mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “ไม้เท้าเลเซอร์” เพื่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ฝีมือคนไทย

นวัตกรรม “ไม้เท้าเลเซอร์” เพื่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ฝีมือคนไทย

0

              โรงพยาบาลเมดพาร์ค ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำเสนอนวัตกรรมและการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ในงานแถลงข่าว “ไม้เท้าเลเซอร์ นวัตกรรมไทยเพื่อผู้ป่วยพาร์กินสัน” ณ ห้อง Forum ชั้น M โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดย ศ.นพ. รุ่งโรจน์ พิทยาศิริ หัวหน้าศูนย์ประสาทวิทยา รพ.เมดพาร์ค ผู้คิดค้นและพัฒนาเครื่องเลเซอร์คทา ร่วมกับ นพ. อุไรรัตน์ ศิริวัชร์เวชกุล หัวหน้าศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลเมดพาร์ค มาร่วมเจาะลึกเรื่องราว การฟื้นฟู พาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินพร้อมทั้งให้และ อบรมการใช้ไม้เท้าเลเซอร์แก่ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสรรพากร สภากาชาดไทย และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฟรี

            นายแพทย์พงพัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และมีความประสงค์ที่จะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ เพื่อผลักดันและสนับสนุนการกระจายนวัตกรรมไม้เท้าเลเซอร์พระราชทาน ที่ผ่านการคิดค้น และผลิตโดยคนไทย เพื่อตอบโจทย์ของผู้ป่วยพาร์กินสันและผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเดินติด ก้าวขาไม่ออกได้อย่างแท้จริง เพราะโรคนี้ต้องการการดูแลและการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูอย่างใกล้ชิด ทางโรงพยาบาลจึงได้มีการจัดงานแถลงข่าวและเชิญญาติและผู้ดูแลของผู้ป่วยแต่ละท่านเข้าร่วมด้วย

               โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ สถิติผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 7 ถึง 10 ล้านคน1 และข้อมูลจากสภากาชาดไทยชี้ว่าในประเทศไทย สถิติของการเกิดโรคพาร์กินสันอยู่ที่ 435 คน ต่อประชากร 100,000 คน โดยที่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ ร้อยละ 1 ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน2 และมีปัญหาในการเดินติด (Freezing of Gait) โดยอาการแสดงคือ มีการเดินติดขัดหรือเดินซอยเท้าถี่ และเมื่อร่วมกับปัญหาการทรงตัวที่ไม่ดีในผู้สูงอายุก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้

            ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ พิทยาศิริ หัวหน้าศูนย์ประสาทวิทยาโรงพยาบาลเมดพาร์ค จึงคิดค้นและพัฒนา “ไม้เท้าเลเซอร์” เพื่อช่วยปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกายขัดข้อง เช่นการเดินติดขัดก้าวไม่ออกทำให้ล้มได้ง่ายเพราะสูญเสียการทรงตัวโดยอาศัยหลักการของสิ่งกระตุ้นทางสายตา มุ่งใช้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดปัญหาการเดินติดขัด และเพิ่มความมั่นคงในการเดิน ให้ทุกก้าว เป็นก้าวที่ปลอดภัย

           “เราต้องพยายามเข้าใจว่าคนไข้ต้องการอะไรการทำนวัตกรรมอะไรออกมาต้องตอบโจทย์ผู้ป่วยปัญหาการเดินจึง เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยพบประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจึงต้องหาทางทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นอุปกรณ์ต้องตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีอาการก้าวเดินติดขัด” ศ.ดร.นพ.รุ่งโรจน์กล่าว

