mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

0

              ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งทอ โดยเฉพาะเส้นใยจากวัสดุทางธรรมชาติ และการพัฒนาเส้นใยจากผลผลิตทางการเกษตร และขยะเหลือใช้จากการเกษตร โดยเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า และการสร้างโอกาสใหม่ตามแนวทางทฤษฎีของการนำของเหลือใช้กลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ลดจำนวนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้เกิดแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

               อาจารย์นภท์ชนก ขวัญสง่า อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากการพัฒนาเส้นใยดาหลา โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ว่า ดาหลาเป็นพืชที่สร้างรายได้ส่วนหนึ่งให้เกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่นิยมนำมาปลูก เพื่อจำหน่ายดอก และปลูกพืชแซมในแปลงพืชหลัก โดยดาหลายังเป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ การบำรุงดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก รวมถึงใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ

              สำหรับเหตุผลที่เลือกนำต้นดาหลามาใช้แปรรูปเป็นเส้นใย เนื่องจากเกษตรกรจะตัดต้นดาหลาทิ้งหลังจากที่ตัดดอกนำจำหน่ายแล้ว เพื่อให้ดาหลาแตกหน่อใหม่ต่อไป โดยจะตัดต้นดาหลาต้นเก่าทิ้งทุกสัปดาห์ และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ หลังจากตัดแล้วจะนำต้นดาหลาตัดเป็นท่อนวางทิ้งไว้ให้แห้ง เพื่อรอเผาทำลาย ซึ่งใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่ต้นดาหลาจะแห้งจนสามารถเผาทำลายได้ ต้นดาหลาจึงกลายเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

              โดยจากการวิเคราะห์และทดลองสกัดเส้นใย เพื่อนำไปทำเส้นด้ายในการทอและเป็นการเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้เกษตรกร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ผลจากการทดลองสกัดกัดเส้นใยพบว่า ส่วนของลำต้นดาหลา รวมถึงก้าน ดอก ใบ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรจะทิ้งไว้ในแปลงไม่ได้ใช้ประโยชน์หลังจากตัดดอกจำหน่าย ผู้วิจัยถึงได้ทดลองสกัดเส้นใยจากส่วนของลำต้น รวมถึงใบและก้านดอกของดาหลาผลปรากฏว่าสามารถนำมาสกัดเป็นเส้นใยได้ทุกส่วน แต่ส่วนของใบและก้านดอก จะได้น้ำหนักเส้นใยแห้งน้อย เมื่อเทียบกับส่วนลำต้น ที่มีน้ำหนักมากที่สุด สามารถนำมาสกัดเป็นเส้นใยแห้งได้น้ำหนักมากกว่าส่วนอื่นๆ

             สำหรับเส้นใยดาหลาจากลำต้นที่ผ่านกระบวนการนวด และการตากแห้งเส้นใยแล้ว จะนำเส้นใยที่ได้เข้าสู่ระบบตีเกลียว ด้วยระบบปั่นด้านเส้นใยสั้น ด้วยเทคนิคเสมือนการปั่นด้ายด้วยมือ โดยใช้เส้นใยฝ้ายเป็นตัวนำ เพื่อให้เส้นใยดาหลาสามารถเกาะผสานได้ดี ทำให้เส้นด้ายที่ได้มีลักษณะเป็นเส้นด้ายผสม หรือในปัจจุบันอาจเรียกว่าเส้นด้ายเทคนิค หรือเส้นด้ายทางเลือก โดยมีอัตราส่วน ฝ้าย 85 % ดาหลา 15% ซึ่งเส้นใยที่สกัดเป็นเส้นด้ายนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการทอผ้า แต่ยังคงคุณลักษณะบางประการที่ต้องดำเนินการทดลองสกัดเส้นใยให้ได้คุณภาพและขนาดเล็กเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ต่อไป

