mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
เปิดตัว 3 นวัตกรรมอัจฉริยะฝีมือคนไทย ในงาน AI Innovation JumpStart Batch3

เปิดตัว 3 นวัตกรรมอัจฉริยะฝีมือคนไทย ในงาน AI Innovation JumpStart Batch3

0

               ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรม “AI Innovation JumpStart Batch3: Pitching Online” เวทีที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ รวมไปถึงบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี เข้ามานำเสนอผลงานนวัตกรรมเพื่อเตรียมต่อยอดนำไปใช้จริงในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 มีทีมนักพัฒนา 22 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกและเข้ามานำเสนอผลงาน 22 นวัตกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา

                ดร.ภัทราวดี พลอยกิติกูล ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand: SWP) เปิดเผยว่า การนำเสนอผลงานต้นแบบนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ในโครงการ AI Innovation JumpStart นี้เพื่อส่งเสริมการสร้างต้นแบบนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด มีผู้ใช้งานจริง และสามารถขยายผลได้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรทักษะสูงให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างต้นแบบนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์และสามารถเติบโตไปเป็นธุรกิจได้ในอนาคต

              สำหรับทีมนักพัฒนานวัตกรรมทั้ง 22 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกนั้น มีผลงานนวัตกรรมโดดเด่นและน่าสนใจ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มนวัตกรรม ประกอบด้วย เทคโนโลยีด้านการเกษตร, เทคโนโลยีด้านการตลาดและส่งเสริมการขาย , เทคโนโลยีงานอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการแพทย์ โดยทุกทีมได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสชาติ (สวทช.) ทีมละ 100,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมต่อไป

               การนำเสนอผลงานนวัตกรรมในกิจกรรมครั้งนี้ ยังมีการมอบรางวัล Popular Vote จำนวน 3 รางวัล ๆ ละ 5,000 บาท แบ่งเป็น 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลจากคะแนนโหวตสูงสุดจากผู้รับชมใน Zoom Meeting ได้แก่ เครื่องคัดมะม่วงคุณภาพด้วย AI จากทีม I-Mango และระบบควบคุมการปลูกผักอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับโรงเรือนปิด จากทีม ThaiHand AI และอีก 1 ผลงานที่ได้รับรางวัล Popular Vote จากที่มีจำนวนผู้เข้าไปกด Like ผลงานมากที่สุดในเฟสบุ๊ค SWP JumpStart ได้แก่ หุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะ ของทีม EasyKids Robotics

              โดย ทีม I-Mango จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้นำเสนอผลงานการพัฒนา “เครื่องคัดมะม่วงคุณภาพด้วย AI” ตอบโจทย์เกษตรกรชาวสวนมะม่วงที่มักประสบปัญหาการคัดเกรดมะม่วงซึ่งส่วนใหญ่ยังใช้คนคัดแยกและไม่ได้มาตรฐานการตัดเกรดมะม่วง ทำให้เกษตรกรสูญเสียโอกาสและรายได้จากการคัดเกรดมะม่วงที่ผิดพลาด โดยทีมได้นำเทคโนโลยีการประมวลภาพ (Image Processing) มาประยุกต์เข้ากับซอฟต์แวร์ AI พัฒนาเป็นเครื่องที่มีลักษณะสายพานสามารถคัดแยกมะม่วงได้ตามเกรด A , B และ C โดยให้ AI เรียนรู้และจดจำจากการวัดขนาดผล และดูลักษณะของผิวผลของมะม่วงที่แตกต่างกันปัจจุบันเครื่องคัดมะม่วงคุณภาพด้วย AI ยังเป็นต้นแบบอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบจดจำหรืออัลกอลิทึมให้มีความแม่นยำและมีความรวดเร็วในการคัดแยก เพื่อให้เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งเกษตรกรผู้ขายและผู้รับซื้อ

             ทีมนักพัฒนาจากบริษัท ThaiHand A.I. นำเสนอผลงานการพัฒนา “ระบบควบคุมการปลูกผักอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับโรงเรือนปิด” โดยนำ AI มาประยุกต์เข้ากับระบบการควบคุมสภาวะการปลูกพืชในโรงเรือน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและควบคุมสภาวะต่าง ๆ ในโรงเรือนให้เหมาะสำหรับพืชแต่ละชนิดได้อัตโนมัติทั้งอุณหภูมิ ความชื้น สภาพแสง

