mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

0

         ฟาร์มโคนมในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 95 นิยมเลี้ยงโคนมแบบ ‘ผูกยืนโรง’ โดยแม่โคแต่ละตัวจะถูกผูกให้ยืนอยู่ในซองภายในโรงเรือนเนื่องด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ขณะที่พื้นคอกส่วนใหญ่เป็นพื้นปูนซีเมนต์ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลทำความสะอาด หากแต่การเลี้ยงโคนมบนพื้นปูนมักก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพโคนม อย่างมาก เนื่องจากโคนมมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยมากกว่า 500 กิโลกรัม แรงกดทับของน้ำหนักตัวต่อพื้นปูนทำให้เกิดการบาดเจ็บ อีกทั้งพื้นปูนเมื่อเวลาโดนน้ำยังลื่นง่าย เสี่ยงต่อการล้ม ทำให้โคนมพิการ และไม่สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างมีคุณภาพ สร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่เกษตรกร

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงพัฒนา “แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์” เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม และลดผลกระทบการปนเปื้อนสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อม

           ดร.ภุชงค์ ทับทอง ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะเทพื้นคอกด้วยปูนซีเมนต์ ข้อดีคือพื้นไม่เละเป็นโคลน เพราะโคนมเวลาอยูในโรงเรือนจะขับถ่ายตลอดเวลา แต่ข้อเสียคือผิวปูนมีความคม ซึ่งแม่โคแต่ละตัวมีน้ำหนักมากกว่าครึ่งตัน เวลายืนนาน ๆ น้ำหนักที่กดทับลงบนพื้นปูน อาจทำให้กีบเท้าอักเสบ หรือเวลาที่โคนมเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ยืน นั่ง หรือนอน จะต้องใช้ขาในการพยุงตัวหรือยันตัวกับพื้นปูน อวัยวะที่กดทับกับพื้นปูนบ่อย ๆ จะเกิดการบาดเจ็บ และเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ส่งผลให้การผลิตน้ำนมไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม

         “อีกปัญหาใหญ่คือ พื้นปูนเวลาฉีดน้ำบ่อย ๆ จะเกิดตะไคร่เกาะพื้นปูน ทำให้ลื่น ซึ่งเวลาโคนมลื่นจะไม่ล้มเอียงตัวไปด้านข้าง แต่จะล้มแบบขาแบะออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ลักษณะเหมือนกบ เวลาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ส่วนใหญ่โคนมจะพิการ เกษตรกรใช้คำว่า ‘หมดสภาพ’ ทางออกสุดท้ายคือส่งเข้า ‘โรงเชือด’ เพราะไม่สามารถผลิตน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกต่อไป ซึ่งโคนมหนึ่งตัวมีราคาประมาณ 50,000-60,000 บาท”

ลักษณะบาดแผลที่ขาของโคนม
ลักษณะการนอนของโคนมที่บาดเจ็บ

          ‘การปูแผ่นยางบนพื้นคอก’ เป็นทางออกหนึ่งที่เกษตรกรนำมาใช้ลดอาการบาดเจ็บของโคนม แต่แผ่นยางที่วางจำหน่ายทั่วไปมีหลายประเภท หากเป็นแผ่นยางที่ได้รับมาตรฐาน มอก. จะมีราคาสูง ขณะที่แผ่นยางที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น แผ่นโฟม แม้จะมีราคาถูกกว่าประมาณ 3-4 เท่า แต่ก็มีอายุการใช้งานสั้นมากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แผ่นยางในท้องตลาดส่วนใหญ่มักใช้ปริมาณสารเคมีในการผลิตค่อนข้างสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาสารเคมีปนเปื้อนระหว่างการเลี้ยง ส่งผลต่อสุขภาพของโคนม รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดแผ่นยางอย่างไม่ถูกวิธีหลังหมดอายุการใช้งาน การวิจัยพัฒนา ‘แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์’ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ลักษณะของแผ่นปูแบบโฟมราคาถูกที่เสื่อมสภาพเมื่อใช้เป็นระยะเวลา 8 เดือน

          ดร.ภุชงค์ กล่าวว่า จุดเด่นของแผ่นปูพื้นที่พัฒนาขึ้นคือ ‘คุณภาพดี ทนทาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ โดยผลิตจากยางพาราธรรมชาติและใช้สารเคมีในปริมาณต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ซิงก์ออกไซด์เกรดพิเศษในการพัฒนาสูตรยาง ทำให้ได้แผ่นปูพื้นที่มีซิงก์ออกไซด์ในปริมาณต่ำกว่าแผ่นปูพื้นที่จำหน่ายทั่วไปค่อนข้างมาก ซึ่งองค์กรป้องกันสิ่งแวดล้อมจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดให้ซิงก์ออกไซด์เป็นสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์ยางและอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ยางมีซิงก์ออกไซด์ (รวมถึงสารเคมีอื่น ๆ) ในปริมาณต่ำ เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว แต่ไม่ได้ถูกนำกลับไปใช้ซ้ำหรือได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ก็จะเป็นการช่วยลดปริมาณสารพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางโดยใช้สารเคมีในปริมาณต่ำแต่ยังคงมีสมบัติผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถือเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย เนื่องจากโดยปรกติการผลิตผลิตภัณฑ์ยางต้องใส่สารเคมีเป็นส่วนผสมเพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการ หากใส่สารเคมีในปริมาณน้อยเกินไปก็มักส่งผลเสียต่อสมบัติของผลิตภัณฑ์ยางนั้น ๆ

         “สำหรับในส่วนของต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่าย พบว่าหากมีบริษัทเอกชนรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและมีการผลิตจำนวนมากเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ สามารถผลิตจำหน่ายในราคาเทียบเท่าหรือต่ำกว่าแผ่นยางพาราเกรดที่ได้รับมาตรฐาน มอก. ทั่วไปได้ เนื่องจากราคาจำหน่ายขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและปริมาณในการผลิตเป็นสำคัญ”

แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์ พัฒนาโดยทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช.

