mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก” ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

นวัตกรรม “อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก” ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

0

             “Design Thinking” หรือ “การคิดเชิงออกแบบ” เป็นศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมๆ กับความเจริญทางอุตสาหกรรมในโลกยุคใหม่ พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดย John E. Arnold ศาสตราจารย์ทางวิศวกรรมเครื่องกล และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างนวัตกรรมที่ใช้กันทั่วโลก

               จากโจทย์ที่มาจากความคิดที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนทางกิจกรรมบำบัด สู่การพัฒนาขึ้นเป็น “นวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก” ขึ้นใช้เองของมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ นับเป็นตัวอย่างของ Design Thinking ที่มุ่งคิดเพื่อการออกแบบสำหรับคุณภาพชีวิตในวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ซึ่งไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ทางการศึกษาแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และต่อยอดอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศชาติได้ต่อไปอีกด้วย

             “นวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก” เป็นผลงานการสร้างสรรค์ร่วมกันแบบ multidisciplinary หรือบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่าง 2 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมนุษย์ คณะกายภาพบำบัด และศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบผลิตภัณฑ์ ก่อนยื่นขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และขอยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ก่อนเข้าสู่เชิงพาณิชย์ เตรียมส่งออกนำรายได้เข้าประเทศต่อไป

              โดยแนวคิดสร้างสรรค์และพัฒนา “นวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก” เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน จากการระดมสมองของสุดยอดวิชาการทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ด้วยโจทย์ที่ต้องการสร้างสรรค์อุปกรณ์ทางการแพทย์จากเทอร์โมพลาสติก ซึ่งสามารถจัดรูปได้ตามความต้องการ และสามารถใช้ได้กับร่างกายของผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในส่วนต่างๆ อาทิ มือ เท้า และหลัง เป็นต้น

              ซึ่ง “นวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก” นี้เตรียมขึ้นจากพอลิเมอร์คอมพาวด์จากเทอร์โมพลาสติกที่คิดค้นขึ้นโดย RTEC รับโจทย์วิจัยจาก คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ไปพัฒนาอุปกรณ์ดาม (Splint) ให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับการใช้งาน กล่าวคือ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิร้อนจะสามารถอ่อนตัว และปรับรูปได้ตามความต้องการ เมื่อให้อุณหภูมิประมาณ 60 – 70 องศาเซลเซียส

              โดยในเบื้องต้นได้มีการส่งผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของวัสดุ (Biocompatibility) ได้แก่ การทดสอบเพื่อประเมินการแพ้ทางผิวหนัง (Sensitization Test) การทดสอบการระคายเคืองทางผิวหนัง (Irritation Test) ที่ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity) ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และก้าวต่อไปจะเพิ่มส่วนผสมจากยางพาราของไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไปอีกด้วย

             รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ริเริ่มและที่ปรึกษาโครงการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก กล่าวว่า นวัตกรรมดังกล่าวเริ่มต้นจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างนวัตกรที่เป็นทีมคณาจารย์ทางกายภาพบำบัด และคณาจารย์ทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งจะได้เป็นต้นแบบขยายผลสู่การสร้างนวัตกรที่มาจากนักศึกษาได้ต่อไป

             ประโยชน์ในทางกายภาพบำบัดจะเป็นการเสริมทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ใกล้เคียงกับปกติที่สุด ในขณะที่ในทางกิจกรรมบำบัด จะใช้เพื่อส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน หรือการประกอบอาชีพ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

             ซึ่งผู้ป่วยที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดังกล่าว ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ตลอดจนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเกร็งมือเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือข้อเท้าตก เวลาใส่อุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยจัดรูปข้อเท้าทำให้สามารถเดินได้ดีขึ้น

             “เราพยายามสร้างให้อาจารย์เป็นต้นแบบของนวัตกร แล้วดึงนักศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยการสร้าง mindset ในการเป็นนวัตกรให้กับนักศึกษา อีกทั้งได้พยายามให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำ senior project หรือการทำสารนิพนธ์ก่อนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ไปจนถึงบ่มเพาะสู่การทำสตาร์ทอัพภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ 9 ที่ว่าด้วยอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) แห่งสหประชาชาติอีกด้วย” รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กภ. คมศักดิ์ สินสุรินทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล และหัวหน้าโครงการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ดาม (Splint) เทอร์โมพลาสติก คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า ในแต่ละปีพบว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่แต่ละแห่งในประเทศไทยต้องใช้งบประมาณในการสั่งซื้ออุปกรณ์ดาม (Splint) จากเทอร์โมพลาสติกเป็นจำนวนมาก และในส่วนของการเรียนการสอนกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดในแต่ละปีก็ต้องใช้งบประมาณเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าวเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อโครงการฯ ได้ดำเนินการถึงปลายน้ำ หรือเข้าสู่เชิงพาณิชย์แล้ว จะสามารถทำให้ราคาของอุปกรณ์ดาม (Splint) จากเทอร์โมพลาสติก จากราคาต่อแผ่นประมาณ 7,500 บาท เหลือเพียงประมาณ 2,000 บาท หรือลดลงได้ถึงประมาณร้อยละ 73 เลยทีเดียว

             ดร.ชาคริต สิริสิงห หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า นับเป็นนิมิตหมายอันดีของวงการอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ทั้งด้านยางและพลาสติกที่จะได้สร้างสรรค์และพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ทางศูนย์วิจัยฯ กำลังดำเนินการวิจัยในเรื่องการนำยางธรรมชาติมาใช้ผลิตวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางธรรมชาติเป็นอย่างมาก อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจากยางพาราของไทยในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมายางธรรมชาติมีข้อจำกัดในเรื่องการแพ้โปรตีนในน้ำยางธรรมชาติของผู้ใช้งาน แต่ต่อไปงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยฯ กำลังดำเนินการนี้จะทำให้ข้อจำกัดของการใช้งานยางธรรมชาติลดลง และส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติได้ ซึ่งเป็น Design Thinking ที่คิดขึ้นจากโจทย์ของผู้ใช้อย่างแท้จริง

             ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

Next Post

หมดปัญหาน้ำมะนาวราคาแพง ! “มะนีมะนาว” นวัตกรรมน้ำมะนาวแช่แข็งเกรดพรีเมียม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
หมดปัญหาน้ำมะนาวราคาแพง ! “มะนีมะนาว” นวัตกรรมน้ำมะนาวแช่แข็งเกรดพรีเมียม

หมดปัญหาน้ำมะนาวราคาแพง ! “มะนีมะนาว” นวัตกรรมน้ำมะนาวแช่แข็งเกรดพรีเมียม

เด็กเทคนิคแม่สอด คิดค้น “Home Care” ระบบติดตามช่วยเหลือประเมินผู้ป่วยโควิดแบบรักษาที่บ้าน

เด็กเทคนิคแม่สอด คิดค้น “Home Care” ระบบติดตามช่วยเหลือประเมินผู้ป่วยโควิดแบบรักษาที่บ้าน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.