mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
WE Assess ระบบสัมภาษณ์งานด้วย AI ฝีมือคนไทย

WE Assess ระบบสัมภาษณ์งานด้วย AI ฝีมือคนไทย

0

              จะดีแค่ไหน หากองค์กรต่าง ๆ สามารถเฟ้นหาและคัดกรองผู้สมัครที่มีทักษะความสามารถตรงกับตำแหน่งงาน และจะดีเพียงใด หากคนไทยได้ค้นพบความถนัดของตัวเองและใช้ศักยภาพนั้นในการทำงานสร้างสรรค์สังคมอย่างเต็มความสามารถ

               โดยมากแล้ว การค้นหาและการค้นพบ “คนที่ใช่” และ “งานที่ชอบ” มักใช้เวลา ผ่านการลองผิดลองถูกครั้งแล้วครั้งเล่า แต่วันนี้ มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) “WE Assess” ที่เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวช่วยให้กระบวนการดังกล่าวเป็นทางลัดที่สั้นขึ้น

คุณวีรพล วีระโชติวศิน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท EdVISORY Co., Ltd

             คุณวีรพล วีระโชติวศิน นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดใจถึงนวัตกรรมชิ้นนี้ว่า “การพัฒนาคนถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ เราพัฒนา WE Assess เพื่อช่วยให้คนไทยค้นพบศักยภาพของตัวเอง เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่พัฒนาได้เรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์การ re-skill และ up-skill ในอนาคต”  

              WE Assess เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อสังคมของ EdVISORY บริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษาและการพัฒนาคนที่คุณวีรพลก่อตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub และเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ในหมวด “Start-up as a key driver for competitiveness” ซึ่งมีสตาร์ทอัพจากหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมแข่งขัน

ไอเดียเริ่มต้น WE Assess

             ด้วยความที่ตั้งต้นจากบริษัทเทคโนโลยีด้านการศึกษา EdVISORY ได้ดำเนินการวิจัยกรอบสมรรถนะของคนไทยเพื่อค้นหาว่าคนไทยควรต้องมีทักษะทางด้านใดบ้าง งานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลเป็น 1 ใน 8 งานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานเลขาธิการสภากาศึกษา ในงาน 16th OEC Symposium และในเวลาต่อมาก็ถูกนำมาต่อยอดในการสร้าง WE Assess

            “เราอยากจะพัฒนาเทคโนโลยีจากทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับทั้งภาคธุรกิจและภาคการศึกษา ดังนั้น จากระบบการค้นหาตัวเอง WE Space ที่เรามีอยู่ ผนวกกับผลงานวิจัยกรอบสมรรถนะของคนไทยที่เราศึกษา เราจึงเกิดไอเดียทำระบบ pre screening เบื้องต้นสำหรับการสัมภาษณ์งานออนไลน์กับ AI เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้จ้างงานและผู้สมัครงานในยุค social distancing โดยระบบจะช่วยคัดกรองผู้สมัครงานให้ ไม่ต้องนัดหมายสัมภาษณ์ให้ยุ่งยาก ไม่ต้องลำบากเดินทางมาเจอกัน ลดการสัมผัส แต่สามารถวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของผู้สมัครได้ทันที และผู้สมัครงานเองก็สามารถนำเสนอตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกจำกัดด้วยประวัติส่วนตัวหรือ Resume อีกด้วย” คุณวีรพล เล่าถึงความคิดที่มาของ WE Assess

การทำงานของ WE Assess

             WE Assess มีระบบการทำงาน 2 ส่วน คือ ระบบหน้าบ้านและระบบหลังบ้าน

             ระบบหน้าบ้านของ WE Assess เป็นส่วนที่ผู้สมัครงานจะได้สัมผัส เริ่มจากผู้สมัครรับรหัสสำหรับกรอกเข้ามาในระบบเพื่อยืนยันตัวตน จากนั้นจะเป็นการสัมภาษณ์งานออนไลน์กับระบบ AI ในรูปแบบวิดีโอ โดยการตอบคำถามปลายเปิดจำนวน 5 ข้อ แต่ละข้อมีเวลาตอบไม่เกิน 5 นาที

            “คำถามปลายเปิดเหล่านี้เอื้อให้ผู้สมัครแสดงความสามารถในด้านต่าง ๆ ออกมา เริ่มจากการให้ผู้สมัครได้แนะนำตัว พูดถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ผลงานที่ประสบความสำเร็จในอดีตมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นการสัมภาษณ์เชิงสมรรถนะ (Competency Based Interview)” คุณวีรพล ยกตัวอย่างและกล่าวว่าระบบการสัมภาษณ์ออนไลน์ของ WE Assess จะทำให้ผู้สมัครงานสามารถนำเสนอตัวเองได้อย่างเต็มที่

             เมื่อผู้สมัครตอบคำถามครบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยี AI จะทำการประมวลผลออกมาเป็นรายงาน (Report) พร้อมชี้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้สมัคร นอกจากนี้ ยังมี Dashboard ที่แสดง Ranking หรืออันดับคะแนนของผู้สมัครพร้อมผลเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percentile) ความสามารถเทียบกับคนอื่น ๆ ด้วย

