mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“มายน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ – ไทยสมายล์บัส” นวัตกรรมเรือและบัสไฟฟ้ากับบทบาทพาผู้นำเอเปคสู่ความยั่งยืน

“มายน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ – ไทยสมายล์บัส” นวัตกรรมเรือและบัสไฟฟ้ากับบทบาทพาผู้นำเอเปคสู่ความยั่งยืน

0

             ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่ปีนี้ประเทศไทยได้รับโอกาสในการเป็นเจ้าภาพ และหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่สุดก็หนีไม่พ้นวาระแห่งความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและนโยบาย “BCG Model” ของรัฐบาลไทย ที่ต้องการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ด้วยการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชน เอสเอ็มอี สตาร์ตอัป ที่มีความพร้อมและกำลังลงทุนในเทคโนโลยี มาร่วมส่งเสริมความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม 

              ยิ่งไปกว่านั้นการจัดประชุมครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ไทยได้แสดงออกถึงดีเอ็นเอทางนวัตกรรมผ่านศิลปวัฒนธรรมด้านอาหารไทย ของที่ระลึก การแสดง ฯลฯ และหนึ่งในนวัตกรรมที่มีการเปิดตัวและเรียกความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “นวัตกรรมยานยนต์รถและเรือไฟฟ้า” เพื่อใช้รับ ส่ง ผู้เข้าร่วมการประชุมและสื่อมวลชน

              สำหรับรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า Thai smile bus และเรือไฟฟ้าโดยสาร MINE Smart Ferry ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2563 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) องค์กรนวัตกรรมที่มีเป้าหมายผลักดันแบรนด์นวัตกรรมจากไทยให้เป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก โดยนวัตกรรมดังกล่าวนับว่ามีดีเอ็นเอความเป็นไทยค่อนข้างสูง เนื่องจากเชื่อมโยงกับวิถีความผูกพันของการเดินทางทางสายน้ำ มีความประณีตในเชิงความคิด สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปกับบริบทสังคมได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับ 2 นวัตกรรมนี้ได้ดียิ่งขึ้น จึงขอพาไปเปิดความว้าวของรถและเรือไฟฟ้าที่เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจ พา 21 ผู้นำเขตเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน

              ระบบขนส่งสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อภูมิอากาศของโลก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามโดยมีการกล่าวถึงข้อตกลงสัญญาที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาและลดภาระด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change 

              จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยมากขึ้น ตามเป้าหมายของภาครัฐที่ต้องการเชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถ ราง เรือ ให้มีระดับมาตรฐานการบริการที่ใกล้เคียงกัน

              ทั้งนี้ ถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA และกลุ่มบริษัทพันธมิตรจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านคมนาคมของไทย โดยการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น “สถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้า EA Anywhere” ที่มีมากกว่า 430 สถานี รวมทั้งสิ้นกว่า 1,800 หัวชาร์จ  ตั้งแต่ระบบธรรมดา (AC Charger) ไปจนถึงระบบชาร์จเร็ว และทันสมัยที่สุด หรือ DC Ultra-Fast Charge ที่ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที และโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบครบวงจร ที่มีความทันสมัยและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีกำลังผลิต 1 กิ๊กกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งหมดนี้จะเกิดอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ามาเสริมสายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เติบโตขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล

               นอกจากนี้ ยังผลิตรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า “Thai smile bus” จำนวน 500 คัน ให้บริการโดย บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ตามเส้นทางในพื้นที่เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เช่น สาย 8 แฮปปี้แลนด์ – สะพานพุทธ สาย 12 พระประแดง – บางลำพู และสาย 17 พระประแดง – อนุสาวรีย์ชัยฯ ซึ่งภายในปี 2566 จะผลิตรถบัส EV เพิ่มอีกประมาณ 2,500 – 3,000 คัน เพื่อมาวิ่งให้บริการแทนรถร่วมใน 117 เส้นทาง  โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ให้สามารถผลิตรถได้ปีละ 5,000 คัน และ “เรือไฟฟ้าโดยสาร MINE Smart Ferry” จำนวน 23 ลำ ให้บริการโดย บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด ใน 3 เส้นทาง คือ สาย Urban Line พระนั่งเกล้า – สาทร สาย Metro Line สะพานพระราม 7 – วัดวรจรรยาวาส และ City Line สายสีเขียว พระปิ่นเกล้า – สาทร เพื่อรองรับการบริการในระบบขนส่งโดยสารสาธารณะของไทยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงทุกระบบบริการขนส่งได้อย่างเท่าเทียม ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยเทียบเท่าสากล เนื่องจากมีการใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน IP68 เช่นเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ และบริษัท อมิตา เทคโนโลยี(ไต้หวัน) ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตแบตเตอร์รี่ไฟฟ้ามานานกว่า 10 ปี  แถมยังช่วยประหยัดพลังงาน เพราะเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีวงจรการผลิตพลังงานทดแทน สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ร้อยละ 30 – 40 ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยในส่วนของภาคการขนส่งปรับตัวได้รวดเร็วมากขึ้น

             นาวาโท ปริญญา รักวาทิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด กล่าวว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่ผ่านมานั้น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด และและกลุ่มบริษัทพันธมิตร ร่วมกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโปรแกรมท่องเที่ยวสำหรับสื่อมวลชนและผู้แทน APEC 2022 ด้วยรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า “Thai smile bus” โดยเดินทางจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ไปท่าเรือ cat tower เพื่อล่องเรือไฟฟ้า MINE Smart Ferry ชมความงามของปรากฎการณ์แห่งแสงสีริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมเก็บภาพประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญริม 2 ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

           “การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้นำนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทย 100% ตั้งแต่การผลิตแบตเตอร์รี่ การประกอบรถบัส EV และการต่อเรือ ไปนำเสนอให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาคเอกชนมีการพัฒนาและความพร้อมมากพอที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน หากมองในกลุ่มประเทศอาเซียน 

            เชื่อว่า EA และบริษัทพันธมิตร มีความพร้อมที่จะรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เพราะเรามีธุรกิจที่เป็นห่วงโซ่การผลิตของระบบยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จเร็วของเรือไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถชาร์จไฟได้ 800 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ภายใน 15 นาที โดยในปี 2566 ตั้งเป้าจะเพิ่มสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าให้ครบ 700 สถานี เพื่อรองรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าส่วนตัวที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง”

ShareTweetShare
Previous Post

วช. ยกระดับ “หมามุ่ย” สกัดเป็นเซรั่มบำรุงผม ช่วยให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย

Next Post

FleXARs นวัตกรรมฟิล์มป้องกันเพรียงเกาะผิวเรือเดินสมุทร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

1 month ago
22
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

1 month ago
27
น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมด้านพลังงาน

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

2 months ago
18
นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”

2 months ago
16
Load More
Next Post
FleXARs นวัตกรรมฟิล์มป้องกันเพรียงเกาะผิวเรือเดินสมุทร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

FleXARs นวัตกรรมฟิล์มป้องกันเพรียงเกาะผิวเรือเดินสมุทร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรม “แบบทดสอบความชอบรสเค็ม” หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม

นวัตกรรม "แบบทดสอบความชอบรสเค็ม" หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.