mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
FleXARs นวัตกรรมฟิล์มป้องกันเพรียงเกาะผิวเรือเดินสมุทร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

FleXARs นวัตกรรมฟิล์มป้องกันเพรียงเกาะผิวเรือเดินสมุทร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

0

              ปัญหาเพรียงทะเลเกาะบนพื้นผิวเรือเดินสมุทร เสาแท่นขุดเจาะน้ำมัน และโครงสร้างทางวิศวกรรมใต้ทะเลที่ทำจากเหล็กคาร์บอน ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่สร้างมูลค่าความเสียหายมากถึง 4.5 ล้านล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการป้องกันและบำรุงรักษา อีกทั้งกระบวนการป้องกันที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันยังมีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมสูงและเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอีกด้วย

              ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว FleXARs (เฟล็กซาส์) นวัตกรรมฟิล์มป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิว ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้ปกป้องพื้นผิวเรือเดินสมุทร เสาแท่นขุดเจาะน้ำมัน และสิ่งก่อสร้างในทะเล ในงาน APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz (Thailand Tech Show 2022)

             ดร.นิธิ อัตถิ หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก (SMD-1) ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) เนคเทค สวทช. เล่าถึงที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีว่า ปัจจุบันทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมทางทะเล ต้องเผชิญปัญหาใหญ่จากการเกาะของเพรียงทะเล ทั้งบนเรือเดินสมุทร เครื่องจักร และสิ่งก่อสร้างจำพวกคาร์บอนสตีล เพราะเมือกที่เพรียงปล่อยออกมาเพื่อยึดเกาะจะทำให้พื้นผิวของวัสดุเกิดตามดหรือรูขนาดเล็ก (Pinholes)  ทำให้เกิดการกัดกร่อนสูง นอกจากนี้การที่มีเพรียงมาเกาะปริมาณมาก จะส่งผลให้เรือเดินสมุทรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดการต้านน้ำ ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนมากกว่าปกติ เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อนอีกด้วย

             ปัญหาเหล่านี้เป็นที่ตระหนักดีของผู้ประกอบการที่ทำอุตสาหกรรมทางทะเล อย่างไรก็ตามยังไม่มีเทคโนโลยีใดในปัจจุบันที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ครบ ทั้งด้านประสิทธิภาพในการป้องกัน ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และราคาที่จับต้องได้

             ดร.นิธิ เล่าว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology Research Institute, ITRI) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และสถาบัน Fraunhofer สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฟิล์ม FleXARs ที่มีคุณสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะอย่างยิ่งยวด (Superamphiphobic surface) เพื่อแก้ปัญหาการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุจากต้นน้ำ โดยการทำให้เมือกที่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กปล่อยออกมาไม่สามารถยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุได้

              เทคโนโลยีใหม่นี้สามารถใช้ทดแทนสีกันเพรียงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของสัตว์น้ำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยมากกว่าการส่งนักประดาน้ำลงไปฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อลอกเพรียงทะเลออกจากพื้นผิว อีกทั้งยังไม่เป็นการรบกวนการสื่อสารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกับการใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ในการไล่ตัวอ่อนของเพรียงทะเลออกจากพื้นผิววัสดุด้วย

              ดร.นิธิ อธิบายว่า ในการพัฒนาฟิล์ม FleXARs ทีมวิจัยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก เพื่อให้วัสดุมีความทนทานสูง สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และเหมาะแก่การผลิตเพื่อใช้งานในระดับอุตสาหกรรม การพัฒนาในส่วนแรก คือ การออกแบบลวดลายจุลภาคแบบทนทาน (Robust micro-structure) ขนาด 500 ไมโครเมตร ที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการถูกสัมผัสและสามารถรับแรงกระทำจากภายนอกได้ โดยจะพิมพ์ลวดลายดังกล่าวบนวัสดุที่มีค่าพลังงานเชิงผิวต่ำ เช่น พอลิไดเมทิลไซลอกเซน(Polydimethylsiloxane: PDMS) ทำให้พื้นผิวของฟิล์ม FleXARs มีคุณสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะอย่างยิ่งยวด การพัฒนาในส่วนที่สองคือ การผลิตฟิล์ม FleXARs ให้มีขนาดใหญ่หน้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาวถึง 300 เมตรต่อม้วน ฟิล์มมีความบาง ใส และยืดหยุ่น เพื่อความสะดวกในการใช้งานกับพื้นผิวขนาดใหญ่ และส่วนที่สามคือการพัฒนาชั้นฟิล์มกาวด้านหลังเพื่อให้ติดแผ่นฟิล์ม FleXARs ลงบนผิววัสดุได้ง่าย ลดความยุ่งยากและเวลาในการติดตั้ง

               “จากการทดสอบการใช้งานจริงเป็นเวลา 12 เดือนในทะเลประเทศญี่ปุ่นและอ่าวไทย พบว่า  ฟิล์ม FleXARs ปกป้องพื้นผิวคาร์บอนสตีลได้ดีกว่าการเคลือบผิวด้วยวัสดุเทฟลอนที่มีราคาสูง และจากการทดสอบแบบเร่งเวลาในสภาวะห้องทดลองด้วยกระบวนการกัดกร่อนด้วยเกลือ (Salt spray test) พบว่า FleXARs ใช้งานในทะเลได้นานถึง 15 ปีโดยไม่เสื่อมสภาพ (การใช้งานจริงอาจมีอายุสั้นกว่าเนื่องจากมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้มาเกี่ยวข้อง) นอกจากนี้ยังมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีการกำจัดเพรียงที่นิยมใช้กันอยู่ ที่สำคัญ FleXARs มีราคาเพียง 1000 บาทต่อตารางเมตร ต่ำกว่าวัสดุที่มีการใช้งานทั่วไปในปัจจุบันซึ่งมีราคาตั้งแต่ 2000-6000 บาทต่อตารางเมตร ทำให้ FleXARs ได้เปรียบทั้งด้านราคาและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

