมีความสูญเสียเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน กระบวนการโลจิสติกส์จะมาดูว่าเกิดสูญเสียอะไรบ้าง และแก้ไขได้อย่างไร เพื่อให้การทำงานทำได้เต็ม 100% ขณะเดียวกันก็ค้นหาว่ามีกระบวนการไหนที่จะนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานจาก 100% เพิ่มขึ้นเป็น 200% หรือ 300% 

               ทั้งนี้ การนำหุ่นยนต์ และระบบโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในโรงพยาบาล จะช่วยในการจัดระบบ จัดคิว จัดกำลังคนให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย การทำงานของโรงพยาบาลก็จะดีขึ้น เร็วขึ้น เวลาที่ผู้ป่วยรอคอยภายในโรงพยาบาลก็จะลดลง ประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ก็จะดีขึ้น

             ทั้งนี้ โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติใช้งานในโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลที่สนใจทดสอบหุ่นยนต์ สามารถติดต่อสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งพัฒนานวัตกรรมอัตโนมัติเพื่อการแพทย์ในครั้งนี้ได้ที่เฟซบุ๊ก www.facebook.com/CarverAMR และ www.facebook.com/HacFibo หรือปรึกษาด้านโลจิสติกส์ได้ที่ www.login2login.com

ShareTweetShare
Previous Post

“บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย” ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ย่อยสลายเองได้ใน 45 วัน ทดแทนโฟมและพลาสติก

Next Post

ม.รังสิตผุด “นวัตกรรมไข่ผงจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้” พร้อมต่อยอดเป็นไข่ต้มแบบ ready to eat เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
ม.รังสิตผุด “นวัตกรรมไข่ผงจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้” พร้อมต่อยอดเป็นไข่ต้มแบบ ready to eat เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี

ม.รังสิตผุด “นวัตกรรมไข่ผงจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้” พร้อมต่อยอดเป็นไข่ต้มแบบ ready to eat เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี

ม.มหิดล สร้างสรรค์ “ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ” (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่

ม.มหิดล สร้างสรรค์ "ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ" (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.