mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม  “nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ” ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด

นวัตกรรม “nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ” ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด

0

             สำหรับวิกฤตโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน การขาดแคลนวัคซีน ประสิทธิภาพการป้องกันการติดต่อของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ รวมไปถึงการกลายพันธ์ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เมื่อพิจารณาจากรูปการณ์แล้ว สถานการณ์เช่นนี้ยังถือว่าอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงและเปราะบางสูง และยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ กลยุทธ์การรับมือข้อหนึ่งที่สำคัญมากและไม่สามารถละเลยได้ คือ มาตรการลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรด่านหน้า หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับบริการจากสถานพยาบาลไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ฟอกเลือด คลอดบุตร หรือประสบอุบัติเหตุ จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับเครือข่ายพัฒนา “nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ” นวัตกรรมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยแนวคิดประกอบง่าย ผลิตได้เร็ว ราคาไม่แพง สู่การใช้งานเป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่สะดวก น้ำหนักเบา และสามารถนำส่วนควบคุมกลับมาใช้ซ้ำได้ เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เอกชน กระจายการผลิตตอบความต้องการใช้งาน

ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ หัวหน้าทีมวิจัยเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค สวทช.

              ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ หัวหน้าทีมวิจัยเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค สวทช. อธิบายหลักการเบื้องต้นว่า nSPHERE เป็นหมวกที่สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาได้ด้วยระบบการกรองประสิทธิภาพสูงร่วมกับการควบคุมความดันภายในหมวกให้สูงหรือต่ำกว่าภายนอกแล้วแต่กรณี เพื่อตัดโอกาสการเล็ดลอดของละอองไอจามซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยที่หมวกแรงดันบวก หรือ nSPHERE(+) เหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือด่านหน้า ความดันภายในหมวกสูงกว่าภายนอก ในทางกลับกันหมวกแรงดันลบหรือ nSPHERE(-) สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการนั้น ความดันภายในหมวกต่ำกว่าภายนอก ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการควบคุมเชื้อในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่นับว่ามีประสิทธิภาพสูงวิธีหนึ่งในปัจจุบัน

               “สาเหตุที่ต้องเป็นหมวกเพราะความจริงแล้วเชื้อที่แพร่กระจายได้อยู่บริเวณศีรษะตั้งแต่คอขึ้นไปกว่า 95% ครับ ที่เหลืออยู่ในเลือดกับอุจจาระ ซึ่งหากเราจัดการกับบริเวณนี้ได้ โดยไม่ต้องขังผู้ติดเชื้อในตู้แคบ ๆ ได้ บางคนยังแข็งแรงเดินไปมาได้ การเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อก็น่าจะสะดวกขึ้นครับ” ดร. ไพศาลกล่าว พร้อมชี้ว่า ที่หลายคนสงสัยว่า ใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาก็น่าจะเพียงพอแล้ว จุดนี้เป็นเรื่องจริงสำหรับพื้นที่เปิดโล่งครับ เพราะเมื่อศึกษาการฟุ้งกระจายของละอองหายใจพบว่า การใส่หน้ากากอนามัยทั่วไป ทำหน้าที่ในลักษณะการเบี่ยงเบนทิศทางการฟุ้งออกไปทางขอบหน้ากากมากกว่าการกรอง โดยเฉพาะเวลาหายใจออก ถ้าคนใส่แว่นจะทราบดีครับ แต่พอเราใส่หน้ากากให้กระชับเพื่อให้เกิดกลไกการกรองที่มีประสิทธิภาพ เช่น n95 เราก็จะหายใจลำบากมาก ดังนั้น ในพื้นที่ปิดที่ต้องอยู่ด้วยกันนาน ๆ เช่น ห้องฟอกเลือด ห้องคลอดบุตร จุดพักรอ หรือ เมื่อผู้ติดเชื้อต้องใช้พื้นที่หรืออุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น จุดนี้ค่อนข้างเสี่ยงมากครับ โดยเฉพาะเมื่อไวรัสกลายพันธุ์สามารถลอยตัวในอากาศ แพร่กระจายได้แม้ไม่สัมผัส หรืออยู่ใกล้ ๆ