             ระบบหลังบ้านของ WE Assess เป็นส่วนที่ให้ทางฝ่ายบุคคล (HR) เข้ามาสร้างข้อมูลและดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลการรับสมัคร เช่น ประกาศรับกี่ตำแหน่ง อะไรบ้าง ข้อมูลของผู้สมัคร อันดับคะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนทำได้

            “ปกติแล้วเจ้าหน้าที่บุคคลต้องไล่อ่านประวัติส่วนตัว (Resume) ทีละใบ เพื่อคัดกรองหาผู้สมัครที่น่าสนใจ จากนั้นจึงโทรติดต่อและนัดหมายสัมภาษณ์ แต่กับ WE Assess ฝ่ายบุคคลสามารถทำทุกอย่างได้ในคลิกเดียว หากมีผู้สมัครส่งเรซูเมเข้ามาในระบบ ไม่ว่าจะ 50 หรือ 100 คน ระบบสามารถส่งแบบประเมินให้ผู้สมัครได้พร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว ช่วยประหยัดเวลาได้มาก”

             เมื่อผู้สมัครทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว AI ก็จะทำการประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของผู้สมัครและจัดอันดับคะแนนออกมา โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ทาง HR ก็สามารถเลือกติดต่อเฉพาะผู้สมัครที่อยู่ใน Top 3 หรือ Top 10 หรือตามความต้องการ เพื่อส่งต่อให้ผู้จัดการ หรือ Line Manager สัมภาษณ์งานทางออนไลน์หรือแบบเห็นหน้าเห็นตาต่อไป พร้อมข้อมูลเชิงลึกจากระบบ WE Assess ต่อไป

การพัฒนาเทคโนโลยี AI ในภาษาไทย

             เทคโนโลยี AI ของ WE Assess พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลต่าง ๆ จากการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านงานบุคคลเข้ามารีวิวคำตอบของผู้สมัครและประเมินให้คะแนน โดยใช้กรอบสมรรถนะ (Competency Framework) ที่ทางบริษัท EdVISORY วิจัยมา เป็นรากฐาน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่

  1. การจัดการปัญหา (Problem Management) หรือความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ ความริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

  2. การจัดการการทำงาน (Work Management) หรือความสามารถด้านการวางแผนในการทำงาน  การควบคุมคุณภาพของงาน และการพัฒนาตัวเอง

  3. การจัดการทีม (Team Management) หรือความสามารถด้านการสื่อสาร ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม เป็นต้น

              คุณวีรพล อธิบายถึงการนำกรอบสมรรถนะทั้ง 3 ด้านข้างต้นมาพัฒนาเป็นระบบการประเมินด้วยเทคโนโลยี AI ว่า “ผู้สมัครงานอัดคลิปวิดีโอแนะนำตัวและตอบคำถามปลายเปิดตามที่กำหนดไว้ จากนั้นจะมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินและให้คะแนนทั้ง 3 ด้านดังกล่าว โดยมีตัวชี้วัดพฤติกรรม (Indicator) มากกว่า 60 ตัว ที่ใช้เป็นแนวทางในการประเมิน จากนั้นก็จะนำผลประเมินทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญมาเปรียบเทียบ หารือ เพื่อให้เกิดฉันทามติ แล้วนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้สอนหรือพัฒนา AI จนได้เทคโนโลยี AI ที่มีความฉลาดและแม่นยำ” ซึ่งกระบวนการดังกล่าว WE Assess ยังได้ร่วมมือกับ อาจารย์ที่ปรึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Start-up ชื่อ Wang จาก CU Innovation Hub เช่นกัน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

             ทั้งนี้ เทคโนโลยี AI ของ WE Assess จะทำหน้าที่วิเคราะห์ทั้งคำตอบ น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ของผู้สมัคร โดยจับเอา Keyword หรือบริบทจากคำตอบของผู้สมัครมาวิเคราะห์กับข้อมูล ที่ AI เคยถูกสอนหรือป้อนข้อมูลเอาไว้โดยผู้เชี่ยวชาญ

             “อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ เราสอนให้ AI รู้จักคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น คนที่วิเคราะห์เก่งจะมีลักษณะแบบไหน คนที่สื่อสารเก่งเป็นอย่างไร คนที่สร้างแรงบันดาลใจเก่ง เขาทำอย่างไร ก็จะมีตัวอย่างของพฤติกรรมหลากหลายในการสอน AI ให้เรียนรู้ จนสามารถทำการวิเคราะห์ประเมินผู้สมัครงานได้ต่อไป ส่วนในเรื่องบุคลิกภาพของผู้สมัคร ก็จะมีส่วนที่เป็นวิดีโอที่เราส่งให้เจ้าหน้าที่บุคลสามารถใช้ประเมินร่วมด้วย แต่ในอนาคต เรามีแผนที่จะพัฒนา  AI ให้สามารถช่วยวิเคราะห์บุคลิกภาพ สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ของผู้สมัครด้วย แต่วันนี้ เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือคำตอบหรือความสามารถของผู้สมัคร เราจึงเน้นพัฒนาในส่วนนี้ให้แม่นยำที่สุดก่อน”

