mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center

นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ “ไชโป้ว” ช่วยทุ่นแรง ลดอุบัติเหตุของแรงงาน

           ผศ.ดร.ใหม่ น้อยพิทักษ์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี (มจธ.ราชบุรี) กล่าวว่า ไชโป้วเค็มและไชโป้วหวาน เป็นอาหารแปรรูปที่ทำมาจากหัวผักกาดใช้กระบวนการผลิตแบบภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดราชบุรีที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค แต่ในกระบวนการแปรรูปไชโป้วแบบดั้งเดิมของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นการใช้แรงงานคนจำนวนมากและใช้ระยะเวลานานในการผลิต โดยเฉพาะกระบวนการบีบน้ำ และการหั่น ...

Read more

นวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาว พร้อมรับประทาน ไร้แป้ง ไร้ไขมัน ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรีทอร์ท

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง "เส้นโปรตีนไข่ขาวพร้อมทาน ไร้แป้ง ไร้ไขมัน...

Read more

นวัตกรรม “แผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่นจากยางพาราและเส้นใยปาล์ม” รองรับสังคมผู้สูงอายุ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธาริณี นามพิชญ์ แห่งภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการคิดค้นนวัตกรรม “แผ่นปูพื้นไฮบริดคอมโพสิตธรรมชาติจากยางพาราและเส้นใยปาล์มเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” แผ่นปูพื้นไฮบริดกันลื่น  รองศาสตราจารย์ ดร.ธาริณี...

Read more

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

แม้ไอออนแมงกานีส (Mn2+) เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของไต และอาจทำให้เกิดโรคทางสมองในเด็กเล็ก รวมถึงส่งผลต่อสีและรสชาติของน้ำ นักวิจัยนาโนเทคจับมือเนคเทค สวทช. พัฒนา “แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense)” ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำอย่างง่าย และรวดเร็ว สามารถตรวจได้แม้ความเข้มข้นต่ำ ทดสอบการภาคสนามพบประสิทธิภาพเทียบเคียงของนำเข้าในราคาถูกกว่า...

Read more

แปรรูป “เปลือกหอย” ขยะอุตสาหกรรม สู่ “สารสำคัญเวชสำอาง พลาสติก กระดาษ”

เปลือกหอย เป็นปัญหาขยะจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอาหาร เพราะการกำจัดต้องใช้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมาก แต่รู้หรือไม่ว่าร้อยละ 95 ของเปลือกหอยมีสารแคลเซียมคาร์บอเนตที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายอุตสาหกรรม ดังนั้นหากมีเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนขยะเปลือกหอยเหล่านี้ให้สร้างมูลค่าเพิ่มได้ก็นับว่าคุ้มค่าน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนากระบวนการแปรรูป ‘เปลือกหอยมุก’ ขยะในอุตสาหกรรมเครื่องประดับให้เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง ด้วยกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำและไม่ก่อให้เกิดของเสีย ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.ชุติพันธ์...

Read more

ม.บูรพา พัฒนา “ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหารแบบพกพา” มีความแม่นยำ รู้ผลไว ได้มาตรฐานสากล

จากกระแสข่าวที่พบว่ามีการใช้ สารฟอร์มาลิน (น้ำยาดองศพ) แช่เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ที่ถูกจำหน่ายไปยังร้านหมูกระทะทั่วเขตจังหวัดชลบุรี ทำให้เกิดความกังวลใจแก่ผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร เมื่อไม่นานมานี้ ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแสนสุข ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยในอาหารจากการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลิน โดยทำการตรวจสอบวัตถุดิบในร้านหมูกระทะในบริเวณพื้นที่บางแสน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม และมีร้านหมูกระทะอยู่จำนวนมาก โดยใช้ ชุดทดสอบสารฟอร์มาลินในอาหาร (Formalin...

Read more

มทร.พระนคร คิดค้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยใบอ้อย เพิ่มจากวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่น

ปัญหามลพิษภายในประเทศทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจากการเผาทำลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาค ทำให้อาจารย์นักวิจัยจากหลายสถาบันได้พยายามคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้เหล่านั้น รวมไปถึงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยใบอ้อย โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ผสมผสานกับภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีอยู่เดิมสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอสร้างรายได้เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศในชุมชน ซึ่งขณะนี้ได้นำกลไกการตลาดมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีไซน์รูปแบบตามแนวแฟชั่นที่ลูกค้าต้องการเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย      ...

Read more

5 นวัตกรรมจากวัสดุเหลือใช้ ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ

ก่อนจะทิ้งอะไรต้องคำนึงก่อนเสมอว่า สิ่งนั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับมันได้หรือไม่ หากมีแต่คน ทิ้ง เผา ฝัง โลกของเราก็จะเกลื่อนไปด้วยขยะมากขึ้น จากเสวนา CIRCULAR ECONOMY: นวัตกรรมวัสดุหมุนเวียน เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สศส.) ได้พูดคุยกับ 5 ผู้ประกอบที่นำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ ทั้งเศษเหลือใช้ทางการเกษตร...

Read more

เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช

คนไม่กินเนื้อสัตว์ เฮ นักวิจัย เอ็มเทค สวทช. วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์อาหาร มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken) พร้อมส่งต่องานวิจัยจากแล็บ สู่เชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง...

Read more

นวัตกรรมฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอน ตัวช่วยยืดอายุผักและผลไม้

กรมวิชาการเกษตรมีนวัตกรรมในการยืดอายุผลิตผลสด โดยใช้ฟิล์มถนอมอาหารเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผักและผลไม้ โดยกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ได้ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอนโดยใช้เลเซอร์มาร์กเกอร์ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ให้นานขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าของเกษตรกรและผู้ประกอบการทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตวางจำหน่ายได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะเป็นการลดการสูญเสียน้ำหนัก ปกป้องผลิตผลจากการปนเปื้อน และเพิ่มความสะดวกในการจัดจำหน่ายแล้ว ยังช่วยคงคุณภาพของผักและผลไม้ได้นานขึ้นด้วย เทคโนโลยีการผลิตฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอน โดยใช้เลเซอร์มาร์กเกอร์ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เครื่องเลเซอร์มาร์กเกอร์มาเจาะรูฟิล์มขนาดไมครอน ซึ่งฟิล์มเจาะรูขนาดไมครอนมีคุณสมบัติยอมให้ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึมผ่านได้สูงกว่าฟิล์มแบบปกติทั่วไป เมื่อนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผักและผลไม้จะช่วยควบคุมอัตราการหายใจของผักและผลไม้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้สามารถรักษาความชื้น...

Read more
Page 1 of 13 1 2 13