mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
เยาวชนไทยคว้าแชมป์เอเชีย! การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ของ NASA

เยาวชนไทยคว้าแชมป์เอเชีย! การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ของ NASA

0

               เยาวชนตัวแทนประเทศไทย ‘ทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ’จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับเอเชีย เอาชนะเยาวชนคู่แข่งจาก 8 ประเทศ โดยสามารถทำคะแนนเป็นอันดับ 1 จากการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA บนสถานีอวกาศนานาชาติ ในโครงการคิโบะ โรบอต โปรแกรมมิ่ง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 2

               กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้สนับสนุนเยาวชนทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ (Indentation Error) จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โดยสมาชิกในทีม 3 คน ประกอบด้วย นายธฤต วิทย์วรสกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (หัวหน้าทีม) นายกรปภพ สิทธิฤทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเด็กชายเสฎฐพันธ์ เหล่าอารีย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศจากการแข่งขัน โครงการ The 2nd  Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชียผ่านทางออนไลน์

              โดยในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา องค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ได้จัดการแข่งขันโครงการ The 2nd  Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์เอเชียทางออนไลน์ ถ่ายทอดสดจากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนักบินอวกาศญี่ปุ่นทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อค้นหาสุดยอดทีมเยาวชนจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ทำคะแนนได้สูงที่สุดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ให้ปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมสถานีอวกาศ โดยมีตัวแทนเยาวชนจาก 9 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย

             ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ จากประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ Best Achievement Onboard Award มาครองได้สำเร็จ ถือเป็นการแสดงความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA ที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติให้เคลื่อนที่ไปอ่าน QR Code และยิงแสงเลเซอร์เข้าเป้าหมายทำคะแนนได้สูงสุดของการแข่งขัน

             ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวแสดงความยินดีกับทีมอินเดนเทชัน เออเรอ (Indentation Error) และขอบคุณน้อง ๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับภูมิภาคเอเชีย จากความตั้งใจของน้องๆ เมื่อได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ทาง สวทช. ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย ได้ช่วยประสานงานกับทาง JAXA ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขัน ซึ่งจากความสำเร็จของน้อง ๆ ในครั้งนี้ สวทช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องทั้งสามคนจะได้เรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า และมีโอกาสที่ดี ได้แบ่งปัน ต่อยอด และถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ เยาวชนไทยรุ่นต่อไป และเชื่อมั่นว่าน้องทั้งสามคนจะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของประเทศไทย

               ด้าน นายธฤต วิทย์วรสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ตัวแทนทีม Indentation Error กล่าวถึงความรู้สึกหลังทราบผลการแข่งขันว่า “รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก เพราะรู้สึกประหม่าไปเหมือนกัน เมื่อเห็นผลการรันโปรแกรมของทีมอื่นๆ ที่ออกมาดี สามารถควบคุมให้หุ่นยนต์ Astrobee เคลื่อนที่ไปอ่าน QR code และยิงเลเซอร์ไปยังเป้าหมายได้ ผมคิดว่าที่ทีมเราสามารถชนะเลิศได้เพราะสามารถบังคับหุ่นยนต์ Astrobee ให้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าทำให้คะแนนออกมาดี ผมต้องขอขอบคุณ JAXA  ที่จัดการแข่งขันนี้ขึ้นมา และขอบคุณ สวทช. ที่จัดการแข่งขันในประเทศไทยพร้อมทั้งสนับสนุนทีมเราเป็นอย่างดีในการมาร่วมแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย ทีมเราได้เรียนรู้หลายเรื่องในการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ที่ใช้งานบนสถานีอวกาศนานาชาติ และต้องขอขอบคุณทุกๆ คนที่มีส่วนผลักดันให้การแข่งขันครั้งนี้เป็นจริงขึ้นมาได้

             ทั้งนี้ ทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอง ด้วยคะแนน 28.86 pt (A Class) ส่วนทีมอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Enigma Systems จากบังคลาเทศ คะแนน 19.16 pt (A Class) และทีมอันดับที่ 3 ได้แก่ ทีม GeminiPYTW จากไต้หวัน (C Class) สามารถรับชมการแข่งขันย้อนหลังได้ทาง YouTube ของ JAXA ที่ลิงก์ https://youtu.be/eDXf1ISUBmA

              ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวความเคลื่อนไหวโครงการกิจกรรมวิทยาศาสตร์อวกาศสำหรับเยาวชน ได้ที่เว็บไซต์ https://www.nstda.or.th/jaxa-thailand  และแฟนเพจ NSTDA SPACE Education

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “ไม้เท้าเลเซอร์” เพื่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ฝีมือคนไทย

Next Post

เทคโนโลยีการผลิต “Cider Vinegar” แบบขั้นตอนเดียว เครื่องดื่มสุขภาพจากผลไม้ไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”
News

วช. ขนทัพสิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ประชันกว่า 1,000 ผลงาน ในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”

10 months ago
39
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
Science

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

11 months ago
15
สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

11 months ago
23
NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566
News

NIA เผย 7 เทรนด์นวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2566

12 months ago
23
Load More
Next Post
เทคโนโลยีการผลิต “Cider Vinegar” แบบขั้นตอนเดียว เครื่องดื่มสุขภาพจากผลไม้ไทย

เทคโนโลยีการผลิต “Cider Vinegar” แบบขั้นตอนเดียว เครื่องดื่มสุขภาพจากผลไม้ไทย

“ไฮโดรนาโนเจล” นวัตกรรมทดแทนการอาบน้ำ เพื่อความสะอาดของสัตว์เลี้ยง

“ไฮโดรนาโนเจล” นวัตกรรมทดแทนการอาบน้ำ เพื่อความสะอาดของสัตว์เลี้ยง

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.