แต้มต่อของ WE Assess

             คุณวีรพล กล่าวถึงคุณค่าของ WE Assess กับงานด้านพัฒนาศักยภาพมนุษย์ว่า “หนึ่ง คือประหยัดเวลาในการทำงานของ HR สอง คือ ได้ข้อมูลเชิงลึก สามารถประเมินความความสามารถต่าง ๆ ของผู้สมัครได้ครบทั้ง 3 ด้าน และสุดท้าย คือการจัดการข้อมูล จากปกติที่มักทำกันแบบ Manual และมีความยุ่งยากซับซ้อน เกิดการตกหล่นของข้อมูลหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ แต่วันนี้เราเอาทุกอย่างขึ้นระบบบน Dashboard เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถติดตามและจัดการข้อมูลต่อได้ง่าย และได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง นี่คือ Value ที่ทาง We Assess มอบให้”

             สำหรับผู้สมัครงาน WE Assess ก็เป็นระบบที่เปิดพื้นที่ให้โอกาสในการนำเสนอตัวเอง รวมถึงช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปสัมภาษณ์งาน

             “บางคนอาจจะเป็นคนที่ทำงานเก่ง แต่เขียนเรซูเมไม่เก่ง บางครั้งจึงอาจถูกตัดสินว่าไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีก็ได้ การนำเสนอตัวเองผ่าน WE Assess ก็จะเป็นช่องทางที่ทำให้ HR ได้เห็นศักยภาพของผู้สมัครจริงๆ อันที่สองคือผู้สมัครสามารถสมัครงานและสัมภาษณ์งานออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ตามความสะดวก”

เสียงตอบรับจากผู้ใช้ WE Assess และแนวโน้มระบบคัดกรองในอนาคต

            ปัจจุบัน หลายองค์กร อย่างเช่น บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท บิซิเนส แอนด์ เทคโนโลยี่ จำกัด กรมควบคุมโรค และองค์กรชั้นนำอีกจำนวนมาก ได้นำ WE Assess ไปใช้ประกอบการคัดกรองผู้สมัครงาน และการประเมินทักษะความสามารถของบุคลากรเพื่อค้นหาจุดแข็งจุดอ่อน และให้ทาง WE Assess จัดการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้บุคลากร

             ไม่เพียงเป็นระบบที่สนับสนุนงานด้านศักยภาพมนุษย์ในองค์กร (HR) แต่ We Assess ยังช่วยตอบโจทย์ด้านการประเมินผลและพัฒนาความสามารถของนิสิตนักศึกษาด้วย

            “มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็นำ WE Assess ไปใช้ประเมินนักศึกษาในการทำกิจกรรม หรือใช้ประเมินนิสิตปี 3-4 ก่อนจะสำเร็จการศึกษาเพื่อนำข้อมูลไปจัดทำเป็น competency transcript ที่บอกได้ทั้งเกรดเฉลี่ย ความสามารถ และความพร้อมของนิสิตในการเข้าสู่โลกของการทำงานจริง”

              WE Assess จึงตอบโจทย์การคัดกรอง ประเมิน และพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ทั้งในองค์กรและระบบการศึกษา ซึ่งในอนาคตระบบนี้จะยิ่งเป็นที่ต้องการมากขึ้นตามแนวโน้มของสังคมโลกที่เน้นวัดผลเชิงสมรรถนะ บริษัท EdVISORY จึงเตรียมขยายตลาดไปยังต่างประเทศ และเปิดระดมทุนอย่างเป็นทางการสำหรับนักลงทุนที่สนใจใน WE Assess   

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ต้องการทดลองใช้ระบบ หรือร่วมลงทุนใน WE Assess

ติดต่อ Email: weerapol@edvisory.co.th

Facebook: EdVISORY.co.th ( https://www.facebook.com/edvisory.co.th/ )

Website: https://edvisory.co.th หรือ https://weassess.ai

Share1Tweet1Share
Previous Post

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “DeepGI” AI ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบแม่นยำ

Next Post

SCGC เปิดตัวนวัตกรรม “สารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ” ตอบโจทย์ตลาดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

11 months ago
23
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”
Innovation

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

1 year ago
30
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

1 year ago
12
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

1 year ago
22
Load More
Next Post
SCGC เปิดตัวนวัตกรรม “สารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ” ตอบโจทย์ตลาดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

SCGC เปิดตัวนวัตกรรม “สารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ” ตอบโจทย์ตลาดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

นวัตกรรม “ตรวจมะเร็งปอดด้วย AI” รู้ผลภายใน 3 นาที ตรวจฟรีที่เซ็นทรัลเวิลด์ 21-24 เม.ย.นี้

นวัตกรรม “ตรวจมะเร็งปอดด้วย AI” รู้ผลภายใน 3 นาที ตรวจฟรีที่เซ็นทรัลเวิลด์ 21-24 เม.ย.นี้

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.