mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช

เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช

0

                คนไม่กินเนื้อสัตว์ เฮ นักวิจัย เอ็มเทค สวทช. วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์อาหาร มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken) พร้อมส่งต่องานวิจัยจากแล็บ สู่เชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง เผยจุดเด่นที่ช่วยเสริมใยอาหาร มีรสชาติ และ เนื้อสัมผัสที่คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์ ปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า และมีราคาย่อมเยาสามารถเข้าถึงได้

                ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาของ สวทช. โดยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ที่เล็งเห็นถึงโอกาสจากแนวโน้มของตลาดโลกสำหรับอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based food) ซึ่งมีมูลค่าในช่วง 4 – 30 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะเติบโตมีมูลค่าสูงถึง 8 พันล้าน – 7 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่าสามแสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2568 รวมทั้งประเทศไทยที่มีผู้บริโภคกลุ่ม flexitarian ซึ่งมีความรักสุขภาพและเน้นการบริโภคผลิตภัณฑ์และโปรตีนจากพืชเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ราว 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 17-18 ล้านคน จากประชากรไทย 67-68 ล้านคน

               ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้ให้ความสำคัญในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช โดยมุ่งวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่อยากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ยังรู้สึกว่าอาหารเพื่อสุขภาพไม่อร่อย ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการออกแบบเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์จากพืชให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ เกิดเป็น Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนแล้วรวม 3 ราย รายที่ 1 เป็นโรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารตามความต้องการของลูกค้า การเพิ่มตัวเลือกผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชให้กับลูกค้าจะช่วยเพิ่มตลาดให้กับธุรกิจของบริษัท รายที่ 2 บริษัท กรีน สพูนส์ จำกัด เป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ภายหลังจากรับถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว บริษัทได้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในช่วงต้นปี 2566 ล่าสุด บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ที่ร่วมแถลงข่าวในวันนี้ เป็นรายที่ 3 ที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดอาหารเจที่บริษัทเชี่ยวชาญด้วยเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชที่ไม่ซับซ้อน สามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ปรุงเมนูอาหารได้หลากหลาย ในต้นทุนที่แข่งขันได้

               นายธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ กรรมการ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด กล่าวว่า แบรนด์ Gin Zhai ผลิตภัณฑ์พืชและผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้แนวคิด BCG สู่ความยั่งยืน เชื่อมโยงวัฒนธรรม อาหาร และ การท่องเที่ยว โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้าง สรรค์ ซึ่งสวทช. สนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมวัตถุดิบทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Ve-Chicken Plant based) รวมถึงวัตถุดิบที่ แบรนด์ Gin Zhai เลือกสรรและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรโดยตรง และส่งเสริมสินค้า GI ของไทยด้วย ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของบริษัท คือ “มุ่งมั่นสร้างสังคมสุขภาพดีทั้งกายและใจอย่างยั่งยืน ด้วยเมนูผลิตภัณฑ์พืชและผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากเกษตรกรโดยตรง” ดังสโลแกนของแบรนด์ GIN Zhai คือ “กินด้วยใจ ปรุงด้วยใจ” ซึ่งสื่อถึงการบริโภคและการผลิตที่รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

               ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์แบรนด์ GIN Zhai ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ

               รูปแบบแรก ผู้บริโภคนำไปประกอบอาหารเอง มี 2 ผลิตภัณฑ์ คือ กินใจ แพลนต์เจ พรีคุก (GIN Zhai Plant J – Pre Cook) ใช้วัตถุดิบ Ve-Chick แทนเนื้อไก่ ขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนต่างๆของ เนื้อไก่ เช่น น่องไก่ ชิ้นไก่ ไก่บด ซึ่งเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่ จุดเด่น คือ นำไปทำเมนูต่างๆ แทนเนื้อไก่ ได้ทั้งรสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่ และ กินใจ แพลนต์เจ พรีมิกซ์ (GIN Zhai Plant J – Pre-Mix) เป็นสูตรอาหารที่ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบ Ve-Chick แทนเนื้อไก่ ที่สามารถปรับสูตรโภชนาการได้ตามความต้องการกลุ่มผู้บริโภคที่ต่างกันได้ ทั้งด้านวัย ด้านสุขภาพ ด้านการรักษาโรค เป็นต้น ครบคุณค่าโปรตีน ครบคุณค่าสารอาหาร ไม่มีไขมัน ไม่มีสารเร่งโต

               รูปแบบที่ 2 แฟรนไชส์ร้าน GIN Zhai เมนูพร้อมกิน มีทั้งเมนูทำจากพืช และเมนู Plant J
ปัจจุบันให้บริการแล้วอยู่หน้า 7-11 รวมถึงสั่งผ่าน 7-11 Delivery App ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายขยายสาขาแฟรนไชส์ร้าน GIN Zhai ให้ได้ 100 สาขา ภายใน 1 ปี ส่วนเป้าหมายผลิตภัณฑ์ GIN Zhai Plant J บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ 200 ล้านบาท ภายในปี 2567

