mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ขนาดใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ขนาดใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

0

              รู้จักระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ขนาดใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. เผยความสำคัญของฐานข้อมูลงานวิจัยไทย ช่วยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและขับเคลื่อนองค์ความรู้งานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดระบบ NRIIS ของ วช.คว้ารางวัลเลิศรัฐประจำปี2565

              ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า วช.ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะการสร้างฐานข้อมูลกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์ความรู้งานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดให้ วช. จัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการ บริหารจัดการ และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมในภาพรวมของประเทศ รวมถึงให้เกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างทุกภาคส่วนในระบบวิจัย

               ซึ่งปัจจุบัน วช. ได้ร่วมกับสำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พัฒนายกระดับระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) ให้เป็นฐานข้อมูลกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

               ล่าสุดผลงานระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรม (NRIIS) จาก วช. ได้รับรางวัล “เลิศรัฐ “ ประจำปี 2565 สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยการมอบรางวัลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแสดงถึงความทันสมัย กลไกการทำงาน พร้อมให้บริการงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างเต็มที่

             ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคลังข้อมูลงานวิจัยไทย เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2554 จากความร่วมมือของหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยของประเทศไทยในสมัยนั้น 4 หน่วยงานได้แก่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และหน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งต่อมาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดให้ วช. จัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกระบบวิจัยในการมีเป้าหมายร่วมกัน ส่งผลให้ขีดความสามารถของระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

              โดยระบบ TNRR เป็นระบบให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ขนาดใหญ่ของประเทศ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม และนำไปสู่การต่อยอด หรือสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิจัยใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มนักวิจัย หรือระหว่างบุคคลทั่วไป

             ทั้งนี้ข้อมูลในระบบ TNRR ได้มาจาก 3 ฐานข้อมูลสำคัญของประเทศ คือ

  1. ฐานข้อมูลจากระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ ระบบ NRIIS

  2. ฐานข้อมูลจากหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ที่การเชื่อมโยงข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการวิจัย ผลงานวิจัย องค์ความรู้ วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ

  3. ฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลกลาง เช่น กรมการปกครอง กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

             สำหรับระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ ระบบ NRIIS ที่คว้ารางวัลเลิศรัฐ ประจำปีนี้ เป็นระบบสารสนเทศกลางด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย ที่เกิดจากการดำเนินงานวิจัยของหน่วยงานและนักวิจัยโดยตรง ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ นักวิจัย โครงการวิจัย และผลงานวิจัย ปัจจุบันระบบการดำเนินงาน อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์แบบ 100 % ตั้งแต่ยื่นเสนอโครงการ การรายงานงานความก้าวหน้า การส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การรายงานผลลัพธ์ ผลกระทบ และการนำรายงานการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และส่งต่อข้อมูลวิจัยเข้าสู่ฐานข้อมูลกลางด้านวิจัยและนวัตกรรม

              ระบบ NRIIS ใช้หลักการสำคัญในการพัฒนาคือ ต้องเป็นข้อมูลชุดเดียวกันที่เป็นเอกภาพ ทั้งการใช้อ้างอิงและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การไหลเข้าของข้อมูลเป็นแบบอัตโนมัติตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลมีมาตรฐานคือการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยง สามารถติดตามและตรวจสอบสถานภาพดำเนินการวิจัย รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณการวิจัย ได้ตลอดวงจรการดำเนินงานของโครงการ และที่สำคัญระบบต้องใช้งานง่าย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว สามารถรองรับบริหารจัดการโครงการการวิจัยของหน่วยงานทุกระดับ โดยที่หน่วยงานไม่ต้องพัฒนาระบบขึ้นมาใช้เอง ทำให้ประเทศประหยัดงบประมาณในการพัฒนาระบบได้อีกทางหนึ่ง

              ระบบ NRIIS จัดเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงโดยทำงานบนระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ซึ่งมีความปลอดภัย มีมาตรฐาน และมีเสถียรภาพสูง สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชม. รองรับการสมัครทุนวิจัยได้จำนวนมากอย่างไม่จำกัด นอกจากนี้ระบบ NRIIS ยังมีระบบตอบคำถามแบบอัตโนมัติ (CHATBOT) และมีเจ้าหน้าที่บริการตลอดเวลา

              ข้อมูลในระบบ TNRR สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดย วช.ได้เปิดให้บริการสืบค้นและการดาวน์โหลดข้อมูล ทั้งโครงการวิจัย ผลงานวิจัย นักวิจัย องค์ความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้กับทั้งผู้บริหารหน่วยงาน นักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยผู้สนใจสามารถเข้าใช้บริการได้ที่ https://tnrr.nriis.go.th

ShareTweetShare
Previous Post

“นวัตกรรม COVID-19 iMAP” คว้ารางวัลเลิศรัฐ 2 ปีซ้อน ในการใช้เทคโนโลยีอวกาศทำงานเพื่อสังคม

Next Post

ฟีเจอร์ใหม่ “Traffy Fondue 2023” รับเรื่องร้องทุกข์ผ่านแชทบอทไลน์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

5 months ago
18
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”
Innovation

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

6 months ago
16
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

7 months ago
8
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

7 months ago
17
Load More
Next Post
ฟีเจอร์ใหม่ “Traffy Fondue 2023” รับเรื่องร้องทุกข์ผ่านแชทบอทไลน์

ฟีเจอร์ใหม่ “Traffy Fondue 2023” รับเรื่องร้องทุกข์ผ่านแชทบอทไลน์

มจธ.พัฒนา เครื่องผลิตไฮโดรเจนจากเอทานอลจากรถตุ๊กตุ๊ก สู่อุตสาหกรรมพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มจธ.พัฒนา เครื่องผลิตไฮโดรเจนจากเอทานอลจากรถตุ๊กตุ๊ก สู่อุตสาหกรรมพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.