mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มอ. ชู 5 นวัตกรรมบริหารจัดการธนาคารเลือด เพิ่มศักยภาพการส่งต่อเลือดไปยังผู้ป่วย

มอ. ชู 5 นวัตกรรมบริหารจัดการธนาคารเลือด เพิ่มศักยภาพการส่งต่อเลือดไปยังผู้ป่วย

0

              ผศ.นพ.คณุตม์ จารุธรรมโสภณ หัวหน้าหน่วยคลังเลือด และเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “หน่วยงานธนาคารเลือดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของสาขาวิชาพยาธิวิทยา รพ.สงขลานครินทร์ โดยมีหน้าที่รับบริจาคเลือดทั้งจากในและนอกโรงพยาบาล นำมาเตรียมส่วนประกอบเลือดชนิดต่างๆ โดยทำการตรวจคัดกรอง และทดสอบความเข้ากันได้กับผู้ป่วย ตามมาตรฐานของสภากาชาดไทย เพื่อให้แพทย์สามารถใช้ในการรักษาคนไข้ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด

             ซึ่งปัจจุบันด้วยปริมาณคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการใช้บริการของงานธนาคารเลือดเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้เกิดปัญหาในการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์เลือด ที่อาจเกิดความล่าช้าในการเตรียมหรือจัดการงานที่มีปริมาณมาก อาจส่งผลต่อคุณภาพในการนำเลือดไปใช้

             นอกจากนี้ ยังมีการเกิดภาวะขาดแคลนเลือดในการรับบริจาค หรือไม่สามารถหาเลือดชนิดที่หายากมาให้ได้ ซึ่งปัญหาทั้งหมดส่งผลต่อการรักษาของผู้ป่วย ทำให้ต้องรอเลือดเป็นเวลานาน หรือในบางกรณีอาจเกิดภาวะเลือดล้น ทำให้ไม่สามารถใช้เลือดได้ทันวันหมดอายุ ทางหน่วยงานจึงได้พยายามใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ และพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์เลือดและจัดการสต็อค ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาเลือด การคัดกรองเลือดในขั้นตอนการเตรียมเลือด และขั้นตอนการนำเลือดไปใช้กับผู้ป่วย โดยมีการใช้นวัตกรรมดังนี้

  1. โปรแกรมเก็บข้อมูล Minor blood group

  2. ระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ (Total Lab Automation) ในการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อของเลือด ทั้งงานการตรวจภูมิคุ้มกันและแอนติเจนในเลือด (serology) และการตรวจสารพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัส (NAT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพ และความปลอดภัยในการเตรียมเลือด พร้อมทั้งลดภาระงานของเจ้าหน้าที่

  3. กระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะ เพื่อการควบคุณคุณภาพของผลิตภัณฑ์เลือดขณะขนส่ง ให้สอดคล้องตามข้อกำหนดในระบบคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วย

  4. การทำนายการใช้เกล็ดเลือดโดย Machine Learning

  5. การจัดการสต็อค โดยระบบ AI

            คุณวรากร เพชรเกลี้ยง หัวหน้างานคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “สำหรับนวัตกรรมต่างๆ ที่กล่าวถึงนั้นจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ มีดังนี้ โปรแกรมเก็บข้อมูล Minor blood group ระบบหมู่เลือดรอง คือหมู่เลือดที่นอกเหนือจากระบบ ABO หมู่เลือดที่สำคัญและรู้จักกันดี เช่น หมู่เลือด Rh Kidd Duffy และ Mia ซึ่งพบได้บ่อยในคนไทย

            ปกติโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจหมู่เลือดรอง เพราะต้องใช้น้ำยาพิเศษ บางชนิดแพงมากและเพิ่มขั้นตอนการทำงาน หากเราทราบหมู่เลือดของผู้บริจาคของเรา จะทำให้ช่วยลดเวลาในการหาเลือดให้ผู้ป่วย เพิ่มโอกาสให้รับเลือดได้เร็วขึ้น ซึ่งเดิมหลายโรงพยาบาลต้องขอจากสภากาชาดไทย

             สำหรับหน่วยคลังเลือด รพ.สงขลานครินทร์ มีการตรวจหมู่เลือดรองที่สำคัญให้กับผู้บริจาคประจำตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไป โดยเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้บริจาคมาบริจาคในครั้งถัดไป สามารถทราบหมู่เลือดรองได้ทันที ทำให้มีเลือดเพียงพอ เตรียมเลือดให้ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลได้