            สำหรับหลักการในการพัฒนา nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ นั้น ถือเป็นหลักการง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนมาก นักวิจัยนาโนเทคชี้ว่า ในการออกแบบ เรากำหนดให้อากาศที่เข้าและออกจากหมวกถูกกรองด้วยการดูดอากาศผ่านฟิลเตอร์แต่มีความแตกต่างระหว่าง nSPHERE ลบและบวก คือ แบบลบ เราเน้นให้อากาศขาออกจากหมวกสะอาดที่สุด เพราะผู้สวมใส่มีหรืออาจมีเชื้อ แต่ในทางกลับกัน หมวกแบบบวก เราเน้นให้อากาศขาเข้าสะอาดที่สุดเนื่องจากต้องป้องกันเชื้อแพร่กระจายจากภายนอกสู่ผู้สวมใส่

            “โจทย์นี้หินมาก ๆ ครับ เมื่อเราพยายามพัฒนาให้เป็นอุปกรณ์สวมใส่ส่วนบุคคล โดยเฉพาะกับ nSPHERE(-) ที่เป็นแนวคิดใหม่ สร้างความดันให้เป็นลบ ทำงานตรงกันข้ามกับ PAPR (Powered Air Purifying Respirator) ที่แพทย์มักจะเป็นผู้ใช้ แต่เรามีแนวคิดว่า หากทั้งผู้ติดเชื้อและผู้ดูแลได้ใช้ก็น่าจะมีประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย มาช่วงหลังเราจึงพัฒนาทั้งบวกและลบ เพื่อสร้างกลไกการป้องกันที่แน่นหนา ลดโอกาสแพร่เชื้อได้มากยิ่งขึ้น”

             และเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเลือกใช้ฟิลเตอร์กรองอากาศประสิทธิภาพสูง หรือ HEPA ซึ่งต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานในลักษณะสวมใส่เป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ความยากจึงตกไปอยู่ที่ประสิทธิภาพและราคา ที่จะสะท้อนความคุ้มค่าของ nSPHERE ให้ได้ ดร.ไพศาลและทีมจึงพยายามหา benchmark ในการพัฒนาเชิงความคุ้มค่าครับ เช่น สำหรับ nSPHERE(-) ซึ่งเปรียบเทียบการใช้งานกับการลงทุนสร้างห้องแรงดันลบ ส่วน nSPHERE(+) อาศัยการเทียบค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด PAPR แต่ละครั้งกับการใช้งานหมวกแบบใช้แล้วทิ้ง

‘ใช้แล้วทิ้ง’ ลดความเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อ

             “สาเหตุที่ตอนแรกเราออกแบบหมวกให้ใช้ครั้งเดียวทิ้งก็เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งานหมวกฯ จะไม่กลายเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นการออกแบบจึงให้ทุกส่วนประกอบที่สัมผัสกับละอองหายใจ ไอจาม จะถูกกำหนดให้ทิ้งทั้งหมด นั่นคือเราให้ทิ้งหมวกทั้งใบ ฟิลเตอร์ เซนเซอร์ และพัดลมดูดอากาศในทีเดียวเลย โดยที่ต้นทุนไม่หนักเกินไป ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด PAPR ตามมาตรฐานทั่วไปครับ” ดร.ไพศาลกล่าว พร้อมชี้ว่า ข้อดีของการทิ้งหมวกทั้งใบ คือ ให้ความมั่นใจว่า ฟิลเตอร์ไม่รั่วระหว่างการใช้งาน และไม่เป็นที่สะสมเชื้อไวรัสครับ เพราะตามข้อกำหนดทั่วไปของการใช้ PAPR นั้น ควรจะเป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง มีตั้งแต่ของจีนหลักหมื่นไปจนถึงยี่ห้อดังหลักแสน โดยส่วนใหญ่บุคคลาการทางการแพทย์จึงมักใช้ร่วมกันแต่ใช้วิธีทำความสะอาด ปัญหาจึงตกไปอยู่ที่มาตรการทำความสะอาดว่ารัดกุมมากเพียงพอหรือไม่นั่นเองครับ นอกจากนั้น การเปลี่ยนฟิลเตอร์ PAPR นั้น จริง ๆ แล้วต้องนำไปทดสอบการรั่วก่อนนำไปใช้งานด้วย จุดนี้เองด้วยสถานการณ์แบบนี้จึงไม่น่าจะทำได้ครับ

              อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นแบบได้ถูกนำไปทดลองใช้งานภายใต้สถานการณ์จริง นักวิจัยนาโนเทคเผยว่า คุณหมอและพยาบาลได้เสนอให้เป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคลแบบใช้ซ้ำได้ ทำให้ต้นทุนต่อการใช้งานแต่ละครั้งน้อยลงไปอีก แต่เรากำหนดระยะเวลาใช้งานสะสมต่อหมวกหนึ่งใบไว้ เพื่อไม่ให้ใช้งานในลักษณะถาวร โดยมีชุดทำความสะอาดด้วย UV/Ozone ให้ด้วยในกรณีที่มีการใช้งานจำนวนมาก

นวัตกรรมไทย ใช้ได้จริง

           “หลายคนอาจสงสัยว่า เราใส่เซนเซอร์วัดความดันไว้ทำไม จริง ๆ เป็นเพราะตอนเราทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของหมวกฯ เราพบว่าบรรยากาศภายนอกหมวกมีความดันขึ้นลงตลอดเวลา เราจึงติดเซนเซอร์วัดค่าเอาไว้ แล้วเราก็พบว่าค่าความแตกต่างความดันที่เราอยากได้ ควบคุมได้ลำบาก ในเชิงการออกแบบก็ทำได้ยาก เพราะถ้าความดันในหมวกฯ สูงหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้อึดอัด ไม่สะดวกสบาย เช่น อาจหูอื้อ หรือขาดอากาศหายใจ ดังนั้นเราจึงเสนอแนวคิด ระบบการเตือนเมื่อความดันภายในหมวกไม่เป็นไปตามกำหนด โดยเราให้มีการวัดความดันภายในและภายนอกหมวกเปรียบเทียบกับตลอดเวลาครับ” ดร.ไพศาลกล่าว

            จุดนี้กลายเป็นจุดเด่นของ nSPHERE ทำให้การเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อทำได้จริงในเชิงปฏิบัติ เนื่องจากการเข้าออกจากห้อง การเข้าลิฟต์ หรือ พาหนะโดยสาร มีความแตกต่างความดันอยู่ตลอดเวลา ระบบเดิมจะไม่มีสัญญาณเตือน แต่ nSPHERE ให้ความสำคัญ ณ จุดนี้มากเป็นพิเศษ

             หลายคนกังวลเรื่องของต้นทุน แต่นักวิจัยมองว่า เราประนีประนอมต้นทุนได้ แต่เรื่องความปลอดภัยเราไม่ควรประนีประนอม จุดนี้เองทำให้ทีมวิจัยต้องนึกวิธีการผลิตและเลือกใช้วัสดุราคาประหยัด ซึ่งจริง ๆ ยากมาก แต่เราเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ระยะยาว เนื่องจากหากกระบวนการผลิตหมวกสามารถทำได้ง่าย ลงทุนไม่สูงเกินไป เราก็จะสามารถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ง่าย นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้อย่างทันท่วงที

              ดร.ไพศาลอธิบายว่า โถงหมวกฯ เราเลือกใช้กระดาษเคลือบกันน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้หลักการพับคล้าย Origami สร้างจากกระดาษเพียงแผ่นเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงรอยต่อ เรากำหนดแบบให้ใช้กระดาษขนาดไม่เกิน 60×90 เซนติเมตร ด้วย เพราะอยากให้โรงพิมพ์ทั่วไปสามารถพิมพ์ได้ครับ จุดนี้เราต้องทำการออกแบบสลับกับขึ้นต้นแบบกว่า 50 รอบ กว่าจะได้แบบที่เห็นในปัจจุบัน

            “แค่ความหนากระดาษ ก็ต้องเลือกหลายรอบมากครับ เพราะต้องแข็งแรงพอ แต่ก็ต้องพับง่าย น้ำหนักเบา ดูเหมือนง่ายนะ แต่รายละเอียดเยอะมาก ผ่านการคิดมานับครั้งไม่ถ้วน”

