mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

0

               จากวิสัยทัศน์ที่เป็นยิ่งกว่าความหวังหมู่บ้าน นครปฐม จับมือกับ บิสกิต โซลูชั่น บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน AI สัญชาติไทย นำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น นำร่องด้วย ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI ตัวช่วยรวบรวมเรื่องราว – แยกแยะ – จัดส่ง ทันที ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงแก้ไข ลดเวลาและขั้นตอนที่ส่งข้อมูลตามสายงาน แบบ Omni-channel ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อัพเดทติดตามสถานะได้เรียลไทม์ ตอบสนองงานบริการประชาชนได้เร็วขึ้น สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกพื้นที่ ทุกวัย ประหยัดต้นทุน เวลา และกำลังคน ช่วยยกระดับการบริการประชาชนและต่อยอดวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นโมเดลทางเลือกยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

                 การยกระดับนครปฐมสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ นครปฐม Smart City ครั้งนี้ การันตีด้วยรางวัล Microsoft Innovation Excellence Award 2020 จาก Microsoft Thailand

             สุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด (BIZCUIT Solution) เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทฯ ได้เข้าไปให้บริการกับ เทศบาลนครนครปฐม ตามนโยบายของ เสรินทร์ แก้วพิจิตร นายกเทศมนตรีนครนครปฐม นำเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาโดยคนไทยเข้ามาบูรณาการใช้เพื่อบริการประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครปฐมให้ดียิ่งขึ้น บนบริการที่ง่าย สะดวก และเร็วรวดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นำร่องด้วยโซลูชัน Fullloop

             “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” นับเป็นมิติใหม่ของงานบริการประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก้าวเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City บนงบประมาณที่สมเหตุสมผลและใช้เวลาในการดำเนินการไม่นานประมาณ 1 เดือน

              “เทคโนโลยี AI ของโซลูชัน Fullloop นี้แยกแยะทุกเรื่องราวที่ประชาชนส่งเข้ามาจากทุกช่องทาง ว่าเรื่องใดเป็น ‘คำร้องเรียน’ เรื่องใดเป็น ‘ข้อเสนอแนะ’ การแยกแยะเจตนาในการให้ข้อมูลจากประชาชนนี้สำคัญมาก เพราะทำให้พนักงานเทศบาลสามารถลำดับความสำคัญในการจัดการ และจัดส่งต่องานไปยังผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานด้านนั้นโดยตรงให้ไปจัดการได้อย่างตรงจุด รวมถึงการนำไปต่อยอดในการสร้างระบบอัตโนมัติต่างๆ ให้กับงานบริการอื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

                ความสามารถของ AI ที่เข้าใจภาษาไทยได้ในระดับลึกซึ้งนี้ เกิดขึ้นจากการเทรน AI ด้วยปริมาณข้อมูลกว่า 10 ล้านข้อความ ซึ่งล้วนมาจากฐานข้อมูลและความเชี่ยวชาญของบริษัท BIZCUIT Solution ที่ให้บริการกับหลากหลายอุตสาหกรรม การันตีคุณภาพด้วยรางวัลจาก Microsoft Thailand  และเรานำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับงานภาคประชาชน ถือเป็นความภูมิใจของเราทุกคนในฐานะที่เป็นทีมงานพัฒนาที่เป็นคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์”

              สุทธิพันธุ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากโซลูชัน Fullloop “ระบบรับฟังเสียงประชาชน” บริษัทยังมีโซลูชัน Bizcuit Vision Analytic นั้นคือ Video Analytic ที่ทำงานด้วยระบบ Edge Computing ร่วมกับ Computer Vision AI ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real Time โดยไม่ผ่านระบบบันทึกภาพ ทำให้ไม่ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA โดยเปลี่ยนกล้อง CCTV ที่มีอยู่แล้วให้กลายเป็นกล้อง AI ช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยของประชาชน เช่น นำไปปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการจราจรบนท้องถนน ซึ่งนับเป็นทางออกใหม่ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนใช้รถใช้ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงบประมาณที่ไม่สูงและดำเนินการติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว

              สมโชค พงษ์ขวัญ รองนายกเทศมนตรีนครนครปฐม ในฐานะผู้รับนโยบายและผู้ดูแลโครงการจากนายกเทศมนตรีนครนครปฐม กล่าวว่า ที่ต้องการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น จึงได้นำร่องนำโซลูชัน Fullloop “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” อัจฉริยะ ที่นำเอา “เทคโนโลยี AI” ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยมาใช้ในการวิเคราะห์ แยกแยะ ส่งต่องานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการติดตามสถานการณ์ แก้ไขปัญหาแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการประชาชน รวมถึงอำนวยความสะดวกการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย อาทิ ระบบนี้ทำให้ประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือให้คำแนะนำ ด้วยการแนบรูปถ่ายของเหตุการณ์ และพิกัดสถานที่ผ่านมือถือได้ตลอด 24 ชั่วโมง ความอัจฉริยะของ AI จะช่วยแยกเรื่องร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะออกจากกันได้ ทำให้ประหยัดเวลาแก้ไขปัญหาร้องเรียน หรือนำข้อเสนอแนะมาพัฒนาตามแต่ละหน่วยงานได้รวดเร็วขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ก็เข้ามามอนิเตอร์งานในระบบได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

                 ระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ไว้บริการประชาชนนี้ใช้งานได้ตามทุกช่องทางที่ประชาชนสะดวกหรือคุ้นเคยทั้งวิถีเก่าและวิถีใหม่ แบบ Omni-channel ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ได้อย่างสมบูรณ์ รองรับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย เช่น การส่งจดหมายไปรษณีย์ การพบเจ้าหน้าที่เวลาลงพื้นที่ให้บันทึกข้อมูลลงระบบได้ หรือเดินทางเข้ามาให้ข้อเสนอแนะที่ศูนย์บริการประชาชนทางโทรศัพท์

               ในขณะที่คนรุ่นใหม่ถนัดใช้เทคโนโลยีก็สแกนและกรอกข้อเสนอแนะผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้เทศบาลนครนครปฐมบริการประชาชนได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ของเทศบาลก็มี AI คอยติดตามงานเพื่อให้เราทำงานได้เร็วตามคำมั่นสัญญากับประชาชนอีกด้วย 

                นอกจากนี้โซลูชันดังกล่าวยังเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากใช้งบประมาณไม่สูง ระยะเวลาในการดำเนินการสั้นเพียง 1 เดือน ค่าซ่อมบำรุงไม่สูง ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง

ShareTweetShare
Previous Post

มทร.พระนคร คิดค้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยใบอ้อย เพิ่มจากวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่น

Next Post

“Aqua-IoT” นวัตกรรมดูแลสัตว์น้ำเพื่อเกษตรกรไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

2 months ago
16
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

4 months ago
7
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

5 months ago
16
NIA เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565
Innovation

NIA เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565

6 months ago
7
Load More
Next Post
“Aqua-IoT” นวัตกรรมดูแลสัตว์น้ำเพื่อเกษตรกรไทย

“Aqua-IoT” นวัตกรรมดูแลสัตว์น้ำเพื่อเกษตรกรไทย

ทรู ดิจิทัล เปิดตัว “ดาต้าไวเซอร์” สมองกลอัจฉริยะ ยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลแบบองค์รวม

ทรู ดิจิทัล เปิดตัว “ดาต้าไวเซอร์” สมองกลอัจฉริยะ ยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลแบบองค์รวม

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.