mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

0

          บพข. สนับสนุนทุนวิจัยต่อยอดธุรกิจเพื่อสตาร์ทอัพไทย ดันนวัตกรรม “เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์” บุกตลาดต่างประเทศ : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “เร่งการเจริญเติบโตของตลาดเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร” เครื่องมือตรวจวิเคราะห์กลิ่นในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม โดยการเลียนแบบการรับรู้กลิ่นด้วยจมูกและสมองของมนุษย์ด้วยก๊าซเซนเซอร์ และส่งประมวลผลที่สมองกลปัญญาประดิษฐ์ (AI and Machine Learning) ที่เปลี่ยนข้อมูลกลิ่นเป็นข้อมูลดิจิทัล และสามารถแสดงผลในรูปแบบรายงานทำให้สามารถวิเคราะห์คุณสมบัติ คุณภาพของอาหารจากกลิ่นได้ โดยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยทีมนักวิจัยคนไทยจากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผลิตภัณฑ์จมูกอิเล็กทรอนิกส์กระเป๋าหิ้ว ที่มีความสะดวกในการใช้งาน ราคาถูกกว่าต่างประเทศ และออกแบบการบริการแบบสมาชิกเช่าซื้อ ที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย โดยเฉพาะ บริษัท SME ให้สามารถเข้าถึงบริการ “ตรวจวิเคราะห์กลิ่น” ในราคาประหยัด

           ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัท MUI Robotics จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจำแนกกลิ่น มาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ที่ผลักดันงานวิจัยด้านเซนเซอร์ไอโอที และระบบเอไอไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ โดย ดร.ธีรเกียรติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ในปี 2004 คือ ศ.ริชาร์ด แอ็กเซล (Richard Axel) ศ.ลินดา บัก (Linda B. Buck) ที่ค้นพบกระบวนการ “รับรู้ จำแนก และจดจำกลิ่น” ของมนุษย์ โดยมียีนที่แสดงออกในรูปของโปรตีนหน่วยรับกลิ่น ทำให้เราจดจำกลิ่นได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ฝีมือคนไทยใช้หลักการทำงานของเซนเซอร์ตรวจวัดก๊าซหลายชนิดที่ทำงานร่วมกัน โดยทำหน้าที่ตรวจรับกลิ่นเหมือนจมูกมนุษย์ รวบรวมและแปลงสัญญาณไฟฟ้าจากเซนเซอร์ เป็นสัญญาณดิจิทัลไปประมวลผลเพื่อจำแนกรูปแบบกลิ่น โดยมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แยกแยะและจำแนกกลิ่น ที่สามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟสำหรับการวิเคราะห์ได้

           ดร.ธีรเกียรติ์ กล่าวต่อว่า เทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น และได้รับการพัฒนามานาน โดยคนทั่วไปเข้าใจว่าคือเซ็นเซอร์ตรวจวัดสาร ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จุดเด่นของเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์นี้ มีความสามารถในการเปลี่ยนข้อมูลกลิ่นเป็นฐานข้อมูลดิจิทัลที่มีมูลค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาล เช่น ฐานข้อมูลดิจิทัลของกลิ่น (Digitalization of smell) ที่ออกแบบเพื่อเป็นตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์กลิ่นสำหรับวินิจฉัยโรคเบาหวาน มะเร็ง การออกแบบกลิ่น รส สำหรับการพัฒนารสชาติอาหารใหม่ หรือ กลิ่นดิจิทัลในโลกเมตาเวิร์ส ที่กำลังได้รับการพัฒนาในปัจจุบัน เป็นต้น

           คุณวันดี วัฒนกฤษฎิ์ CEO บริษัท MUI Robotics จำกัด กล่าวว่า การดม และวิเคราะห์ จำแนก กลิ่น มีความจำเป็นในอุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างมาก ในสมัยก่อนต้องใช้แรงงานคนไม่ต่ำกว่า 5 คน เพื่อทดสอบกลิ่นและหาค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์กลิ่นในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิต และค่าเฉลี่ยที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อน ไม่แม่นยำ และหลังจากวิกฤตการณ์โควิดที่ผ่านมา อาการสูญเสียการรับกลิ่นรสในผู้ป่วยโควิด เป็นอุปสรรคที่ทำให้ความแม่นยำในการวิเคราะห์โดยคนนั้นลดลง จึงเป็นโอกาสให้กับ บริษัทฯ ในการเข้าตลาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากข้อจำกัดเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศนั้นมีราคาสูง เนื่องจากอุปกรณ์และโปรแกรมควบคุมส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากต่างประเทศ และมีค่าบำรุงรักษาเครื่องที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการปรับการทำงานให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ ทำให้บริษัท SME ในประเทศไม่สามารถเข้าถึงได้ MUI Robotics จึงสามารถเข้ามาเป็นตัวเลือกเพื่อช่วยผลักดัน SME ไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่แข่งขันได้มากขึ้น โดย บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบเช่าซื้อ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ประกอบการระดับใหญ่และ SME โดยเฉพาะเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบกระเป๋าหิ้วรุ่นล่าสุด ที่สามารถตรวจวัดวัตถุได้ทั้ง ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ด้วยการเชื่อมระบบไหลเวียนกลิ่นตัวอย่างบนเครื่องตรวจวัด เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่แม่นยำ เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ MUI-Nose สามารถให้บริการในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มได้อย่างครอบคลุม ได้แก่ การบริการด้านตรวจวัดกลิ่นวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพ และการวิจัยและพัฒนา ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง เนื้อสัตว์แช่แข็ง ข้าว และผลิตภัณฑ์จากพืช อาหารกระป๋อง น้ำมันพืช น้ำอัดลม เป็นต้น ตัวอย่างการตรวจวัดกลิ่น ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การตรวจวัดกลิ่นโคลนในปลา การตรวจกลิ่นหาข้าวหอมมะลิแท้ การตรวจสอบการคั่วเมล็ดกาแฟ การตรวจสอบกลิ่นใบชาจากแหล่งผลิตแท้ การตรวจหากลิ่นปลอมปน และ ฟอร์มาลีน เป็นต้น ปัจจุบัน MUI Robotics กำลังจำหน่ายเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศในเขตอาเซียน และยุโรป รวมถึงการขอมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมขยายการจำหน่ายไปสู่ตลาดยุโรป และตลาดโลก

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดและศึกษาข้อมูลได้ที่ https://mui-robotics.asia

ShareTweetShare
Previous Post

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

Next Post

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
19
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
42
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
นวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไชโป้ว” ช่วยทุ่นแรง ลดอุบัติเหตุของแรงงาน
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไชโป้ว” ช่วยทุ่นแรง ลดอุบัติเหตุของแรงงาน

4 months ago
24
Load More
Next Post
ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า "ดูแล"

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.