mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“DAYWORK” แอปฯจัดหางานพาร์ทไทม์ คว้าสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ด้านสังคม

“DAYWORK” แอปฯจัดหางานพาร์ทไทม์ คว้าสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ด้านสังคม

0

             ต่อจากนี้ไปนิสิตนักศึกษาที่ใกล้เรียนจบจะเตรียมตัวเข้าสู่โลกการทำงานจริงในอนาคตได้อย่างมั่นใจด้วยแอปพลิเคชันการจัดหางานพาร์ทไทม์ DAYWORK ซึ่งจะเป็นโปรไฟล์ให้ผู้จ้างงานได้อีกด้วย

            DAYWORK แอปพลิเคชันการจัดหางานพาร์ทไทม์ คว้ารางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2021 ประเภทรางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม” ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นที่ได้ทดสอบหรือทดลองกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคในตลาดจริง ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub)

             DAYWORK แพลตฟอร์มช่วยหางานพาร์ทไทม์และบริการจัดหาคนทำงานพาร์ทไทม์  พัฒนาโดยคุณศศิวิมล เสียงแจ้ว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ซึ่งเป็นหน่วยงานของจุฬาฯ ที่ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ ของคณาจารย์ นิสิตจุฬาฯ และนวัตกรจากภายนอกมหาวิทยาลัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ ให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ

คุณศศิวิมล เสียงแจ้ว

             คุณศศิวิมล เสียงแจ้ว ผู้ก่อตั้ง DAYWORK เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการคิดค้นแอปพลิเคชันนี้ว่า “แรกเริ่มได้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษามาก่อนจึงได้มีโอกาสทำงานร่วมกับน้องๆ นิสิตนักศึกษา ทำให้เห็นว่ามีน้องๆ ที่สนใจหารายได้เพิ่มเติมระหว่างเรียนเป็นจำนวนมากจึงเริ่มต้นจัดทำแอปพลิเคชันช่วยหางานพาร์ทไทม์ เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสในการเข้าถึงงานที่ง่ายขึ้นโดยมีเป้าหมายให้การทำงานพาร์ทไทม์เป็นแบบยืดหยุ่น สามารถหาประสบการณ์จากการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การทำงานรายชั่วโมงเป็นต้นไป”

              สำหรับฟังชั่นการทำงานนั้น แอปพลิเคชันจะค้นหางานที่ใกล้กับสถานที่ที่เราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา แอปพลิเคชันจะแนะนำงานพาร์ทไทม์ให้ตาม Location ซึ่งเราสามารถสมัครเข้าใช้งานและสร้างโปรไฟล์เพียงครั้งเดียวก็จะสมัครงานได้ทุกตำแหน่งงานที่มีภายในแอปพลิเคชันได้ โดย DAYWORK จะมีการคัดกรองทั้งค่าแรงและลักษณะงานมาให้ ช่วยให้หางานได้ง่ายขึ้นและเป็นงานที่เชื่อถือได้

              ด้านนายจ้างผู้ที่ต้องการฝากหาพนักงานกับ DAYWORK สามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาผ่านทางเว็บไซต์ซึ่งจะมีบริการจัดหาคนทำงานพาร์ทไทม์แบบ One Stop Service ตั้งแต่จัดหาคน คัดกรองเบื้องต้น การสอนงาน ตรวจสอบการทำงาน จนถึงขั้นตอนการชำระเงินให้กับพนักงานแทนลูกค้า

             “แอปพลิเคชันจะมีการเก็บข้อมูลประวัติการจ้างงานอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลที่นายจ้างเห็นมีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการให้คะแนนหลังจากจบงานด้วย ซึ่งประวัติการทำงานและคะแนนจะเป็นตัวช่วยสำหรับนายจ้างพิจารณาในครั้งต่อไป ถ้าทำงานดี และได้คะแนนดี การหางานครั้งต่อไปก็จะง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ที่ทำงานพาร์ทไทม์ในระบบพัฒนาการทำงาน เป็นการยกระดับคุณภาพคนทำงานให้เกิดขึ้น” คุณศศิวิมล ผู้บริหารบริษัท เดย์เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงจุดเด่นของแอปพลิเคชันนี้

             ปัจจุบัน DAYWORK เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 3 ปี มีสมาชิกในระบบมากกว่า 1 แสนคน มีบริษัทใช้บริการมากกว่า 200 แห่ง และมีการสร้างรายได้ให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษาไปแล้วมากกว่า 57 ล้านบาท ในอนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มเติมในเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำงานในระบบของเรา เช่น การยืมเงิน การกู้เงินระยะสั้น และสิทธิพิเศษในการการซื้อสินค้าจากเงินที่ได้จากการทำงาน เป็นต้น

             “DAYWORK มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานพาร์ทไทม์ในระบบให้สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพในสายงานต่างๆ โดยมีการจัดอมรมสำหรับน้องๆ นิสิตนักศึกษา เพื่อปลูกฝังแนวคิดและทัศนคติในการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต” คุณศศิวิมล กล่าวฝากทิ้งท้าย

ShareTweetShare
Previous Post

วรุณา” สร้างฐานข้อมูลด้วย AI ปั้น “บางกระเจ้า” ต้นแบบฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

Next Post

วิศวะมหิดล-อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มพัฒนาด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

4 months ago
18
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”
Innovation

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

6 months ago
16
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

6 months ago
8
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

7 months ago
17
Load More
Next Post
วิศวะมหิดล-อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มพัฒนาด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์

วิศวะมหิดล-อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มพัฒนาด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์

“ZIRCON” นวัตกรรมอวกาศ เพื่อการจัดการจราจรอวกาศฝีมือคนไทย

“ZIRCON” นวัตกรรมอวกาศ เพื่อการจัดการจราจรอวกาศฝีมือคนไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.