mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
4 นวัตกรรมช่วยกาชาดบรรเทาทุกข์ สร้างสุขให้ประชาชน

4 นวัตกรรมช่วยกาชาดบรรเทาทุกข์ สร้างสุขให้ประชาชน

0

              4 นวัตกรรมของ สวทช. ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทยทั้งการบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย บริการโลหิต และส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีนวัตกรรมหลายชิ้นที่นำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ ได้ และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจด้วย

“SOS Water” แก้ปัญหาน้ำดื่มยามประสบภัยพิบัติ

             จากอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554 มีประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ไร้ที่อยู่ ต้องอพยพไปอาศัยตามศูนย์ช่วยเหลือต่าง ๆ นอกจากขาดแคลนอาหารแล้ว ยังไม่มีน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคและบริโภค ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. จึงนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเคลือบผิวในระดับนาโนและเทคนิคการกำจัดเชื้อแบคทีเรียมาพัฒนา “เครื่องผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยีไส้กรองนาโน” หรือ “SOS Water” (Solar-Operating System Water ) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

             “SOS Water” เป็นนวัตกรรมการกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ไส้กรองเซรามิกเคลือบอนุภาคเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย โดยใช้กรรมวิธีการตรึงอนุภาคเงินระดับนาโนลงบนพื้นผิวและรูพรุนของไส้กรองเซรามิก ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียและป้องกันการสะสมของเชื้อที่ไส้กรอง สามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดจากแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไปได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีหรือระบบการตกตะกอน

             ตัวเครื่องมีน้ำหนัก 160 กิโลกรัม กำลังการผลิต 200 ลิตรต่อชั่วโมง เพียงพอต่อชุมชนขนาดประมาณ 1,000 คน เลือกใช้งานได้ทั้งแบบกระแสไฟฟ้าตรงจากโซลาร์เซลล์จำนวน 4 แผง หรือใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้ จึงเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร การใช้งานไม่ยุ่งยาก ติดตั้งและเริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แผงโซลาร์เซลล์ถอดพับเก็บได้ สะดวกในการเคลื่อนย้าย ใช้งานได้ทั้งบนรถหรือบนเรือ

             นาโนเทค สวทช. ร่วมมือกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย นำเครื่อง SOS Water ไปทดสอบประสิทธิภาพการทำงานจริงในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ผลจากการทดสอบในภาคสนามพบว่าใช้งานได้ดี โดยระบบการทำงานของเครื่อง SOS Water และคุณภาพของน้ำดื่มที่ผลิตได้ตามตามมาตรฐานน้ำดื่มของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในยามเกิดภัยพิบัติหรือในพื้นที่ทุรกันดารที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

          รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 7100 อีเมล pr@nanotec.or.th

ระบบติดตามอุณหภูมิกับการบริหารจัดการคุณภาพโลหิต

             ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็นองค์กรหลักที่มีในการจัดหาโลหิตให้เพียงพอและมีความปลอดภัย เพื่อให้บริการผู้ป่วยและโรงพยาบาลทั่วประเทศมีความต้องการโลหิต ซึ่งการจัดเก็บโลหิตอย่างมีคุณภาพต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ห่วงโซ่ความเย็น หรือ blood cold chain ซึ่งเป็นหลักการที่ทั่วโลกใช้ในการจัดเก็บโลหิตให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม รักษาโลหิตมีคุณภาพดีพร้อมใช้งาน

             ในอดีตศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิที่ติดมากับตัวตู้แช่ ห้องเย็น และห้องแช่แข็ง ซึ่งไม่มีระบบสัญญาณเตือนเมื่ออุณหภูมิไม่อยู่ในช่วงที่กำหนด และต้องอาศัยเจ้าหน้าที่คอยเดินตรวจและจดบันทึกวันละ 2 ครั้ง ครั้งละร้อยกว่าตู้ สภากาชาดไทยจึงมองหานวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ จึงร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. นำงานวิจัยเซนเซอร์อุณหภูมิมาพัฒนาต่อยอดเป็น ระบบติดตามอุณหภูมิพร้อมสัญญาณเตือน (Temperature Monitoring System: TMS) เพื่อเฝ้าติดตามอุณหภูมิของการเก็บรักษาคุณภาพโลหิตและแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิภายในตู้แช่ ห้องแช่แข็ง หรือห้องเย็นออกนอกช่วงที่กำหนด โดยอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบไร้สาย (transmitter) จะรับสัญญาณจากเซนเซอร์อุณหภูมิ แล้วส่งข้อมูลเข้าอุปกรณ์เก็บข้อมูลและประมวลผลก่อนจะนำเสนอผ่านโปรแกรมประยุกต์เพื่อแสดงผลข้อมูลอุณหภูมิ พร้อมแจ้งเตือนเหตุการณ์และความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ดูแลระบบแบบเรียลไทม์ ด้วยความรวดเร็วฉับไว พร้อมรายงานผลเข้าโทรศัพท์มือถือของเจ้าหน้าที่ให้เข้าแก้ไขปัญหาได้ทันที ช่วยรักษาคุณภาพโลหิตและส่วนประกอบโลหิตให้คงสภาพดี ช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียโลหิตและส่วนประกอบโลหิตจากการเก็บรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 6900 อีเมล info@nectec.or.th

ระบบบริการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า Face Verification

             ช่วงที่มีการระบาดของโรคร้ายแรง รัฐจำเป็นต้องใช้ข้อมูลยืนยันตัวตนทั้งคนไทย กลุ่มชนชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และชาวต่างชาติที่อาศัยพักพิงอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนได้เข้ารับบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับวัคซีนโควิด 19 ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตลงได้ แต่บางคนไม่มีเอกสารราชการจึงไม่สามารถลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนได้

             เนคเทค สวทช. จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นำ “Face Verification” เทคโนโลยีระบบรู้จำใบหน้า มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกการยืนยันตัวตนในเรื่องการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขของไทยให้แก่แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารราชการ โดยเชื่อมกับระบบ MOPH-IC ของกระทรวงสาธารณสุข สร้างเลข 13 หลักแทนเลขประจำตัวประชาชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านสาธารณสุขเข้าสู่ระบบหมอพร้อม ด้วยความรวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาทีต่อคน

             ปัจจุบันได้นำไปใช้ลงทะเบียนยืนยันตัวตนและบันทึกข้อมูลการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในพื้นที่ศูนย์อพยพหลายแห่ง เช่น ศูนย์อพยพถ้ำหิน จ.ราชบุรี, ศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ จ.ตาก, พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านใหม่ในสอย จ.แม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังนำไปใช้กับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะที่ตลาดกลางกุ้งและตลาดทะเลไทย เพื่อลดการระบาดในกลุ่มแรงงาน สร้างความมั่นใจให้แก่ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดำเนินต่อไปได้เหมือนปกติ

          รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 6900 อีเมล info@nectec.or.th

AMED Telehealth แพลตฟอร์มหลังบ้าน Home Isolation ตัวอยู่ไกล แต่ยังใกล้หมอ

             หลังจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมาตรการเรื่องแนวทางการดูแลตนเองที่บ้าน (Home Isolation: HI) ของผู้ป่วยโควิด 19 ระหว่างรอเตียง เพื่อบรรเทาปัญหาเตียงเต็ม โรงพยาบาลและหน่วยงานที่ให้บริการทางการแพทย์จึงต้องจัดระบบดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่แยกกักตัวที่บ้านขึ้น เพื่อติดตามอาการ รักษา ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยคือ ระบบหลังบ้านที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างแพทย์ พยาบาล กับคนไข้

             นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ได้นำเทคโนโลยีระบบตรวจสุขภาพทางไกลที่ชื่อว่า AMED Telehealth มาใช้เป็นระบบหลังบ้านของระบบ HI ที่โรงพยาบาลจัดทำขึ้น เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วยโควิด 19 ให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้ในการติดตามอาการและรักษาผู้ป่วยได้อย่างสะดวก ผ่านสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ครอบคลุมทั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ แอนดรอยด์ และไอโอเอส โดยมีจุดเด่นซึ่งยังไม่มีระบบใดทำมาก่อน คือ แดชบอร์ด (dashboard) ใบสั่งแพทย์แบบรายวันและต่อเนื่อง พร้อมแสดงสถานะของใบสั่งนั้น ๆ ทำให้แพทย์กับพยาบาลทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

             หลังจากผู้ป่วย HI ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 และโรงพยาบาลใกล้บ้านรับเรื่องแล้ว เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเพิ่มเพื่อนผู้ป่วยในแอปพลิเคชันไลน์ของโรงพยาบาลเพื่อเข้าสู่ระบบ HI โดยมีแพลตฟอร์ม AMED Telehealth เป็นระบบหลังบ้าน ผู้ป่วยมีหน้าที่รายงานสัญญาณชีพจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุณหภูมิร่างกาย ความดัน รวมทั้งอาการผิดปกติ ผ่านไลน์แอปพลิเคชันได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะวิดีโอคอล แชต หรือภาพถ่าย ส่งให้แพทย์และพยาบาลได้ทุกวัน แพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลดังกล่าวนี้เพื่อให้แพทย์และพยาบาลเข้ามาติดตามอาการ พร้อมสั่งการ ดูแลรักษา และให้คำแนะนำผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แพทย์และพยาบาลยังเข้าระบบหลังบ้านเพื่อดูจำนวนเตียง จำนวนผู้ป่วย และยังเปิดการคัดกรองเคสคนไข้เพื่อบริหารจัดการข้อมูลเตียงผู้ป่วยได้ด้วย

             ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถานีกาชาด ของสภากาชาดไทย รวม 1,288 แห่ง ใช้แพลตฟอร์ม AMED Telehealth ในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แบบแยกกักตัวที่บ้านและแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) มากกว่า 1 ล้านคน

          โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใดต้องการทำระบบ Home Isolation ทีมวิจัย A-MED สวทช. พร้อมสนับสนุนระบบอย่างเต็มความสามารถ โดยติดต่อทีมวิจัยเพื่อใช้แพลตฟอร์มได้ที่ อีเมล a-med@nstda.or.th

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล ค้นพบยีนบ่งชี้ผื่นแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง เตรียมผลักดันเข้าโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย – หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Next Post

นวัตกรรม “กระสวยทอผ้ากึ่งอัตโนมัติ” ช่วยให้ทอผ้าได้เร็วขึ้น และยังคงรักษาความเป็นผ้าทอมือ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ม.มหิดล ภูมิใจนำวิชาการหุ่นยนต์ฝั่งเอเชีย พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงาน World RoboCup 2022  ระหว่างวันที่ 13 – 16 กรกฎาคม 2565 นี้ ที่ไบเทค บางนา
Innovation

ม.มหิดล ภูมิใจนำวิชาการหุ่นยนต์ฝั่งเอเชีย พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงาน World RoboCup 2022 ระหว่างวันที่ 13 – 16 กรกฎาคม 2565 นี้ ที่ไบเทค บางนา

1 month ago
14
ReadMe โปรแกรมดีฝีมือคนไทย แปลงเอกสารและรูปภาพเป็นข้อความดิจิทัล
Innovation

ReadMe โปรแกรมดีฝีมือคนไทย แปลงเอกสารและรูปภาพเป็นข้อความดิจิทัล

2 months ago
6
มจธ. เปิด “ศูนย์ ASESS” Lab พิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
Innovation

มจธ. เปิด “ศูนย์ ASESS” Lab พิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

2 months ago
13
ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม
Innovation

ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

3 months ago
21
Load More
Next Post
นวัตกรรม “กระสวยทอผ้ากึ่งอัตโนมัติ” ช่วยให้ทอผ้าได้เร็วขึ้น และยังคงรักษาความเป็นผ้าทอมือ

นวัตกรรม “กระสวยทอผ้ากึ่งอัตโนมัติ” ช่วยให้ทอผ้าได้เร็วขึ้น และยังคงรักษาความเป็นผ้าทอมือ

ม.มหิดล เสนอระบบใหม่โลจิสติกส์เวชภัณฑ์ไทย รวมเส้นทางขนส่ง – บริหารจัดการด้วย AI กู้วิกฤติพลังงานโลก

ม.มหิดล เสนอระบบใหม่โลจิสติกส์เวชภัณฑ์ไทย รวมเส้นทางขนส่ง - บริหารจัดการด้วย AI กู้วิกฤติพลังงานโลก

Discussion about this post

Popular Post

  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    36 shares
    Share 14 Tweet 9
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    31 shares
    Share 12 Tweet 8
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    26 shares
    Share 10 Tweet 7
  • Bederly : นวัตกรรมเตียงอัจฉริยะเพื่อผู้ป่วยที่นอนติดเตียง

    25 shares
    Share 10 Tweet 6
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    23 shares
    Share 9 Tweet 6

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

นวัตกรรมเตาเผาศพอัจฉริยะ ลดปริมาณสารก่อมะเร็งในอากาศ

August 15, 2022
3

นวัตกรรม “ถุง SEB” ผลิตภัณฑ์ถุงใส่ชิ้นเนื้อแบบเปิดได้เอง นวัตกรรมคนไทย ช่วยแพทย์ลดเวลาผ่าตัด

August 15, 2022
3

ม.มหิดล วิจัยผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

August 15, 2022
5

สุดยอดนวัตกรรมจาก ม.รังสิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด

August 10, 2022
12

ม.มหิดล พัฒนาเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้ง สู้วิกฤติ COVID-19 และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

August 10, 2022
4
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.