mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

0

            “ชุดระบบหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หันมาสนใจเรื่องทางการแพทย์ ทำให้เปลี่ยนความคิดจากเดิมที่ไม่คิดว่านักเทคโนโลยีจะช่วยทางการแพทย์ได้ แต่หลังจากที่เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนาหุ่นยนต์มดบริรักษ์ มองว่านักเทคโนโลยีก็สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ไปช่วยแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังคมได้” นายวุฒิชัย วิศาลคุณา รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กล่าว

             นายวุฒิชัย กล่าวว่า ตนเองและทีมวิจัยพัฒนาฝ่ายอุตสาหกรรม ร่วมกับนักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มีเป้าหมายที่วางไว้ในระยะยาวในการพัฒนางานวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยทางการแพทย์ โดยมีโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง คือการพัฒนาข้อเข่าเทียมเพื่อช่วยคนพิการขาขาด 1 ข้าง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ฟีโบ้ศึกษาและพัฒนามาระยะหนึ่ง จึงนำมาพัฒนาต่อยอดให้ได้ข้อเข่าเทียมที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้เป็นธรรมชาติสำหรับคนพิการให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีจากฝีมือคนไทย มีราคาเหมาะสมและราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ คนพิการสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงได้

             โครงการข้อเข่าเทียมที่ปรับตัวแปรการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นโครงการที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการเดิม ที่ข้อเข่าเทียมเดิมนั้นยังเป็นลักษณะกึ่งอัตโนมัติ คือ การปรับความหน่วงการเดินยังคงใช้ปุ่มปรับ ทำให้การเดินต้องอาศัยทักษะของผู้ใช้ค่อนข้างมาก ในโครงการต่อยอดนี้จึงต้องการปรับปรุงและพัฒนาข้อเข่าเทียมโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ในการประมวลค่าความหน่วงของข้อเข่าเทียม รวมถึงออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้จริงได้ต่อไป

นายวุฒิชัย วิศาลคุณา

             นายวุฒิชัย กล่าวว่า โครงการนี้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบข้อเข่าเทียม โดยมีโจทย์ว่า ต้องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไม่เทอะทะ มีกลไกการปรับความหน่วงแบบสำเร็จรูปมาใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า เพื่อให้การปรับความหน่วงของข้อเข่าเทียมรวดเร็วขึ้น และนำมาทดสอบในโปรแกรมจำลองวิธีการทำงาน หรือ โปรแกรม Simulation จนกระทั่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลของข้อเข่าเทียม ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

              เนื่องจากจังหวะการเดินระหว่างก้าวเท้าของคนพิการขาขาด 1 ข้าง เมื่อมีการก้าวเดินขาที่อยู่ด้านหลังจะขยับตาม ขณะขยับก้าวเท้ามีค่าความหน่วงต่างกันในแต่ละรอบ การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาเพื่อช่วยในการเรียนรู้พฤติกรรมการเดินของคนพิการ โดยใช้วิธีการจับสัญญาณกล้ามเนื้อของขาข้างที่ยังใช้งานได้ปกติ เช่น คนพิการขาขาดข้างขวา ลักษณะการจับสัญญาณ คือ ถ้าเคลื่อนขาซ้ายไปข้างหน้า จังหวะขาขวาก็กำลังเตรียมขยับต่อ การทำงานของ AI จะได้รับข้อมูลโดยการติดเซ็นเซอร์จับสัญญาณกล้ามเนื้อไว้ที่ขาซ้ายที่เป็นปกติ ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลแบบ input จากนั้น AI ก็จะประมวลผลว่ากล้ามเนื้อขาข้างซ้ายกำลังเดินแล้ว output ของ AI ก็จะไปปรับความหน่วงในแต่ละจังหวะของการเดินของขาขวาที่สวมข้อเท้าเทียมให้ตรงกับข้อมูลการเดินที่พัฒนาไว้ ซึ่งผลงานวิจัยนี้มีความร่วมมือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลตำรวจ

             ขณะนี้อยู่ระหว่างผลิตต้นแบบเพื่อนำมาทดสอบการเดินบนลู่วิ่ง โดยวัสดุที่ใช้ในการทำข้อเข่าเทียมจะเป็นโลหะ ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่มาก สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันแล้วมั่นใจ สวมกางเกงทับและอำพรางได้ไม่เป็นจุดสังเกต และเดินได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยคาดว่าจะเริ่มทำการทดสอบกับระบบซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมจำลองได้ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นี้ ส่วนการนำไปใช้จริงนั้นต้องผ่านการทดสอบอีกหลายขั้นตอนจนมั่นใจ คาดว่าใช้ระยะเวลาเป็นปี

             อาจารย์วุฒิชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ทุกวันนี้ AI เข้ามาอยู่ในทุกแวดวงโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว AI เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้นและดีขึ้น เช่น เครื่องซักผ้าที่สามารถเลือกโปรแกรมซักผ้าที่ดีที่สุดเมื่อเรากดปุ่มทำงาน หรือ Google Maps AI ก็จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดมาให้ผู้ใช้ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า Google Maps ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมการเดินทางของคนทั้งโลก และรถยนต์ขับเคลื่อนได้เอง เป็นต้น”

ที่มา : KMUTT

ShareTweetShare
Previous Post

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

Next Post

Memo Face Scan: หุ่นยนต์สแกนใบหน้าอัจฉริยะ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
Memo Face Scan: หุ่นยนต์สแกนใบหน้าอัจฉริยะ

Memo Face Scan: หุ่นยนต์สแกนใบหน้าอัจฉริยะ

“N Health” ส่งมอบหุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะ แบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ รพ.สนาม

"N Health" ส่งมอบหุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจฉริยะ แบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ รพ.สนาม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.