            ไม้เท้าเลเซอร์ออกแบบด้วยลักษณะพิเศษคือการฉายแสงเลเซอร์ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยกระตุ้นสายตาของผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาเรื่องการก้าวเดินแสงเลเซอร์จะกระตุ้นสายตาให้ก้าวเดินได้ดีขึ้น และแสงสีเขียวจะกระตุ้นจอประสาทตาสำหรับผู้สูงอายุ ใช้ได้ทั้งกลางวัน และกลางคืนและเพื่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้นสามารถปรับตำแหน่งระยะแสงเลเซอร์ได้ตามลักษณะการก้าวเดินของผู้ป่วยแต่ละคน ตัวไม้เท้ามีน้ำหนักเบา และออกแบบให้มีความโค้งในส่วนปลาย หักมุม 15 องศา เพื่อลดโอกาสการสะดุดของผู้ป่วย รองรับน้ำหนักได้ 120-150 กิโลกรัม ตอบโจทย์ผู้ป่วยได้หลากหลาย มุ่งสร้างความมั่นใจทุกการก้าวเดินให้มั่นคงและปลอดภัยแน่นอนว่าผู้ป่วยหลายๆคนคงอยากมีช่วงเวลาที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติซึ่งผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้หากมีการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

            นพ. อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู Med Park Hospital  กล่าวว่า ยิ่งเวลาผ่านไปผู้ป่วยยิ่งมีการย่อตัวลงไปเรื่อยๆ เนื่องจาก ไม่ได้ใช้ กล้ามเนื้อทุกส่วนซึ่งสิ่งที่เจอมากคือการยึดติดเอ็นของข้อทำให้ผู้ป่วยหลายรายมีการเดินหลังค่อมและงอเข่าซึ่ง ผู้ป่วยควรได้รับการสอนใช้อุปกรณ์สอนการเตรียมยืดกล้ามเนื้อไม้เท้าเลเซอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ เพราะผู้ป่วยสามารถใช้ไม้เท้าในการช่วยปรับการเคลื่อนไหวฝึกยืนยืดเหยียดกล้ามเนื้อฝึกบาลานซ์ตัวปรับจังหวะการเดินให้ดีและสม่ำเสมอมากขึ้นช่วยให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปได้อย่างราบรื่น

              โรงพยาบาลเมดพาร์คได้พัฒนาเลเซอร์ไม้เท้ามาอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนถึง 8 รุ่น เพื่อให้ตอบโจทย์ การใช้งานจริง ทั้งนี้สถิติการเป็นโรคพาร์กินสันสูงขึ้น มีสถิติทั่วโลกประมาณ 7-10 ล้านคน โรงพยาบาลเมดพาร์ค เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยมีเป้าหมายในการสนับสนุนการกระจายนวัตกรรมไม้ เท้าเลเซอร์ จึงได้ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มอบไม้เท้าเลเซอร์พะราชทานให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังบรรเทาอาการการเดินติดขัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและผู้มีปัญหาด้านการเดินให้ช่วยเหลือดูแลตนเองได้ ก้าวเดินได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

             ผู้ป่วยพาร์กินสันและผู้สูงอายุ ที่มีความเดือดร้อน สามารถติดต่อศูนย์ประสาทวิทยาโรงพยาบาลเมดพาร์ค ที่ 02-090-3114 เพื่อขอรับเลเซอร์ไม้เท้าพระราชทานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้ที่ขอรับต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มพาร์กินสันหรืออาการใกล้เคียง โรคทางสมองอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคโพรงน้ำในสมองโต โรคสมองเสื่อม ที่มีปัญหาการเดินติดขัด และยินดีให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล เพื่อพัฒนาต่อยอดในการรักษา

ShareTweetShare
Previous Post

รพ.บำรุงราษฎร์ เปิดตัว “เทคโนโลยีการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ” ที่แรกในไทย

Next Post

เยาวชนไทยคว้าแชมป์เอเชีย! การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ของ NASA

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
เยาวชนไทยคว้าแชมป์เอเชีย! การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ของ NASA

เยาวชนไทยคว้าแชมป์เอเชีย! การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ของ NASA

เทคโนโลยีการผลิต “Cider Vinegar” แบบขั้นตอนเดียว เครื่องดื่มสุขภาพจากผลไม้ไทย

เทคโนโลยีการผลิต “Cider Vinegar” แบบขั้นตอนเดียว เครื่องดื่มสุขภาพจากผลไม้ไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.