mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.รังสิตผุด “นวัตกรรมไข่ผงจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้” พร้อมต่อยอดเป็นไข่ต้มแบบ ready to eat เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี

ม.รังสิตผุด “นวัตกรรมไข่ผงจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้” พร้อมต่อยอดเป็นไข่ต้มแบบ ready to eat เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี

0

             ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่หันมาสนใจบริโภคอาหารที่มาจากพืชเป็นจำนวนมากขึ้น ทั้งตลาดผู้รักสุขภาพ และตลาดผู้บริโภคมังสวิรัติหรือวีแกนที่กำลังเติบโต การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและมีงานวิจัยรองรับอย่าง “นวัตกรรมไข่เทียมจากพืชเสริมโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสท” จากศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต จึงตอบโจทย์ด้านอาหารแห่งอนาคต ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าวของไทย

            รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต หัวหน้าทีมพัฒนา ฯ เปิดเผยว่า ตลาดผลิตภัณฑ์ไข่จากพืช หรือไข่วีแกนของโลก ในปี พ.ศ. 2570 จะมีมูลค่า 1.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเติบโต 6.2% ต่อปี และสูงถึง 140 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2572 (Franck, 2019) ปัจจุบัน ไข่จากพืชทั้งหมดเป็นสินค้าที่มีการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ ใน 2 ลักษณะ คือของเหลวที่มีข้อจำกัดด้านอายุการเก็บที่สั้นและต้องเก็บรักษาในลักษณะแช่เย็นหรือแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ในรูปผงที่เก็บรักษาง่ายและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถึงหนึ่งปี ไข่จากพืชในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนตลาดให้เติบโตอย่างมากและเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายใหม่

              ทีมวิจัยซึ่งมี รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล และ อาจารย์สุวิมล สร้อยทองสุข เป็นนักวิจัยหลัก จึงเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่ผงวีแกนจากผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าวขึ้น โดยได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไข่ผงจากพืชที่พัฒนาขึ้นนี้ มีวัตถุดิบมาจากข้าวไทย และผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าว ซึ่งนำมาผ่านกระบวนการเฉพาะ เพื่อใช้ในการผลิตไข่เทียม ซึ่งไม่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และได้ตัดวัตถุเจือปนอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายออกไป

               ทั้งจากผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีโภชนาการ พบว่าไข่ผงจากพืชที่พัฒนาขึ้น เมื่อเทียบกับไข่จริงพบว่าไม่มีความแตกต่างของปริมาณโปรตีนและแร่ธาตุ มีโภชนาการเท่าไข่จริง มีโภชนาการเท่าไข่จริง ไร้กลิ่นคาว มีสีและรสชาติอ่อน สามารถนำไปทดแทนไข่จริงได้ทุกเมนูคาวหวาน และยังพบว่าปริมาณไขมันในไข่วีแกนต่ำกว่า 14 เท่า ปริมาณเส้นใยสูงกว่า 4 เท่า และมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 18 เท่า จากการที่ไข่จากพืชหรือไข่วีแกนมีแคลอรีน้อยกว่าไข่จริง ช่วยบ่งชี้ว่าการบริโภคอาจมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ยังพบว่าไข่วีแกนมีปริมาณสารทั้ง 5 ชนิดอยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารยับยั้ง ACE, สารDSL และสาร GABA

             ทั้งนี้ไข่เทียมจากพืชที่ผลิตขึ้น ได้รับการขึ้นทะเบียน อย. แล้ว และมีการขยายผลไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย ปัจจุบันทีมวิจัยได้มีการต่อยอดเป็นไข่ต้มจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้ แบบ ready to eat ที่เก็บอุณหภูมิห้องได้นาน 1 ปี ยืนยันความเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นด้วย รางวัลชนะเลิศเหรียญทองนานาชาติ Life Science WSEEC 2022 ที่จาร์การ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย รางวัล IYSA SEMI GRAND AWARD2022 รางวัล IYSA GRAND PRIZE AWARD รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นวัตกรรมแห่งประเทศไทยปี 2564 และรางวัลชนะเลิศ Fi Asia ปี 2564 นวัตกรรมชิ้นนี้ ไม่เพียงเป็นอาหารจากพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไร้สารก่อภูมิแพ้เท่านั้น แต่ยัง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ShareTweetShare
Previous Post

มจธ. FIBO – ศูนย์ Login พัฒนาหุ่นยนต์ CARVER-AMR หวังยกระดับโรงพยาบาลไทยให้เป็น Smart Hospital

Next Post

ม.มหิดล สร้างสรรค์ “ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ” (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

4 months ago
33
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
42
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
Load More
Next Post
ม.มหิดล สร้างสรรค์ “ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ” (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่

ม.มหิดล สร้างสรรค์ "ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ" (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่

ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน ช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ

ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน ช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.