             ขณะที่สีน้ำจากดอกดาหลาเมื่อนำมาผสมสารขั้นต้นต่างๆ ที่ใช้ในการย้อมสีธรรมชาติจะทำให้สีเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีผลการติดสี โดยจะต้องมีการทดสอบสีหาค่าความเป็นกรด-ด่างด้วยกระดาษลิตมัส ให้ค่าอย่างน้อยอยู่ระดับ 4 จึงจะมีคุณสมบัติในการย้อมสีได้ สารขั้นต้นได้แก่ สารส้ม กรดผลไม้ เกลือ โดยจากการวิเคราะห์สีย้อมจาการผสมสารขั้นต้น สีจากดอกดาหลาที่ผสมสารขั้นต้น และให้คุณสมบัติในการย้อมได้ดี คือสีที่ผสมด้วยสารส้ม เนื่องจากให้สีที่สดและเข้ม ค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ในระดับ 4 แล้วนำเส้นด้ายดาหลาและไหมย้อมลงไปในหม้อน้ำสี จุ่มขึ้นลง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง

            หลังจากนั้นนำไหมและเส้นด้านดาหลาที่ย้อมไปแช่ในน้ำสารส้ม 30 นาที อีกครั้ง อัตราส่วนน้ำ 3 ลิตรต่อ สารส้ม 200 กรัม เพื่อคงสีที่ย้อมไว้ไม่ให้ตก แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดและตากในที่ร่ม เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการทอผ้าต่อไป ซึ่งผลจากการย้อมสีจากดอกดาหลาสามารถย้อมด้ายดาหลาและไหมได้ แต่การย้อมไหมจะดูดซึมสีได้ดีกว่าฝ้าย ซึ่งเมื่อย้อมด้ายดาหลา เมื่อแห้งสีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนไหมจะยังคงสีชมพูของดอกดาหลา ส่วนเส้นใยที่เหลือนำ จะนำมาแปรรูปเป็นกระดาษสา และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร อาทิเช่น กากดอกดาหลากวน น้ำพริกแห้งดาหลาได้อีกด้วย

              อาจารย์นภท์ชนก กล่าวด้วยว่า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าและรองเท้า และผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยในงานวิจัยครั้งนี้มีผลิตภัณฑ์พิเศษ 2 รูปแบบ คือ 1. เบาะรองนั่งที่วัสดุหลักคือผ้าดาหลาทอยกดอก ที่พัฒนาเป็นเส้นด้ายดาหลา และลายยกดอกเป็นลายจากดอกดาหลา และใช้เศษเหลือของยางพารา มาทำไส้เบาะรองนั่ง 2.รองเท้า ที่วัสดุหลักคือผ้าดาหลาทอยกดอก และส้นรองเท้าจากไม้ตาลโตนด, เก้าอี้ จากไม้ตาลโตนด พนักพิงบุด้วยผ้าดาหลาทอยกดอก, โคมไฟ จากไม้ตาลโตนด ตัวโคมบุด้วยผ้าดาหลาทอยกดอก ทั้งนี้เพื่อใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น หรือวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นให้คุ้มค่าตามแนวคิด ทฤษฎีการสร้างมูลค่าให้เศษวัสดุ และการใช้วัสดุให้คุ้มค่าตามทฤษฎีที่การใช้ขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) อีกทั้งยังทำให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางทฤษฎีการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

             ทั้งนี้ ในอนาคต ทางทีมวิจัยจะนำพืชชนิดอื่นๆ มาพัฒนาเพิ่มเติม โดยนำหลักแนวคิดของเสียเหลือศูนย์หรือ Zero waste เป็นปรัชญาที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือที่สุด สำหรับประชาชนที่สนใจผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อมาได้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ShareTweetShare
Previous Post

มอ. ชู 5 นวัตกรรมบริหารจัดการธนาคารเลือด เพิ่มศักยภาพการส่งต่อเลือดไปยังผู้ป่วย

Next Post

นวัตกรรม “อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก” ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

10 months ago
80
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
48
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

10 months ago
85
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

10 months ago
138
Load More
Next Post
นวัตกรรม “อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก” ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

นวัตกรรม "อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก" ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

หมดปัญหาน้ำมะนาวราคาแพง ! “มะนีมะนาว” นวัตกรรมน้ำมะนาวแช่แข็งเกรดพรีเมียม

หมดปัญหาน้ำมะนาวราคาแพง ! “มะนีมะนาว” นวัตกรรมน้ำมะนาวแช่แข็งเกรดพรีเมียม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.