               ผู้สนใจสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ แบรนด์ Gin Zhai (กินใจ) ได้แล้วที่ร้านกินใจ อยู่หน้าร้านสะดวกซื้อ 7-11 รวมถึงสั่งผ่าน 7-11 Delivery App ราคาเริ่มต้นเพียง 59 บาท รวมถึงผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ร้าน Gin Zhai หน้าร้าน 7-11 ทั่วประเทศ สามารถติดต่อสอบถาม ที่ Facebook : Gin Zhai-กินใจ หรือ Line: @ginzhai หรือ โทร 094 885 9228

               ดร.กมลวรรณ อิศราคาร นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ได้แนวคิดมาจากโจทย์ที่ต้องการเพิ่มการใช้ประโยชน์ของใยอาหารที่ทางทีมวิจัยสกัดได้จากเปลือกส้มโอ ขณะเดียวกันทางทีมก็มองเห็นถึงกระแสการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนพืชในต่างประเทศ และมองเห็นโอกาสในการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ทางทีมจึงได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้วัตถุดิบที่ได้จากงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ มาใช้ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่มีอยู่และสามารถหาได้ในท้องตลาด มาออกแบบโครงสร้างของผลิตภัณฑ์และกระบวนการในการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชที่เสริมใยอาหาร มีรสชาติ และ เนื้อสัมผัสที่คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์มากที่สุด ปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายได้ แล้วยังมีราคาย่อมเยาสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจากรสนิยมของผู้บริโภคที่แตกต่างกันเป็นทั้งความท้าทายและจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีหลักซึ่งได้ถ่ายทอดให้ทั้ง 3 ราย สามารถแตกแขนงผลิตภัณฑ์ออกไปได้หลากหลายตามกลุ่มลูกค้าของแต่ละบริษัทได้ ในส่วนของบริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ได้ใช้วีชิคเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารเจ ความสามารถในการปรุงรสของเชฟทำให้ผลงานวิจัยที่ได้ถ่ายทอดไปยังบริษัท มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

               นอกจาก Ve-Chick (วีชิค) แล้ว เอ็มเทค ยังมี ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนพืชอื่นๆ ที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจ อาทิ M-pro jelly drink ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงเสริมแคลเซียม , ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันความชื้นสูง Fibrous chicken analogue หรือ HMMA และ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันความชื้นต่ำ minced pork analogue LWMA หรือ TVP ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันมีเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์มากขึ้น ตอนนี้ทางทีมก็มีการวิจัยพัฒนา food ink สำหรับการขึ้นรูปโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติอีกด้วย

               คุณสุรีย์พร ฉัตรมั่งมี ผู้บริหารกลุ่มตลาดเจ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ที่ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์โปรตีนจากพืช สำหรับคนไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังได้โปรตีนทดแทนครบถ้วนและยังได้รสชาติ เนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่ และที่สำคัญมีความอร่อย ในฐานะผู้บริหารกลุ่มตลาดเจ ได้มองเห็นโอกาสของผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช หรือ Plant Based จะเป็นวัตถุดิบหลักของแบรนด์ Gin Zhai (กินใจ) สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งกลุ่มอาหารเจ กลุ่มมังสวิรัติ กลุ่ม Vegan กลุ่ม Plant Based รวมถึงผู้บริโภคทั่วไปที่บริโภคเนื้อสัตว์เหมือนเดิม และเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชเป็นครั้งคราว รวมทั้งกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ บริษัทจึงมั่นใจว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ที่เชฟของบริษัทเลือกแล้วว่าเหมาะสมกับการปรุงเมนูอาหารสำหรับแบรนด์ Gin Zhai (กินใจ) ซึ่งจะได้ทั้งคุณค่าโปรตีน รสสัมผัส รสชาติ และความอร่อย

 
ShareTweetShare
Previous Post

อัลกอริทึมบริหารจัดการฟาร์มโคนม ยกระดับอุตสาหกรรมโคนมไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Next Post

นวัตกรรม “เข็มจิ๋วกระตุ้นคอลลาเจน” ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น สวยได้ที่บ้าน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

7 months ago
56
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

7 months ago
30
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

7 months ago
62
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

7 months ago
81
Load More
Next Post
นวัตกรรม “เข็มจิ๋วกระตุ้นคอลลาเจน”  ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น สวยได้ที่บ้าน

นวัตกรรม “เข็มจิ๋วกระตุ้นคอลลาเจน” ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น สวยได้ที่บ้าน

นวัตกรรมแยกกระดาษ พลาสติกพอลิเอทิลีน ออกจากอะลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.