             ระบบสืบค้นหมู่เลือดรองที่ทางหน่วยจัดทำขึ้นสามารถแบ่งปันให้โรงพยาบาลอื่นมาใช้แพลตฟอร์มเดียวกันได้ เพื่อใช้สืบค้นหมู่เลือดรองของผู้บริจาค โดยที่ไม่ต้องตรวจซ้ำ และสามารถเข้ามาร่วมแชร์ข้อมูลของผู้บริจาคในหน่วยงานของเลือด ลดระยะเวลาการรอคอยในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับหมู่เลือดพิเศษ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย และขั้นตอนในการทดสอบซ้ำได้ โดยแพลตฟอร์มนี้จะมีระบบล็อกอิน สามารถเปิดข้อมูลได้เฉพาะเจ้าหน้าที่คลังเลือดและผู้บริจาครายนั้นเพื่อตรวจสอบข้อมูลตนเอง จึงอยากเชิญชวนหน่วยคลังเลือดอื่นๆ มาร่วมกันแชร์ข้อมูลระบบหมู่เลือดรองในแพลตฟอร์มเดียวกันเพื่อขยายฐานข้อมูลผู้บริจาคในเขต ซึ่งปัจจุบันมีฐานข้อมูลผู้บริจาคอยู่ประมาณ 30,000 ราย และมีโรงพยาบาลข้างเคียงมาร่วมใช้โปรแกรมนี้แล้ว

              ส่วน ระบบ Machine learning เพื่อทำนายการใช้เกล็ดเลือด คลังเลือดมีระบบ Machine learning เพื่อประมวลผลข้อมูลการใช้เกล็ดเลือดในอดีต มาวางแผนและดูแนวโน้มการใช้เกล็ดเลือดของผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากเกล็ดเลือดมีอายุเพียงแค่ 5 วันเท่านั้น ที่ผ่านมาจึงต้องทิ้งเกล็ดเลือดที่หมดอายุเป็นจำนวนมาก

             ระบบ Machine learning จะนำข้อมูลของผู้ป่วยที่จองเกล็ดเลือดมาพิจารณาตาม criteria ของแพทย์ ประวัติการใช้จริงของแต่ละหอผู้ป่วย ผลการตรวจนับเกล็ดเลือดทางห้องปฏิบัติการ มาร่วมประกอบในการพิจารณาว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีโอกา สและความน่าจะเป็นที่จะรับเกล็ดเลือดมากน้อยเพียงใด หากระบบรายงานว่าผู้ป่วยมีโอกาสจะได้รับเกล็ดเลือดมากกว่า 40% ทางหน่วยจะสำรองเกล็ดเลือดให้ ทำให้หน่วยสามารถสำรองเกล็ดเลือดได้เหมาะสมกับการใช้จริง และยังช่วยลดต้นทุนจากการทิ้งลงได้กว่าครึ่ง

              ส่วน นวัตกรรมกระติกขนส่งเลือดอัจฉริยะ ตัวช่วยสำคัญที่มาควบคุมการขนส่งโลหิต สืบเนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิที่มีขายอยู่ในตลาด ไม่ตอบโจทย์การควบคุมคุณภาพตามที่หน่วยงานต้องการ เราจึงพัฒนาขึ้นมาเอง โดยกระติกนอกจากจะควบคุมอุณภูมิได้แล้ว ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลังโดยแสดงเป็นกราฟ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาได้ง่ายว่าอุณหภูมิอยู่ในช่วงที่กำหนดหรือไม่ และพิจารณารับโลหิตที่ขนส่งอยู่ในอุณหภูมิที่กำหนดเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการรับโลหิตที่เก็บในอุณหภูมิไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Wi-Fi ทำให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสามารถติดตาม และตรวจสอบสถานะของกระติกทั้งหมดได้พร้อมกัน

              ตัวกระติกถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน และดูแลรักษาง่าย โดยแบตเตอรี่สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 14-20 วัน ต่อการชาร์ต 1 ครั้ง อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้กับการขนส่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกเหนือจากโลหิต เช่น ยา และวัคซีน ซึ่งสามารถควบคุมอุณภูมิได้ตั้งแต่ -18 ไปจนถึง 105 องศาเซลเซียส โดยสามารถปรับเลือก Mode การทำงานได้ง่ายๆ ตามชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขนส่ง ที่สำคัญคือเมื่ออุณภูมิออกนอกช่วงที่ยอมรับได้ จะมี Alarm ดังขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ขนส่งจะไม่สามารถปิด Alarm ได้เอง เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยก็จะทราบว่าต้องปฏิเสธโลหิตนั้น ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับโลหิตที่มีคุณภาพเท่านั้น” คุณวรากร กล่าว

              ด้านคุณเปรมจิต ทั่งตระกูล นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “ในส่วนของระบบสนับสนุน Inventory (จำนวนของโลหิตคงคลัง) เป็นการใช้ระบบ AI มาช่วยวางแผน โดยติดตามจำนวนของโลหิตคงคลังแบบ Real time และพิจารณาว่าจะพอใช้ได้กี่วัน โดยจัดเป็น 3 ระดับ คือ 1. Normal 2. Observe 3. Critical โดยคำนวณจากอัตราการใช้เลือดเฉลี่ย และอัตราเฉลี่ยของการบริจาคโลหิตแบบ real-time

               ระบบ AI นี้มีชื่อว่า “โภชชงค์” ซึ่งคิดค้นโดย คุณวรากร เพชรเกลี้ยง  มีประโยชน์คือทำให้หน่วยสามารถเตรียมการล่วงหน้าได้ โดยมีเวลาเตรียมการก่อนเข้าสู่ภาวะขาดแคลนเลือด หรือมีเลือดมากเกินความต้องการ เนื่องจากเลือดแต่ละถุงมีอายุที่จำกัด ในกรณีที่ทราบว่าไม่สามารถใช้ได้ทัน ก็จะติดต่อไปยังคลังเลือดของโรงพยาบาลต่างๆใกล้เคียงเพื่อแบ่งเลือดไปให้ได้ตั้งแต่ช่วงแรก ไม่จำเป็นต้องรอจนกระทั่งใกล้หมดอายุ เนื่องจากข้อมูลจากระบบทำให้เราทราบล่วงหน้า ส่งผลให้การบริหารจัดการมีความยืดหยุ่นสูง มีประสิทธิภาพในการจัดการ Cost โดยสามารถลดต้นทุนจากการทิ้งเลือดหมดอายุได้ถึง 50% และยังเพิ่มความปลอดภัย ช่วยให้หน่วยงานสามารถเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ ทั้งเหตุที่อาจเกิดขึ้นฉุกเฉิน

             ทั้งยังบริหารความพึงพอใจของผู้รับบริการ คือไม่ปฏิเสธผู้ที่ตั้งใจมาบริจาค และเป็นประโยชน์กับ รพ ข้างเคียง ด้วยระบบ AI นี้ เราได้ตั้งชื่อโครงการว่า “เรื่องของเลือด ขาดเหลือ ต้องเกื้อกูล” ซึ่งได้รับรางวัลถึง 2 รางวัลคือ ได้เหรียญทองแดง จาก Thailand Kaizen award ปี 2563 และรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับเหรียญทอง จากงานเวทีคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และยังได้ไปนำเสนอในงานประชุม Thailand Quality Conference ปี 2564” อีกด้วย

             ด้าน ทนพญ. สุวิมล บุญทองขาว นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการ หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “สำหรับ ระบบห้องปฏิบัติการอัตโนมัติ หรือ Total lab automation ทางหน่วยงานได้มองเห็นปัญหาภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จำนวนบุคลากรมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้กระทบกับประสิทธิภาพของขั้นตอนการเตรียมผลิตภัณฑ์เลือด จึงได้นำ LEAN concept มาช่วยแก้ปัญหาในการลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน

             โดยได้ติดตั้งระบบ Total lab automation ที่รวมงานตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อของโลหิตตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง  และการแบ่งสิ่งส่งตรวจ (Aliquot) เพื่อการตรวจสอบภายหลัง ด้วยเครื่องเตรียมตัวอย่าง และเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องตรวจวิเคราะห์ทั้งการตรวจภูมิคุ้มกันและแอนติเจนในเลือด (serology) และการตรวจสารพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัส (NAT) เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว รวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบ LIS ของโรงพยาบาล เพื่อลดการทำงานแบบ manual และ human error ทำให้ห้องปฏิบัติการสามารถใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

