mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
วช. หนุน มทร.พระนคร “แปรเส้นใยจากใบอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ” พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้ชาวไร่อ้อย

วช. หนุน มทร.พระนคร “แปรเส้นใยจากใบอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ” พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้ชาวไร่อ้อย

0

              การเผาอ้อยหรือใบไม้แห้ง เป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 โดยปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงที่อากาศแล้งและมีปริมาณฝนน้อย เนื่องจากการชะล้างฝุ่นละอองเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชน รวมทั้งส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

              ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการเผาอ้อย เพราะการเผาอ้อยในแต่ละครั้งสร้างมลพิษและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารงานวิจัยของประเทศ จึงสนับสนุนทุนวิจัยโครงการท้าทายไทยเพื่อจัดการความรู้เพื่อใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ประจำปี 2564 แก่โครงการ “การพัฒนากระบวนการแปรสภาพเส้นใยจากใบอ้อย เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิ่งทอตามแนวคิดนิเวศเศรษฐกิจ” โดย ดร.ศรัณย์ จันทร์แก้ว อาจารย์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อให้แก้ปัญหาการเผาอ้อยในพื้นที่ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้แก่เกษตรกร และนำเสนอทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดการเผาอ้อย

             ดร.ศรัณย์ จันทร์แก้ว กล่าวว่า การพัฒนาเส้นใยจากใบอ้อยเพื่องานออกแบบสิ่งทอเป็นการศึกษาเส้นใยผสมจากเส้นใยใบอ้อยและเส้นใยฝ้ายเพื่อสร้างเส้นด้ายสำหรับนำไปใช้ในงานสิ่งทอโดยนำเส้นใยฝ้าย เป็นตัวช่วยในการปั่นเกลียวแบบหัตถกรรมร่วมกับวัตถุดิบหลักคือเส้นใยใบอ้อยหลังแปรสภาพ โดยอาศัยทฤษฎี Triaxial blend ในการกำหนดอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบ จากนั้นนำเส้นด้ายไปทอด้วยกี่มือ ซึ่งผลการทดลองและการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพตาม มาตรฐานอุตสาหกรรมด้านความแข็งแรงของผ้าต่อแรงฉีกขาด ความหนาของผืนผ้าความโค้งงอ ความแข็งแรงของเส้นด้าย และความสามารถในการดูดซึมความชื้น แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเส้นด้ายใยอ้อยเพื่องานสิ่งทอครั้งนี้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตสิ่งทอให้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สามารถนำมาออกแบบและใช้งานได้จริง สร้างความหลากหลาย ของเส้นใยจากธรรมชาติ สำหรับงานสิ่งทอได้เป็นอย่างดีนั่นคือใบอ้อยเป็นพืชที่มีศักยภาพในการ ให้เส้นใยด้วยกระบวนการแบบหัตถกรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผู้ผลิตงานสิ่งทอแบบหัตถกรรมจึงสามารถเรียนรู้กระบวนการจากงานวิจัยครั้งนี้เพื่อพึ่งตนเองในด้าน การผลิตเส้นใยธรรมชาติอันจะส่งผลต่อการพัฒนาสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์สร้างรายได้และความมั่นคงในอาชีพของตนเองได้อย่างยั่งยืน

             ปัจจุบันนักวิจัยได้นำกระบวนการแปรสภาพเส้นใยจากใบอ้อย ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีธรรมชาติเส้นใยจากใบอ้อย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอในรูปแบบใหม่ที่คงเอกลักษณ์โดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ในหมู่บ้านที่มีการทอผ้าและการปลูกอ้อยอยู่แล้วในหลายพื้นที่และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ได้แก่กลุ่มทอผ้า ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 4 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 6 บ้านเนินตะแบก, หมู่ที่ 7 บ้านหนองโกวิทย์, หมู่ที่ 8 บ้านหนองคุ้ม, และหมู่ที่ 12 บ้านสุขสำราญ

            ผลที่ได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรลดการเผาอ้อย และหันมานำใบอ้อยไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอในรูปแบบใหม่ที่คงเอกลักษณ์โดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น นำสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างมีจุดเด่นและมีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีนิเวศเศรษฐกิจ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ได้จากใบอ้อย ได้แก่ เสื้อคลุม หมวก รองเท้า กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ ได้แก่ โคมไฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย 

            สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ Facebook: NATHA เบอร์โทรติดต่อ 093-3955692 และ E-mail sarun.j@rmutp.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

มจพ. ส่งมอบ “นวัตกรรมหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC และหุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV)” แก่ กระทรวงอว. สู้ภัยโควิค

Next Post

สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ นำเกษตรกรใช้ประโยชน์จาก “ปอเทือง” บำรุงดิน มุ่งสู่การเกษตรที่ยั่งยืน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

10 months ago
80
ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

10 months ago
40
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
48
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

10 months ago
38
Load More
Next Post
สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์  นำเกษตรกรใช้ประโยชน์จาก “ปอเทือง” บำรุงดิน มุ่งสู่การเกษตรที่ยั่งยืน

สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ นำเกษตรกรใช้ประโยชน์จาก "ปอเทือง" บำรุงดิน มุ่งสู่การเกษตรที่ยั่งยืน

นวัตกรรม  “nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ” ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด

นวัตกรรม “nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ” ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.