mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
รถขนส่งไฟฟ้า 3 ล้อตู้บรรทุก “โอทู (O2)” ตอบโจทย์ขนส่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รถขนส่งไฟฟ้า 3 ล้อตู้บรรทุก “โอทู (O2)” ตอบโจทย์ขนส่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

0

             อีร่า อะตอม (ERA ATOM) สามล้อไฟฟ้าสัญชาติไทย เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วได้รับการตอบรับอย่างมากจากตลาด เนื่องจากมีรูปทรงทันสมัย เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ ด้วยการออกแบบช่วงล่างจากเทคโนโลยีรถแข่งในสนาม ที่มีความเสถียร ขับสนุก เกาะถนน และยังปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานตอบโจทย์การขับในระยะใกล้ เช่น ในชุมชน สนามกอล์ฟ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ท่องเที่ยว ที่ต้องการความเป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม จึงนำมาสู่ไอเดียการต่อยอดธุรกิจเป็นรถขนส่งไฟฟ้า 3 ล้อตู้บรรทุก ชื่อ “โอทู (O2)” ออกแบบเพื่อการขนส่งที่ต้องการควบคุมดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผักผลไม้สด โดยจะมีแผงโซลาร์เซลล์ฝังกับหลังคารถเพื่อควบคุมอุณหภูมิของสินค้าระหว่างการขนส่ง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เป็น 0% เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด

              ศตวรรษ ลิ้มกอปรไพบูลย์ กรรมการบริษัท Electric Racing Automotive Co., Ltd เคยสร้างและพัฒนารถที่ใช้แข่งในสนาม กล่าวว่า ปัญหาการขนส่งของไทยในปัจจุบันคือ คือ 1) การขาดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่ช่วยทำให้การขนส่งแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย และ 2) ปัญหาของน้ำมันที่มันสูงขึ้นเรื่อยๆ

               จึงได้พัฒนา “โอทู (O2)” รถขนส่งสินค้าไฟฟ้า 3 ล้อพร้อมตู้ทึบ ขึ้นมาแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงและทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งต้นน้ำที่มีความสามารถในการผลิตรถไฟฟ้าใช้งานที่มีดีไซน์สวยและมีคุณภาพ โอทูเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องได้รับการดูแลและควบคุมอุณหภูมิพิเศษ เช่น การขนส่งผักผลไม้ออร์แกนิก และยังสามารถควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับน้ำหนักของสิ่งของขณะกำลังบรรทุก เพื่อประหยัดพลังงาน โดยหลังคารถจะฝังแผงโซลาร์เซลล์ วัสดุทำจากคาร์บอนคอมโพสิต ที่ให้น้ำหนักเบา ซึ่งสามารถทดแทนการใช้เหล็กได้ ลดจุดด้อยของรถไฟฟ้าที่มีน้ำหนักจากแบตเตอรี่ได้มาก 

               ซึ่งโอทูมีมอเตอร์ขนาด 15 กิโลวัตต์ สามารถวิ่งในระยะ 180 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็มๆ 1 ครั้ง ในความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถบรรจุของได้ 500-700 กิโลกรัม ต่อการส่ง 1 เที่ยว โดยจะมีความคล่องตัวกว่า มอเตอร์ไซค์เพราะมีขนาดใหญ่กว่า แต่จะน้อยกว่ารถยนต์ เพราะเป็นขนาดสามล้อ

               “ตอนสร้างรถตุ๊กตุ๊กอะตอม เราสร้างเพื่อการใช้งานในชุมชน จึงไม่สามารถจดทะเบียนได้ แต่เจ้าตัวโอทูนี้สามารถจดทะเบียนและใช้งานบนถนนได้อย่างถูกต้อง เพราะมีขนาดมอเตอร์ที่ตรงตามกรมขนส่งกำหนด”

ATOM

               นอกจากนี้ ทางบริษัทยังสามารถออกแบบลวดลายของรถขนส่งโอทูให้ตอบโจทย์กับดีไซน์และความเป็นแบรนด์ขององค์กรลูกค้า เพื่อสร้างให้เกิดการจดจำและสร้าง สี ลวดลาย ให้เหมาะสมแก่ความต้องการของลูกค้า และมีแอปพลิเคชั่นที่มีระบบ IOT สามารถติดตาม มอนอเตอร์ สื่อสาร ควมคุม จากเซนเซอร์ต่างๆ ที่อยู่ในตัวรถได้แบบเรียลไทม์ 

              “กลุ่มเป้าหมายของโอทูคือ กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้รับส่งทั่วไป เช่น เคอรี่ แฟลช ไปรษณีย์ไทย ฯลฯ และกลุ่มตลาดอีคอมเมิช โดยคาดว่าจะสามารถสร้างรถต้นแบบและเปิดให้จองในต้นปี 2566 ในราคาประมาณ 500,000 – 700,000 บาท” ศตวรรษ กล่าว

              สำหรับการตลาดช่วงแรกหลังจากเปิดการซื้อขายจะบริการแค่ในกรุงเทพมหานคร เพราะต้องการวางโครงข่ายจุดชาร์จและแบตเตอรี่ และดูการตอบรับในเฟสแรกก่อน หากการตอบรับตรงตามเป้าหมายก็จะพัฒนาไปสู่ต่างจังหวัดและพัฒนาเป็นรถส่วนบุคคล

