mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไชโป้ว” ช่วยทุ่นแรง ลดอุบัติเหตุของแรงงาน

นวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไชโป้ว” ช่วยทุ่นแรง ลดอุบัติเหตุของแรงงาน

0

           ผศ.ดร.ใหม่ น้อยพิทักษ์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี (มจธ.ราชบุรี) กล่าวว่า ไชโป้วเค็มและไชโป้วหวาน เป็นอาหารแปรรูปที่ทำมาจากหัวผักกาดใช้กระบวนการผลิตแบบภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดราชบุรีที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค แต่ในกระบวนการแปรรูปไชโป้วแบบดั้งเดิมของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานคนจำนวนมากและใช้ระยะเวลานานในการผลิต โดยเฉพาะกระบวนการบีบน้ำ และการหั่น  นำมาสู่ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไชโป้ว

           ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของการผลิตเครื่องมือช่วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผักกาดหัวบ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เนื่องจากทางกลุ่มผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า และอยากพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ทางผู้ใหญ่บ้านและนายก อบต.บ้านคา จึงได้มาขอรับคำปรึกษาและการสนับสนุนจากทาง มจธ. ราชบุรี โดยนำเครื่องหั่นไชโป้วที่เป็นเหล็กขึ้นสนิม มาให้ช่วยออกแบบ หลังจากนั้น 1 ปี ทางทีมนักวิจัย มจธ.ราชบุรี จึงได้เริ่มออกแบบและผลิตเครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์ไชโป้วประกอบด้วย เครื่องหั่น และเครื่องบีบอัดน้ำ

          โดยตัวเครื่องหั่นไชโป้วที่พัฒนาขึ้นใช้เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ภายในเครื่องประกอบด้วย มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ผ่านเกียร์ทด เพื่อลดความเร็วรอบ และส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ใบมีดสเตนเลสจำนวนกว่า 100 เล่มวางเรียงซ้อนๆ กัน เพื่อให้สามารถหั่นหัวไชโป้วเป็นเส้นๆ ได้ขนาดตามที่ต้องการ รวมเงินลงทุนประมาณ 1 แสนบาท โดยการสนับสนุนทุนจาก สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม (สออ.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area- based Innovation for Community)

           ส่วนขั้นตอนของการบีบน้ำออกจากหัวผักกาดนั้น ต้องใช้ก้อนหินที่มีน้ำหนัก 8-10 กิโลกรัม จำนวน 7-8 ก้อนขึ้นลง เพื่อกดทับบีบน้ำออกจากหัวผักกาด ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและอาจทำให้มีสิ่งอื่นเจือปน เครื่องบีบอัดน้ำไชโป้วที่ มจธ.พัฒนาขึ้น เป็นการใช้หลักการมวลน้ำหนักจากด้านบน ทับหัวผักกาดให้คายน้ำออกมา เป็นหลักการเดียวกับที่กลุ่มชาวบ้านใช้อยู่ โดยด้านบนจะทำเป็นกล่องสเตนเลสบรรจุก้อนน้ำหนักที่ทำจากคอนกรีตมีคานรับน้ำหนักทั้งสองด้าน สามารถปรับให้มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 60 – 80 กิโลกรัม  เครื่องสามารถรองรับการบีบหัวผักกาดได้มากถึง 50-100 กิโลกรัม หากต้องการปรับน้ำหนักเพิ่มหรือลดก็สามารถทำได้ตามที่ต้องการ ควบคุมการขึ้นลงของมวลน้ำหนักด้วยรอกไฟฟ้าผ่านการกดสวิตช์ ใช้งานสะดวก รวดเร็ว ช่วยทุ่นแรง และปลอดภัย ลดอุบัติเหตุของแรงงาน

          ขณะที่นายวรายุทธ พูนนายม นายช่างเทคนิค มจธ.ราชบุรี  กล่าวเสริมว่า เครื่องบีบน้ำนี้ยังช่วยให้หัวไชโป้วแห้งไวกว่าวิธีเดิม จากที่ต้องใช้หินกดทับ 2 วัน เมื่อใช้เครื่องนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ทำให้ผลิตสินค้าออกจำหน่ายได้มากขึ้น จากเดิมผลิตได้เต็มที่วันละ 100 กิโลกรัม เพิ่มเป็นวันละ 200 กิโลกรัม

