mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี (MUVMI) กับบริการ 2 ล้านเที่ยวเพื่อคนกรุง

รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี (MUVMI) กับบริการ 2 ล้านเที่ยวเพื่อคนกรุง

0

          นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 จะมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นทั้งส่วนการผลิตรถยนต์และยอดจำหน่าย นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในราคาที่เข้าถึงได้ การพัฒนารูปแบบยานพาหนะ เช่น ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า เรือ – รถโดยสารสาธารณะ สถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า โฮมชาร์จเจอร์ ฯลฯ 

         ตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) นั่นคือ “มูฟมี (MUVMI)” รถตุ๊กตุ๊กพลังงานไฟฟ้า 100% ที่ให้บริการผู้โดยสารแล้วกว่า 2 ล้านเที่ยวเดินทาง และมีแผนเพิ่มจำนวนรถอีก 1,000 คัน ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานจริงในเขตเมืองและหัวเมืองท่องเที่ยว 

          กฤษดา กฤตยากีรณ กรรมการผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด และผู้ก่อตั้งธุรกิจให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี กล่าวว่า ปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่สามารถแก้ไขได้จากการใช้ขนส่งมวลชน นี่คือ โจทย์ที่ทำให้มูฟมีได้ผลิตรถตุ๊กตุ๊กขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า 100% ที่มีระบบควบคุมการขับขี่แบบ In Car Application ทำให้ทุกการเดินทางปลอดภัย สะดวกสบาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีท่อไอเสียจึงช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องยนต์ หรือ PM 2.5

          ปัจจุบันมูฟมี มีรถตุ๊กตุ๊กแบบ EV จำนวน 250 คัน ให้บริการรับ – ส่งผู้โดยสารตามแนวรถไฟฟ้า เข้าซอยหรือไปบริเวณใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ 10 ย่านทั่วกรุงเทพ เช่น ย่านจุฬาลงกรณ์-สยาม ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ เกาะรัตนโกสินทร์ บางซื่อ ชิดลม-ลุมพินี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นต้น โดยมีจุดเด่นคือ เรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ สามารถแชร์เส้นทางร่วมกับคนอื่นได้ด้วยบริการในระบบ Ride Sharing เดินทางไปไหนง่าย ใช้ได้ทุกวัน ราคาย่อมเยาคิดตามระยะทางจริง เริ่มต้นที่ 10 บาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี ได้ให้บริการผู้โดยสารแล้วกว่า 2 ล้านเที่ยวเดินทาง

           มูฟมีให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ทั้งการออกแบบตัวรถโดยสารที่จดสิทธิบัตรไปแล้ว และการออกแบบจุดชาร์จรถไฟฟ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์ตรงเข้ารถ มีสมองกลในรถคอยควบคุมกระแสไฟซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการจดลิขสิทธิ์ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ในปี 2566 นี้ มูฟมียังคงพัฒนาต่อไปไม่หยุดนิ่ง ทั้งในแง่บริการและการพัฒนาเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนรถโดยสารเป็น 1,000 คัน พร้อมขยายโซนให้บริการใหม่เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ มากที่สุด 

          วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม NIA เปิดเผยว่า ตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าจากรมการขนส่งทางบกที่พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 ประเทศไทยมียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ารวมทั้งหมด 15,423 คัน ซึ่งมากกว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าย้อนหลังรวม 10 ปี (ปี 2555 – 2564) ที่มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 11,749 คัน สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดย NIA คาดว่าในปี 2566 การเติบโตส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล เนื่องจากนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ มาตรการภาษี ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว รวมถึงในภาคธุรกิจ เช่น การท่องเที่ยว บริการเดลิเวอรี่อาหาร บริการสาธารณะ ฯลฯ ที่จะนำยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งช่วยให้นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่เข้าถึงได้ หรือค่าบริการที่ถูกลง

         การพัฒนารูปแบบยานพาหนะไฟฟ้าที่ไม่จำกัดแค่เพียงรถยนต์นั่ง เช่น ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า เรือ – รถโดยสารสาธารณะ ตลอดจนกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า โฮมชาร์จเจอร์ การบริหารจัดการการจ่ายกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ แอปพลิเคชันบริการรถรับส่งที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน 

         จากโอกาสการเติบโตของอุตสาหรรมด้านพลังงานสะอาด และกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง NIA จึงได้เลือกให้เป็นสาขาที่อยู่ภายใต้โครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) จากทั้งหมด 6 สาขาได้แก่

  • อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก

  • ความมั่นคงทางอาหาร

  • เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

  • พลังงานสะอาด

  • ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ ARI Tech

  • กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง 

         ซึ่งจะสนับสนุน “เงินทุนให้เปล่า” วงเงินสูงสุดไม่เกินโครงการละ 5 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมจริง โดยต้องมีความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศ และสามารถสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจได้ 

         จากการเปิดรับข้อเสนอโครงการในปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมให้ความสนใจขอรับการสนับสนุนกว่า 236 ราย จาก 6 สาขา แต่แบ่งเป็นสาขาพลังงานสะอาด 18 ราย สาขากลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง 49 ราย 

         นอกจากนี้ NIA ยังพร้อมจะช่วยสร้างโอกาสและเชื่อมโยงนวัตกรรมดังกล่าวไปสู่ตลาดที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยว การคมนาคม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า การระดมทุน ฯลฯ เพื่อให้เกิดการเติบโตในระดับที่สูงขึ้นและยั่งยืน ดังเช่น โครงการสามล้อไฟฟ้าเดลิเวอรี่ (บริษัท บิซ เน็กซ์ มอเตอร์ จำกัด) บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามูฟมี (บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด) และโครงการเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด นาวาเลียน คอมโพสิท) เป็นต้น ตลอดจนช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศในฐานะ “ศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ในภูมิภาค” อีกด้วย

ShareTweetShare
Previous Post

“กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์” ยกระดับนวัตกรรมเวชภัณฑ์ไทยสู่สากล

Next Post

สุดยอดงานวิจัยแห่งชาติ ปี 66 “ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip”

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

4 months ago
37
น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมด้านพลังงาน

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

4 months ago
27
นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”

5 months ago
22
Load More
Next Post
สุดยอดงานวิจัยแห่งชาติ ปี 66 “ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip”

สุดยอดงานวิจัยแห่งชาติ ปี 66 “ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip”

“โบ๊ทพัฒนา” เปิดบริการ “Drone Delivery” ยกระดับภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ

"โบ๊ทพัฒนา" เปิดบริการ "Drone Delivery" ยกระดับภูเก็ตสู่เมืองอัจฉริยะ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.