              จากเดิมการตรวจคัดกรองเลือดเคยใช้เจ้าหน้าที่ 2 คน สามารถลดเหลือ 1 คน ทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยลดการสัมผัสกับสิ่งส่งตรวจ อีกทั้งการทำงานด้วย automation จะช่วยบันทึกการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อประโยชน์ในการทวนสอบ และปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ตาม LEAN concept

               โดยระบบจะเริ่มการทำงานหลังจากที่เจ้าหน้าที่เตรียมเครื่องตรวจวิเคราะห์ให้พร้อม และทดสอบสารควบคุมคุณภาพ (QC) จากนั้นก็บรรจุหลอดสิ่งส่งตรวจเข้าระบบราง ระบบจะช่วยหมุนหลอดเลือดเพื่ออ่าน barcode เองโดยอัตโนมัติ ทำการตรวจสอบความถูกต้องของชนิดหลอดเลือด หากพบหลอดเลือดที่บรรจุมาในหลอดเลือดผิดชนิด หรือติดฉลากหลอดเลือดผิดชนิด เครื่องจะทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจให้เองโดยอัตโนมัติ จากนั้นหลอดเลือดจะถูกนำไปปั่นแยก เปิดฝาหลอด และคัดแยกชนิดการตรวจวิเคราะห์ก่อนจะนำส่งเข้าสู่เครื่อง และตรวจวิเคราะห์โดยอัตโนมัติ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นระบบปิด ทำให้เจ้าหน้าที่ลดการสัมผัสกับสิ่งส่งตรวจ

              ระบบที่ห้องปฏิบัติการเลือกใช้นอกจากจะช่วยลดขั้นตอน manual จากแนวคิด LEAN แล้วยังช่วยเพิ่มคุณภาพของผลตรวจวิเคราะห์จากระบบการทำงานของเครื่องตรวจ เช่น การใช้ tip แบบใช้ครั้งเดียว ในการดูดตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากการรายงานผลผิดพลาดที่เกิดจากปัญหาของสิ่งส่งตรวจที่ติดเชื้อ (sample contaminations)

             ระยะเวลาในการตรวจภูมิคุ้มกันและแอนติเจนในเลือด (serology) 18 นาที และความเร็วของเครื่องตรวจสารพันธุกรรมของตัวเชื้อไวรัส (NAT) ที่สามารถรองรับงานได้ 1,440 ตัวอย่างต่อวัน ทำให้ระยะเวลาในการรายงานผลของห้องปฏิบัติการสั้นลง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้แล้วเสร็จตามเวลา และสามารถแบ่งเวลาไปดูแลงานด้านคุณภาพและอื่นๆได้อย่างเหมาะสม ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานธนาคารเลือดสามารถรองรับงานปริมาณที่มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

             “ด้วยการพัฒนาในด้านต่างๆของหน่วยคลังเลือด นำนวัตกรรมต่างๆมาใช้ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต จนถึงขั้นตอนการจ่ายโลหิต ทำให้ห้องปฏิบัติการลดการจ่ายเลือดผิดคนได้ในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้บริการไว้วางใจ ทั้งยังเป็นกำลังใจที่สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานคลังเลือด ซึ่งเราจะยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ยังมีความพยายามที่จะรักษามาตรฐานและปรับปรุงการให้บริการต่อไป

              ทั้งนี้การพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ในหน่วยคลังเลือด ทางเจ้าหน้าที่สามารถริเริ่ม และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันได้ด้วยแรงสนับสนุนและกำลังใจ จากท่านอาจารย์ นพ.วิระชัย สมัย หัวหน้าสาขาวิชาพยาธิวิทยา และทีมเจ้าหน้าที่ทุกท่านในหน่วยคลังเลือด” หัวหน้าหน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต กล่าวทิ้งท้าย

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ” ยืดหยุ่นสูง ทนแรงปะทะได้ดี

Next Post

มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “เส้นใยดาหลา” แปลงขยะเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นสินค้าแฟชั่น

นวัตกรรม “อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก” ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

นวัตกรรม "อุปกรณ์ดาม(Splint) เทอร์โมพลาสติก" ฝีมือคนไทยด้วยโจทย์จากผู้ใช้

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
98

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.