mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
นศ.ป.โท มจธ. วิจัย “เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ” หวังยกระดับมาตรฐานการทดสอบวัสดุ ผลิตภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง

นศ.ป.โท มจธ. วิจัย “เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ” หวังยกระดับมาตรฐานการทดสอบวัสดุ ผลิตภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง

0

              ในการออกแบบทางวิศวกรรม เช่นเครื่องจักร ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ วิศวกรจำเป็นต้องมั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในการออกแบบสามารถทนต่อภาระหรือแรงต่างๆ ที่มากระทำตามที่เกิดขึ้นจริงในการใช้งาน ดังนั้นเพื่อเป็นการตรวจสอบในขั้นตอนการออกแบบว่าวัสดุที่พิจารณาอยู่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการและมีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ วิศวกรจะใช้หลักทางวิศวกรรมที่เรียกว่า “เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ (failure criterion)” ในการคำนวณ

             รศ.ดร.สนติพีร์ เอมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ คือ สมการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ตรวจสอบความสามารถในการรับภาระทางกล (Mechanical Load) ของวัสดุประเภทต่างๆ ได้แก่ความสามารถในการรับแรงกด แรงดึง แรงเฉือน แรงดัด แรงบิด หรือแรงเหล่านี้ผสมกัน ว่าชิ้นงานที่ทำจากวัสดุนั้นๆ จะเกิดความเสียหายจากการเสียรูปถาวรหรือการแตกหักเมื่อใด หรือสรุปได้ว่า เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุคือเครื่องมือที่เราใช้ประเมินศักยภาพในการรับแรงของอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ถ้าเราต้องการสร้างรถ 1 คัน ก็จำเป็นต้องรู้ว่าวัสดุที่ใช้ทำรถคันนั้นจะรับน้ำหนักบรรทุกได้มากน้อยเพียงใด หรือรถต้องมีขนาดเท่าไหร่จึงจะสามารถบรรทุกสิ่งของที่ต้องการได้ เพราะการทดลองสร้างรถขึ้นมาหนึ่งคันโดยไม่คำนึงถึงเกณฑ์ความเสียหายของวัสดุย่อมนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองถ้าไม่สามารถใช้งานรถตามที่ตั้งใจไว้ หรือความผิดพลาดที่เกิดอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสีย

             “ที่ผ่านมาปัญหาที่พบ คือ เกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเกณฑ์ความเสียหายสากลจึงใช้กับวัสดุได้แค่ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เกณฑ์ความเสียหายของโลหะประเภทต่างๆ เกณฑ์ความเสียหายของคอนกรีต เกณฑ์ความเสียหายของโพลิเมอร์ ฯลฯ หากเกณฑ์เหล่านี้อาจไม่ได้สร้างขึ้นจากแนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เช่นพลังงานสะสมในวัสดุที่ทำให้วัสดุเกิดความเสียหายซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดของการนำเกณฑ์มาใช้งานกับวัสดุที่ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ ขณะที่เกณฑ์ความเสียหายที่ได้รับการพัฒนามาก่อนหน้านี้ยังมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก รวมถึงบางครั้งให้คำตอบไม่สมเหตุสมผล” รศ.ดร.สนติพีร์ กล่าว

                จึงเป็นที่มาของการจัดทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เกณฑ์ความเสียหายสากลสำหรับวัสดุที่มีสมบัติเท่ากันทุกทิศทาง ซึ่งสามารถใช้กับวัสดุได้ครอบคลุมกลุ่มวัสดุเนื้อเดียว (isotropic) (Energy-based universal failure criterion and strengths-Poisson’s ratio relationship for isotropic materials)” ผลงานของนายพิจักษณ์ ถิรวิริยาภรณ์ หรือ มิน นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาโครงการทุนเพชรพระจอมเกล้า โดยมี รศ. ดร. สนติพีร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

              เราตั้งสมมติฐานว่า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายของวัสดุชนิดใด ก็ควรสามารถใช้เกณฑ์ในการคำนวณร่วมกันได้ โดยภายใต้โครงการวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาเกณฑ์ความเสียหายที่มีอยู่เดิม และสร้างเกณฑ์ความเสียหายใหม่ที่สามารถวิเคราะห์วัสดุเนื้อเดียวทุกชนิดได้ โดยจุดเด่นของเกณฑ์ที่สร้างขึ้นนี้ คือ ต้องการข้อมูลการรับแรงของวัสดุ จาก“แรงกด” และ“แรงดึง”เพียง 2 แรง  ขณะที่เกณฑ์ตัวอื่นๆ อาจต้องใช้ข้อมูลจากการทดลองมากกว่าซึ่งเป็นการเพิ่มความยุ่งยากในการทดสอบวัสดุและการออกแบบ ยิ่งไปกว่านั้นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณของเกณฑ์ฯ ที่พัฒนาขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. ให้ค่าความแม่นยำสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สำหรับกลุ่มวัสดุที่ครอบคลุมกลุ่มวัสดุเนื้อเดียวทั้งหมดตั้งแต่เหนียวมากจนถึงเปราะมาก

             “องค์ความรู้จากการพัฒนาเกณฑ์ความเสียหายนี้ ยังสามารถนำมาวิเคราะห์เศษของวัสดุหรือชิ้นส่วนจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพื่อย้อนหาว่าวัสดุชิ้นนั้นถูกแรงชนิดไหนมากระทำในปริมาณเท่าไหร่  หรือในลักษณะใด เนื่องจากจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยระบุสาเหตุของอุบัติเหตุนั้นได้” นายพิจักษณ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Mechanical Sciences ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ดีที่สุด (กลุ่ม Q1 ใน Scopus Index) และได้รับการยอมรับในระดับสากล ฉบับเดือน กันยายน 2022

             “ผลงานวิจัยชิ้นนี้เปรียบได้กับ “โซ่ข้อต่อ” ที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยเชิงทฤษฎี กับงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่แม้จะไม่เห็นผลในเชิงพาณิชย์ทันทีทันใด แต่หากมีการสานต่อการศึกษาทฤษฎีเกณฑ์ความเสียหายที่แม่นยำขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการผลักดันการค้นคว้าวิจัยการประยุกต์ใช้วัสดุชนิดใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม เช่นวัสดุที่มีน้ำหนักที่เบาขึ้น แข็งแรงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการทดสอบวัสดุรวมถึงผลิตภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างได้ในท้ายที่สุด”

ShareTweetShare
Previous Post

เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือทิ้งจากต้นคลุ้ม เสริมจุดเด่น “ถาดพลาสติกชีวภาพ”

Next Post

นศ.มทร.ธัญบุรี พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าจากรถยนต์เครื่องเบนซิน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”
News

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”

10 months ago
38
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
Science

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

10 months ago
15
สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

11 months ago
23
NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566
News

NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566

12 months ago
23
Load More
Next Post
นศ.มทร.ธัญบุรี พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าจากรถยนต์เครื่องเบนซิน

นศ.มทร.ธัญบุรี พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าจากรถยนต์เครื่องเบนซิน

“เท้าเทียมไดนามิกส์” นวัตกรรมเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาด

“เท้าเทียมไดนามิกส์” นวัตกรรมเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาด

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.