          ด้านนางสำรวย สายันหะ หรือ ป้าจุก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผักกาดหัวบ้านคา กล่าวว่า เดิมใช้เวลา 2-3 วัน ในการทำ “ไชโป้วเค็มสูตรโบราณ” ที่มีความเหลือง หอม อร่อย นิยมนำไปต้มหมูทำเป็นแกงจืด ส่วนในการทำไชโป้วหวาน จะนำหัวไชโป้วเค็มไปล้างน้ำแล้วผึ่งแดดให้แห้ง โดยระหว่างนั้นจะเคี่ยวน้ำตาลทรายไว้  เมื่อน้ำตาลเย็นตัวลงแล้ว จะนำมาดอง 2-3 วัน ก็จะได้ “ไชโป้วหวาน” ซึ่งลูกค้านิยมนำไปผัดกับไข่ ปัจจุบันลูกค้ามีทั้งชาวบ้านในชุมชน ลูกค้าทางเพจจากจังหวัดต่างๆ สั่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับราคาไชโป้วเค็มของทางกลุ่มฯ จำหน่ายกิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนไชโป้วหวาน จำหน่ายกิโลกรัมละ 60 บาท มี 2 แบบ ทั้งแบบเป็นหัว และหั่นเป็นเส้นให้กับลูกค้า โดยไม่คิดค่าหั่น เนื่องจากทาง มจธ.ราชบุรี ได้ผลิตเครื่องหั่นไชโป้วให้กับทางกลุ่มฯ เพียง 1 นาที สามารถหั่นได้ถึง 1 กิโลกรัม จากเดิมใช้มือหั่น 1 ชั่วโมงได้เพียง 2 กิโลกรัมเท่านั้น ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาได้อย่างมาก

            นางสาวอัญชลี สมทอง รองประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผักกาดหัวบ้านคา กล่าวเสริมว่า ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกหัวผักกาดกันเป็นจำนวนมาก พอช่วงเวลาที่มีผลผลิตออกมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม ราคาจะถูกมาก จากกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท ลดเหลือ 3 – 4 บาท ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นไชโป้วจำหน่าย ในนามวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผักกาดหัวบ้านคา ขึ้นเมื่อปี 2561 โดยผลิตภัณฑ์ไชโป้วของกลุ่มฯ เป็นการนำหัวผักกาดสดๆ มาทำ ใช้เวลาหมัก 2-3 วัน (ไม่ได้หมักข้ามปีเหมือนกับที่อื่น) ทำให้หัวไชโป้วของกลุ่มบ้านคา มีความกรอบ อร่อย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า

         “ประโยชน์ที่ได้รับจาก มจธ. ราชบุรี ที่เข้ามาสนับสนุนในการผลิตเครื่องมือแปรรูปไชโป้ว ช่วยลดระยะเวลา ลดการใช้แรงงานในการผลิต ทำให้สามารถรองรับออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเข้ามาได้มากขึ้น จากเดิมผลิตได้เต็มที่วันละ 300 – 400 กิโลกรัม  หลังจากได้เครื่องมาสามารถรองรับการผลิตได้วันละ 1 ตัน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นมาก”

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

Next Post

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

3 months ago
33
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
19
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
42
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
Load More
Next Post
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

นวัตกรรม "โมเลกุลมณีแดง" ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

เจียไต๋ โชว์นวัตกรรมเกษตรในงาน Chia Tai Field Day 2023 พร้อมเปิดตัว “แตงโมทรงหมอนลูกดำ” เจ้าแรกของไทย

เจียไต๋ โชว์นวัตกรรมเกษตรในงาน Chia Tai Field Day 2023 พร้อมเปิดตัว "แตงโมทรงหมอนลูกดำ" เจ้าแรกของไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.