              จุดเด่นของระบบคือ เป็นการใช้ AI เข้ามาช่วยควบคุมแตกต่างจากระบบทั่วไปที่ยังใช้การตั้งเวลา นอกจากนี้ทีมยังได้พัฒนาหุ่นยนต์สำหรับตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งแตกต่างจากระบบทั่วไปที่ยังใช้คนเข้าไปตรวจสอบ และที่สำคัญข้อมูลสภาวะที่เหมาะสมกับปลูกผักแต่ละชนิด จะถูกส่งไปเก็บในระบบ Cloud เป็นฐานข้อมูลใน Web Server เกษตรกรรายอื่น ๆ สามารถเข้าไปดูได้ว่าสภาวะโรงเรือนปัจจุบันเหมาะสำหรับปลูกพืชชนิดใดได้บ้าง โดยทีมมีความเชื่อมั่นว่าระบบนี้จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลิตได้ 30% และลดแรงงานได้ถึง 50%

               และทีมนักพัฒนาจากบริษัท EasyKids Robotics นำเสนอผลงาน “หุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะ” เป็นหุ่นยนต์ที่มีหน้าจอสามารถแสดงสีหน้าต่าง ๆ พร้อมกับมีเสียงสามารถพูดทักทายโต้ตอบได้ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานบริการหรือห้างร้าน ๆ ต่างที่มีลูกค้ามาใช้บริการ โดยภายในหุ่นยนต์มีระบบ Face Detection ตรวจจับและจดจำใบหน้าบุคคล สามารถพูดทักทาย โต้ตอบ และให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ได้ รวมถึงยังมีระบบการลงทะเบียน รองรับระบบการชำระเงินรูปแบบต่าง ๆ และมีระบบการจัดคิวและเรียกคิวลูกค้า เปรียบเสมือนเป็นพนักงานต้อนรับ ช่วยให้ลดขั้นตอนการใช้บริการและเพิ่มความรวดเร็วของลูกค้า ปัจจุบันมีคลินิคทันตกรรมบางแห่งนำหุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะไปทดลองใช้จริงแล้ว ซึ่งใช้ได้ผลดีกับเด็ก ๆ ที่มารอใช้บริการทำฟัน โดยทีมพัฒนาตั้งเป้านำไปใช้ในกลุ่มร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ต่อไป

              ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและชื่นชมในความพยายาม และความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่พัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ เพื่อยกระดับปรับเปลี่ยนความสามารถของผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน เป็นไปตามแนวโน้มความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะมีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมอนาคต

              นอกจากนี้ยังมีอีกหลายผลงานนวัตกรรมโดดเด่นที่ผ่านการคัดเลือกจากเวที “AI Innovation JumpStart Batch3: Pitching Online” เช่น ระบบการปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะ , นวัตกรรมตรวจสอบคุณภาพทุเรียน , AI tools สำหรับงานขายของแบรนด์ , หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อประสิทธิภาพสูง , ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีการเทรดในตลาดทุน , อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยอัตโนมัติ

              ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลนวัตกรรมได้ที่ https://swpark.or.th/index.php/booklet-jumpstar-3/

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “กำแพงต้นไม้อัจฉริยะ” ช่วยกรองมลพิษ ลดฝุ่น PM2.5

Next Post

นวัตกรรม “กรีนพลาส พาเลท” ไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว เพื่อคลังสินค้าและงานขนส่งอุตสาหกรรม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

5 months ago
18
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”
Innovation

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

6 months ago
16
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

7 months ago
8
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

7 months ago
17
Load More
Next Post
นวัตกรรม “กรีนพลาส พาเลท” ไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว เพื่อคลังสินค้าและงานขนส่งอุตสาหกรรม

นวัตกรรม “กรีนพลาส พาเลท” ไม้เทียมจากพลาสติกใช้แล้ว เพื่อคลังสินค้าและงานขนส่งอุตสาหกรรม

“แกร็บเพ็ท” บริการเดินทางเอาใจคนรักสัตว์เลี้ยง สะดวก ปลอดภัย ราคาเข้าถึงได้

“แกร็บเพ็ท” บริการเดินทางเอาใจคนรักสัตว์เลี้ยง สะดวก ปลอดภัย ราคาเข้าถึงได้

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.