              สำหรับ “อะตอม” คงเป็นก้าวแรกของการเข้ามาผลิตรถพลังงานไฟฟ้าของศตวรรษ โดยได้อธิบายว่า จุดเริ่มต้นของอะตอมคือ การอยากสร้างรถให้กับพ่อ เพื่อลดการใช้มอเตอร์ไซค์ที่เป็นอันตรายในผู้สูงอายุ อะตอมจึงเป็นรถต้นแบบที่สร้างเพื่อผู้สุงอายุ มีความน่ารัก และมีความปลอดภัย รูปทรงจะทำให้เป็นการออกแบบที่เหมือนยานพาหนะและเป็นเพื่อนกับคนขับ ซึ่งจะสอดคล้องกับผู้สูงอายุต้องการคนดูแล ชิ้นส่วนของตัวถังหลักจะมาจากคาร์บอนคอมโพสิต เหมือนกับโอทู โดยจะมีสองชิ้นคือโครงหน้ากับหลังคา มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ทำให้มีความคล่องตัว และสามารถเข้าพื้นที่เล็กๆ ได้ง่าย ส่วนฐานของรถทำมาจากเหล็กจะออกแบบโดยใช้วิธีสามมิติ มีโช้กช่วยรับน้ำหนักได้มากกว่าการใช้แหนบเหมือนรถตุ๊กตุ๊กทั่วไป ซึ่งจะมีความเสถียรมากขึ้น

              รถจะมีความเป็นจิตวิญญาณนักซิ่ง เพราะออกแบบมาให้ขับสนุกและมีความเกาะถนนมากขึ้น โดยสามารถนั่งได้ทั้งหมด 3 คน ทำความเร็วได้ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่ารถกอล์ฟทั่วไป การใช้งานจะสามารถเชื่อมกับแอปพลิเคชันในมือถือเพื่อดูฟังก์ชันต่างๆ เช่นพลังงาน ความเร็ว แบตเตอรี่ของการใช้ตัวรถ นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเพลงฟังในรถขณะกำลังใช้งาน เพื่อสร้างความเพลิดเพลินได้อีกด้วย

                อะตอม เปิดตัวในราคา 90,000-100,000 กว่าบาท ขณะนี้มียอดขายที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และมียอดจองที่สูง ได้นำไปใช้งานหลายรูปแบบ หลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนบุคคล หรือการร่วมกับภาครัฐ ภาคท้องถิ่นต่างๆ เช่น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จ.ขอนแก่น นำอะตอมมาใช้เป็นรถตุ๊กตุ๊ก ไฟฟ้าต้นแบบ รับสังคมผู้สูงอายุและคนพิการ เพราะมีความกระทัดรัดและปลอดภัย

                 ศตวรรษ กล่าวว่า ปัญญาของรถเล็กๆ แบบอะตอมคือ ค่าภาษีนำเข้าอะไหล่รถที่มีราคาแพง ขณะนี้รัฐบาลมีส่วนสนับสนุนเรื่องภาษี มีส่วนลด ให้กับคนที่จะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ เช่น รถยนต์ 4 ล้อไฟฟ้า แต่ขณะเดียวกันด้านรถขนาดเล็กที่ใช้ในชุมชนยังไม่มีเงินทุนที่เข้ามาช่วยเหลือ ถ้าเกิดได้รับการสนับสนุนรถที่เหมาะกับการวิ่งระยะใกล้ก็จะทำให้วงการรถยนต์ไฟฟ้านั้นไปได้เร็วและไกลมากขึ้น

               “คนไทยที่เก่งเรื่องเครื่องยนต์ไฟฟ้านั้นมีเยอะ แต่คนที่กล้าทำมีน้อยเพราะการทำเรื่องพวกนี้จะต้องนำเข้าอะไหล่หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ มีเรื่องของภาษีและค่านำเข้าที่แพง แต่ที่ผมยังทำอยู่ก็เพราะแพชชั่นที่อยากให้ไทยเป็นแหล่งต้นน้ำรถยนต์ไฟฟ้า” ศตวรรษกล่าวทิ้งท้าย 

                 ทั้งนี้ “โอทู (O2)” เป็น 1 ใน 10 ผลงานที่ได้รับคะแนนสูงสุดจาก 25 รายที่ผ่านการคัดเลือกในกิจกรรม Pitching & Meet Investors เพื่อรับรางวัล TechBiz Starter Funds 20,000 บาท ภายใต้โครงการ “สร้างผู้ประกอบการใหม่ด้วยนวัตกรรม” โดยศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนับสนุนและต่อยอดกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สามารถสร้างรากฐาน ดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง และสร้างโอกาสขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง

ShareTweetShare
Previous Post

ระบบเกษตรอัจฉริยะ DSmart Farming เพื่อการเกษตรไทยที่ยั่งยืน

Next Post

ม.มหิดล ค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรไทย “นวโกฐ” มีฤทธิ์ต้านโรคอัลไซเมอร์ในหลอดทดลอง

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

4 weeks ago
15
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

1 month ago
27
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

2 months ago
15
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

2 months ago
25
Load More
Next Post
ม.มหิดล ค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรไทย “นวโกฐ” มีฤทธิ์ต้านโรคอัลไซเมอร์ในหลอดทดลอง

ม.มหิดล ค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรไทย "นวโกฐ" มีฤทธิ์ต้านโรคอัลไซเมอร์ในหลอดทดลอง

ม.ขอนแก่น เปิดตัว “แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน” ผลิตได้เป็นที่แรกในอาเซียน

ม.ขอนแก่น เปิดตัว “แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหิน” ผลิตได้เป็นที่แรกในอาเซียน

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.