mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

0

            เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมประกาศความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ช่วยลดวิกฤติโลกร้อน

             เอสซีจี ทีทีซีแอล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) แถลงความร่วมมือในการติดตั้ง “โรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์” ขนาด 2.5 เมกะวัตต์ เพื่อให้บริการด้านผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Private PPA: Private Power Purchase Agreement) โดยนำไฟฟ้าไปใช้ภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและภาคอีสานตอนใต้ ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาล และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแนวคิด ESG  พร้อมกันนี้ ได้ลงนามความร่วมมือ “โครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์” (Solar Energy) เพื่อต่อยอดนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนให้กับประเทศไทย รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทางเลือก เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน และช่วยลดวิกฤติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Emergency

            นายมงคล เฮงโรจนโสภณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เผยว่า “เอสซีจี ได้นำแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs: Sustainable Development Goals) และ ESG (Environmental, Social and Governance) มาใช้ดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามหลักธรรมาภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง การรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Emergency เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่ตอบโจทย์ทั้งด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจี ได้ร่วมกับ บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวิศวกรรม ก่อตั้ง บริษัท สยาม จีเอ็นอี โซล่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ขึ้น เพื่อให้บริการด้านสาธารณูปโภคในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์”

           “บริษัท สยาม จีเอ็นอี โซล่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จะให้บริการติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 2.5 เมกะวัตต์ ในพื้นที่บริเวณบ่อน้ำของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งได้นำนวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร จากเอสซีจี  (SCG Floating Solar Solutions) ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบวิศวกรรมจาก ทีทีซีแอล โดยไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้ จะนำไปใช้ภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและภาคอีสานตอนใต้ ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาล และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2564 และสามารถดำเนินการจ่ายไฟได้ในต้นปี 2565”

            “การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทย และพร้อมส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำอย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย” นายมงคล กล่าวเพิ่มเติม

            รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยว่า “มทส. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทางเลือกและการบริหารจัดการพลังงานภายในมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องของคณาจารย์ รวมไปถึงความร่วมมือกับ บริษัท สยาม จีเอ็นอี โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เอสซีจี และทีทีซีแอลในครั้งนี้ ที่ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ มีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า พัฒนาพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การมีโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขนาดใหญ่ กำลังการผลิตไฟฟ้าถึง 2.5 เมกะวัตต์มีอายุใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี และออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ตอบรับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต มุ่งสู่ Sustainability Green and Clean University และยังเป็นก้าวสำคัญและเป็นโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเอง รวมถึงตอบโจทย์ปัญหาด้านพลังงานสะอาดของประเทศ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำหลักความรู้ทางวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านบริหารจัดการด้านพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป”

           นายมาโกโตะ นาคาโดอิ กรรมการ บริษัท สยาม จีเอ็นอี โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เพื่อส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บริษัทฯ ให้บริการด้านการออกแบบวิศวกรรมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งส่วนควบคุมอุปกรณ์ และระบบต่าง ๆ ด้วยวิศวกรไฟฟ้าที่เชี่ยวชาญ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ และวัสดุคุณภาพตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยความร่วมมือกับเอสซีจี และ มทส. ในครั้งนี้ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับองค์กรและสถาบันที่มีวิสัยทัศน์และการดำเนินงานที่ส่งเสริมพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

           นายพิสันติ์ เอื้อวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม จีเอ็นอี โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ ผู้อำนวยการฝ่าย Emerging Businesses ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวทิ้งท้ายว่า “แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมและองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พลังงานเเสงอาทิตย์มีต้นทุนต่ำลง สามารถผลิตไฟฟ้าในปริมาณมากขึ้น ถือเป็นโอกาสที่ทุกภาคส่วนควรเร่งมือขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว”

ที่มา : SCG

ShareTweetShare
Previous Post

จุฬาฯ วิจัย นวัตกรรมยับยั้งมะเร็ง “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ลำเลียงสารจากถั่งเช่า สำเร็จ !

Next Post

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

10 months ago
138
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

10 months ago
72
น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมด้านพลังงาน

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

10 months ago
48
นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”

11 months ago
96
Load More
Next Post
มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.