             ความตั้งใจในช่วงแรกของทีมวิจัย ดร.ไพศาลกล่าวว่า จริง ๆ ตอนแรก เราอยากให้ nSPHERE เป็นหมวกที่ใคร ๆ ก็ประกอบขึ้นได้ คล้าย ๆ ประกอบเก้าอี้  IKEA เพราะเราเชื่อว่าคนติดเชื้อจะมีจำนวนมาก อันนี้ตอนแรกเกือบคิดผิดแล้ว ดังนั้น แค่ขั้นตอนการพับขึ้นรูปหมวก เราก็คิดอย่างละเอียดว่า จะทำอย่างไรให้ง่ายที่สุด เมื่อปีที่แล้วเราถึงกับลงพื้นที่โรงเรียนประถม มัธยม มหาวิทยาลัย อสม. ฯลฯ กว่า 10 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อทดสอบว่าดีไซน์เราดีพอสำหรับการประกอบได้เองหรือไม่ เป็นประสบการณ์ที่ในฐานะนักวิจัยจะไม่มีทางลืมเลยครับ เพราะมีอาสาสมัครกว่า 1000 คน มาทดลองพับ และได้ข้อคิดเห็นมาเยอะมาก

             “ในขณะที่ส่วนคอนโทรลเลอร์ เราใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หาได้ง่าย สามารถซื้อส่วนประกอบได้ไม่ยาก ผมขอยกตัวอย่างสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมระหว่างกล่องควบคุมกับตัวหมวก เราเลือกใช้สาย LAN ที่หาได้ทั่วไป และใช้ประโยชน์จากกลไกการล๊อคเข้ากับช่องเสียบ จุดนี้เพื่อป้องกันสายหลุดเมื่อใช้งาน ซึ่งอาจจะมีการขยับตัวหรือพลั้งเผลอไปโดนครับ โดยออกแบบให้คอนโทรลเลอร์ทำงานง่าย ๆ ชาร์จไฟผ่านสาย USB มีไฟบอกสถานะต่าง ๆ เช่น ความดันไม่เป็นไปตามที่กำหนด ระดับแบตเตอรี่ ไฟเตือนแบตเตอรี่ใกล้หมด ที่สำคัญเราออกแบบให้คอนโทรลเลอร์ใช้งานได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง”

              ซึ่งการที่ต้องเป็น 4 ชั่วโมง เพราะนักวิจัยได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ว่าอยากนำไปใช้ในศูนย์ไตเทียม ซึ่งแออัด และมีรายงานพบการติดเชื้อในห้องฟอกเลือด ผู้ป่วยหลายรายมีอาการ แต่ก็จำเป็นต้องให้บริการเนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เป็นสถานการณ์ที่แทบไม่มีทางหลีกเลี่ยงเลยครับ การให้คอนโทรลเลอร์เพียงพอต่อการใช้งานระหว่างฟอกเลือดในแต่ละครั้งจึงจำเป็น ลดความเสี่ยงและต้นทุนลงได้อย่างมาก

ที่มา : nstda

ShareTweetShare
Previous Post

สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ นำเกษตรกรใช้ประโยชน์จาก “ปอเทือง” บำรุงดิน มุ่งสู่การเกษตรที่ยั่งยืน

Next Post

นวัตกรรมสกินแคร์จากทุเรียน “ดูร์เรียนาร์ บาย เอสคิว” ฝีมือคนไทย เดินหน้าโกอินเตอร์บุก “ทีมอลล์”

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
นวัตกรรมสกินแคร์จากทุเรียน  “ดูร์เรียนาร์ บาย เอสคิว” ฝีมือคนไทย เดินหน้าโกอินเตอร์บุก “ทีมอลล์”

นวัตกรรมสกินแคร์จากทุเรียน “ดูร์เรียนาร์ บาย เอสคิว” ฝีมือคนไทย เดินหน้าโกอินเตอร์บุก “ทีมอลล์”

“นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อรองรับการปลูกกัญชง-กัญชา คุณภาพระดับเมดิคอลเกรด

“นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อรองรับการปลูกกัญชง-กัญชา คุณภาพระดับเมดิคอลเกรด

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.