          ปัจจุบันนวัตกรรม ‘แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์’ ผ่านมาตรฐาน มอก. 2584-2556 ซึ่งยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพ และความทนทานต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีการทดสอบภาคสนาม โดยนำไปทดลองที่ อุทุมพรฟาร์ม จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธีระ รักความสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเก็บข้อมูลผลกระทบของการใช้แผ่นยางต่อสุขภาพของโคนม ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแผ่นยางมีความทนทาน ไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพน้ำนม และช่วยลดการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิผล

          “ทีมวิจัยนำแผ่นยางพาราไปทดสอบปูพื้นคอกที่อุทุมพรฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มโคนมขนาดกลาง มีแม่โคประมาณ 40 ตัว และติดตามเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว พบว่าแผ่นยางมีความทนทาน รับน้ำหนักโคนมได้ดี ไม่เกิดการฉีกขาด หรือเสียรูปได้ง่าย ระยะเวลาการใช้งานจากเบื้องต้นประเมินไว้ 2 ปี แต่จากการทดสอบใช้งานจริงพบว่าเกือบ 4 ปีแล้ว ยังมีคุณภาพดี ซึ่งคาดว่าแผ่นยางจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 5 ปีหรือมากกว่า นอกจากนี้ผลการตรวจสุขภาพโคนม ทั้งการตรวจเลือดและร่างกาย พบว่าการปูแผ่นยางพาราช่วยลดอาการบาดเจ็บของโคนมได้ดีมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มโคนมที่ยืนบนปูนซีเมนต์ โดยโคนมไม่มีอาการบาดเจ็บ ไม่พบบาดแผลภายนอก รวมถึงไม่พบปริมาณสารโลหะหนักต่าง ๆ ในเลือดและน้ำนม เกษตรกรกรเจ้าของฟาร์มรู้สึกพอใจต่อผลการใช้งานเป็นอย่างมาก ขณะนี้มีการต่อยอดความร่วมมือกับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จังหวัดสระบุรี เพื่อขยายขอบเขตการทดสอบภาคสนามเพิ่มเติม”

ทีมวิจัยนำแผ่นยางพาราไปทดสอบปูพื้นคอกที่อุทุมพรฟาร์ม

          อย่างไรก็ดีขณะนี้แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับปูพื้นคอกปศุสัตว์ยังไม่มีการผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยอยู่ระหว่างการทดสอบภาคสนามเพิ่มเติมและมองหาผู้ประกอบการที่สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้หากสามารถต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตใช้งานจริง เชื่อว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมโคนมและยางพารา นอกจากนี้ยังนับเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งใช้ประโยชน์และดูแลทรัพยากรอย่างยั่งยืน

          “เวลาลงพื้นที่ฟาร์ม สังเกตเห็นเลยว่าเมื่อโคลงจากพื้นยางมายืนบนพื้นปูน โคจะยืนแบบกลัว ๆ  ขาสั่น สายตาบ่งบอกเลยว่ากลัวลื่น น่าสงสารมาก อีกทั้งการที่โคนมอยู่ในภาวะหวาดกลัว หรือมีบาดแผลจากการกดทับย่อมมีผลต่อคุณภาพการผลิตน้ำนม ยิ่งหากโคนมล้มและพิการ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่คุ้มค่าอย่างมาก ขณะเดียวกันแผ่นยางราคาถูกที่วางจำหน่ายทั่วไป บางชนิดก็มีอายุการใช้งานสั้น บางชนิดก็ตรวจพบการปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำล้าง ดังนั้นการใช้แผ่นยางพาราที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่เพียงเป็นผลดีช่วยลดการบาดเจ็บและพิการให้กับโคนม แต่ยังลดปริมาณสารพิษที่จะส่งผลต่อสุขภาพโคนมและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังช่วยส่งเสริมเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางพาราในประเทศ เพราะแผ่นยางที่ผลิตมีการใช้ยางพาราเป็นองค์ประกอบมากถึง 50%” ดร.ภุชงค์กล่าวทิ้งท้าย

           สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจร่วมทดสอบพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือรับถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถติดต่อได้ที่ ดร.ภุชงค์ ทับทอง ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 74802

ShareTweetShare
Previous Post

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

Next Post

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

7 months ago
30
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

7 months ago
32
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

7 months ago
12
เจียไต๋ โชว์นวัตกรรมเกษตรในงาน Chia Tai Field Day 2023 พร้อมเปิดตัว “แตงโมทรงหมอนลูกดำ” เจ้าแรกของไทย
นวัตกรรมด้านเกษตร

เจียไต๋ โชว์นวัตกรรมเกษตรในงาน Chia Tai Field Day 2023 พร้อมเปิดตัว “แตงโมทรงหมอนลูกดำ” เจ้าแรกของไทย

7 months ago
18
Load More
Next Post
จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
163

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
57

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
30

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
32
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.