                 FleXARs ไม่ได้มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทางทะเลเท่านั้น เพราะด้วยคุณสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะอย่างยิ่งยวดทำให้ฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติป้องกันการเกาะของเชื้อก่อโรคอีกด้วย

              ดร.นิธิ อธิบายว่า จุลชีพก่อโรคจำพวกแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จำเป็นต้องอาศัยชั้นกาวหรือการสร้างไบโอฟิล์มในการยึดเกาะกับพื้นผิวเช่นเดียวกับเพรียงทะเลที่ปล่อยเมือกมายึดเกาะวัสดุ ดังนั้นแล้วการตัดปัจจัยเหล่านั้นออกตั้งแต่แรกจะช่วยลดการสะสมของเชื้อได้เป็นอย่างดี จากการทดสอบพบว่าพื้นผิวของ FleXARs ลดการสะสมของแบคทีเรียและการเกิดชั้นไบโอฟิล์มได้ดีกว่าเทฟลอนที่นิยมใช้เคลือบพื้นผิววัสดุทางการแพทย์ถึงร้อยละ 25 แผ่นฟิล์มชนิดนี้จึงเหมาะแก่การใช้งานกับอุปกรณ์การแพทย์ ใช้งานในสถานพยาบาล รวมถึงสถานที่ที่มีการสัมผัสร่วมสูง เช่น ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า สนามบิน โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อก่อโรค

              หากคุณคือผู้ที่สนใจลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ทีมวิจัยพร้อมเปิดรับการลงทุนเพื่อก้าวสู่การเป็นสตาร์ตอัป โดยทีมวิจัยมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงเครือข่ายโรงงานเฉพาะทางที่พร้อมให้บริการรับจ้างผลิต หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer)

               ดร.นิธิ ทิ้งท้ายว่า ทีมวิจัยพร้อมเดินหน้าสู่การทำธุรกิจแบบ B2B2C (Business-to-Business-to-Customer) โดยต้องการเงินลงทุน 20 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจสู่การผลิตและจัดจำหน่ายในช่วงปี พ.ศ. 2566-2567 โดยจากการวิจัยทางการตลาดพบว่า FleXARs มีโอกาสมีส่วนแบ่งในตลาดประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมลงทุนติดต่อได้ที่ nithi.atthi@nectec.or.th

ShareTweetShare
Previous Post

“มายน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ – ไทยสมายล์บัส” นวัตกรรมเรือและบัสไฟฟ้ากับบทบาทพาผู้นำเอเปคสู่ความยั่งยืน

Next Post

นวัตกรรม “แบบทดสอบความชอบรสเค็ม” หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

“โบ๊ทพัฒนา” เปิดบริการ “Drone Delivery” ยกระดับภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ
นวัตกรรมด้านการขนส่ง

“โบ๊ทพัฒนา” เปิดบริการ “Drone Delivery” ยกระดับภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ

2 weeks ago
3
รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี (MUVMI) กับบริการ 2 ล้านเที่ยวเพื่อคนกรุง
นวัตกรรมด้านการขนส่ง

รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี (MUVMI) กับบริการ 2 ล้านเที่ยวเพื่อคนกรุง

2 weeks ago
9
รถขนส่งไฟฟ้า 3 ล้อตู้บรรทุก “โอทู (O2)” ตอบโจทย์ขนส่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมด้านการขนส่ง

รถขนส่งไฟฟ้า 3 ล้อตู้บรรทุก “โอทู (O2)” ตอบโจทย์ขนส่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2 months ago
51
“deeple”  ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยี AI
นวัตกรรมด้านการขนส่ง

“deeple” ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยี AI

5 months ago
38
Load More
Next Post
นวัตกรรม “แบบทดสอบความชอบรสเค็ม” หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม

นวัตกรรม "แบบทดสอบความชอบรสเค็ม" หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม

นวัตกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร  ผลิตภัณฑ์จากเคลอินทรีย์ สร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชน

นวัตกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากเคลอินทรีย์ สร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชน

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    52 shares
    Share 21 Tweet 13
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    50 shares
    Share 20 Tweet 13
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    42 shares
    Share 17 Tweet 11
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    39 shares
    Share 16 Tweet 10
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    38 shares
    Share 15 Tweet 10

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

January 27, 2023
4

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

January 27, 2023
7

นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ “ซอสซ่อนผัก” กินพอเหมาะช่วยลดเสี่ยงสารก่อมะเร็ง

January 27, 2023
7

“แหนแดง” ตัวช่วยลดต้นทุน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับการผลิตข้าวเหนียวลุ่มน้ำโขง

January 26, 2023
3

อว. มอบนวัตกรรมฝีมือนักวิจัยไทย “เท้าเทียมไดนามิกส์” เป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้พิการฟรี

January 26, 2023
4
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.