mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

0

           นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์ควบคุมการปลูกผัก อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ทางภาคการเกษตรกรรมเป็นการช่วยเหลือชาวเกษตรกร

           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ รักเหลือ หัวหน้าภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เล่าว่า สำหรับโปรเจคสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทุ่นแรง อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ทางภาคการเกษตรกรรมเป็นการช่วยเหลือชาวเกษตรกรทางเลือกในการปลูกพืชควบคุมอุณหภูมิต่ำ สำหรับผลงานแรก ได้แก่ โรงเรือนเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT ผลงานของ นายกิตติภณ บริบูรณ์หิรัญ นายอดิเทพ มงคลสินธุ์ ผลงานที่สอง คือ สมาร์ทฟาร์มแนวตั้งสำหรับปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอท เจ้าของไอเดีย คือ นายชนกชนม์ อุปการณ์ และนายกิตติธัช แสงนวกิจ และผลงานสุดท้ายระบบเซนเซอร์เพื่อควบคุมการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ ผลงานของ นายกฤษณพงศ์ แผนบัว และนางสาวอรพรรณ วิชาพล โดยทั้งสามผลงานเป็นแนวทางให้กับเกษตรกร ตลอดผู้สนใจต่อไป

           โดย นายกิตติภณ บอกว่า แตงกวาญี่ปุ่นเป็นพืชที่ได้รับความนิยมปลูกโดยไม่ใช้ดินเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการสร้างรายได้ จึงมีออกแบบและทำระบบควบคุมโรงเรือนเพาะปลูกเเตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT โดยประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซนเซอร์ DHT22 สำหรับวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นในอากาศ รวมทั้งเซนเซอร์วัดระดับน้ำแบบไร้สัมผัส เพื่อใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบโรงเรือนเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT โดยที่ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเว็ปไซด์ google sheets อีกทั้งสามารถแสดงค่าเวลาจริง (Real time) ผ่านสมาร์ทโฟน

            จากการทดสอบโรงเรือนเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT ที่สร้างขึ้น สามารถควบคุมอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันอยู่ระหว่าง 27-38 องศาเซลเซียส ช่วงเวลากลางคืนระหว่าง 28-36 องศาเซลเซียส และค่าความชื้นกลางวันอยู่ระหว่าง 50-75 % เวลากลางคืนอยู่ระหว่าง 50-95 % และมีค่าความผิดพลาดในการทดสอบเมื่อเทียบกับเครื่องมือมาตรฐาน จากผลการทดสอบแสดงว่าโรงเรือนเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT มีความสามารถในการควบคุมเพื่อให้สภาพแวดล้อมที่ได้มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกแตงกวาญี่ปุ่นได้

           ทางด้าน นายชนกชนม์ บอกว่า แนวคิดในการออกแบบสมาร์ทฟาร์มแนวตั้งสำหรับปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอท เป็นระบบควบคุมในการปลูกพืชที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ โดยเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอทเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิต่ำเพื่อการเจริญเติบโต ประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซนเซอร์DHT22 สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิและค่าความชื้นในอากาศ รวมทั้งเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน เพื่อใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบสมาร์ทฟาร์มแนวตั้ง ระบบสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเว็ปไซด์ Thingspeak  รวมทั้งสามารถแสดงผลการทำงานและควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน

           จากการทดสอบสามารถควบคุมอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันอยู่ระหว่าง 31.1-33.4 °C   ช่วงเวลากลางคืนระหว่าง 27.7-29.2 °C  และยังสามารถควบคุมความชื้นในเวลากลางวันอยู่ระหว่าง 78.9-86.4 %  เวลากลางคืนอยู่ระหว่าง 85.7-91.7% ระบบสามารถแสดงผลค่าความชื้นในดินที่วัดได้จากเซนเซอร์อยู่ในช่วงแรงดัน 1.16-1.30 V และมีค่าความผิดพลาดในการวัดทดสอบเมื่อเทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐานโดยมีค่าเฉลี่ย 8% สมาร์ทฟาร์มแนวตั้งสำหรับปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอท  มีความสามารถในการควบคุมเพื่อให้สภาพแวดล้อมที่ได้มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกเบบี้กรีนคอสและเบบี้แครอท

           เช่นเดียวกับ นางสาวอรพรรณ บอกว่า ออกแบบและสร้างระบบเซนเซอร์เพื่อควบคุมการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ มาช่วยในการตรวจเช็คสภาพแวดล้อมบริเวณการปลูกผักสะระแหน่ กวางตุ้งจีน และการเลี้ยงลูกปลานิล ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Node MCU esp8266 และเซนเซอร์ DHT22 แล้วทำการเก็บข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ผ่าน เทคโนโลยีคลาวด์ของเว็ปไซด์ Thing speak แสดงผลการทำงานและควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ผลที่ได้จากการวัดและทดสอบสามารถแสดงผลผ่านสมาร์ทโฟน แบบเวลาจริง (Realtime) ได้ที่อุณภูมิความชื้นในอากาศอยู่ระหว่าง 25-37 องศาเซลเซียส และยังสามารถควบคุมความชื้นอยู่ระหว่าง 50-90 % อุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 5-40 องศาเซลเซียส และวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำได้ตั้งแต่   0 – 14 pH และมีค่าความผิดพลาดในการวัดทดสอบเมื่อเทียบกับเครื่องมือวัดมาตราฐานโดยมีค่าเฉลี่ย 10% โดยระบบเซนเซอร์เพื่อควบคุมการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ มีความสามารถในการควบคุมเพื่อให้สภาพแวดล้อมที่ได้มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกผักสะระแหน่ กวางตุ้งจีนและการเลี้ยงลูกปลานิล

             อย่างไรก็ตามโครงงานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาต่อยอด โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ โทร 0-2549-3400

ShareTweetShare
Previous Post

เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

Next Post

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

Memo Face Scan: หุ่นยนต์สแกนใบหน้าอัจฉริยะ

Memo Face Scan: หุ่นยนต์สแกนใบหน้าอัจฉริยะ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.