mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มหิดล คิดค้นนวัตกรรม “โรงเรียนฉลาดเล่น” เพื่ออนาคตเด็กไทย

มหิดล คิดค้นนวัตกรรม “โรงเรียนฉลาดเล่น” เพื่ออนาคตเด็กไทย

0

              วันที่ 21 เมษายน ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ Friedrich Wilhelm August Froebel บิดาแห่งการศึกษาอนุบาล (21 เมษายน 1782 – 21 มิถุนายน 1852) ผู้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกในประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “kindergarten” ในภาษาเยอรมัน ที่แปลว่า “สวนเด็ก” จากความเชื่อที่ว่า เด็กคือเมล็ดพันธุ์ของดอกไม้ จะเบิกบานสดใส เมื่อได้อยู่ท่ามกลางกลุ่มเพื่อน และได้เรียนรู้จากการเล่น

               รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (IPSR) กล่าวว่า เป็นเวลา 50 ปี ที่สถาบัน IPSR ทำงานวิจัยในประเด็นประชากรและสังคมที่มีผลกระทบเชิงนโยบาย ซึ่งรวมทั้งการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในวัยเด็ก โดยเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา สถาบัน IPSR ได้เป็น 1 ใน 5 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ของมหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยซึ่งตอบสนองประเด็นที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาที่เด็กไทยเคลื่อนไหวกันน้อยลง จึงได้มีการสร้าง “นวัตกรรมในการจัดการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบ” ขึ้น จากการดำเนินโครงการ “โรงเรียนฉลาดเล่น”อย่างต่อเนื่อง และจะได้มีการขยายผลสู่การเป็นต้นแบบเพื่อใช้ใน 27,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปีต่อไป

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา โดยทีมวิจัยของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (IPSR) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ริเริ่มโครงการ “โรงเรียนฉลาดเล่น” ขึ้นจากการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติที่ถือเป็นการลงทุนที่มีคุณค่า และคุ้มค่าที่สุด โดย “โรงเรียนฉลาดเล่น” คือ โรงเรียนที่เด็กๆ จะได้มีความสุขในการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่เคลื่อนไหววันละอย่างน้อยประมาณ 30 นาที สมองจะพร้อมต่อการเรียนรู้

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา กล่าวว่า จากการติดตามพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องใน 5 มิติ ซึ่งมิติที่ 1 คือ การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มิติที่ 2 คือ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม มิติที่ 3 คือ ทักษะการสื่อสาร มิติที่ 4 คือ การคิดอย่างมีเหตุผล และมิติที่ 5 คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา พบว่าเด็กในโครงการ “โรงเรียนฉลาดเล่น” มีพัฒนาการทั้ง 5 มิติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเด็กในโรงเรียนที่ไม่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว

             ซึ่งหลักการของ “โรงเรียนฉลาดเล่น” ไม่ใช่เพียงแค่การให้เด็กได้ออกกำลังกายหน้าเสาธง 5 – 10 นาที แต่เด็กจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดช่วงวันอย่างเหมาะสม และเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play) ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 แบบ แบบแรก คือ “Free Play” ซึ่งเป็นการเล่นสนุกทั่วไปเพื่อการผ่อนคลาย ได้ EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ แบบที่ 2 คือ “Active Play” ซึ่งเป็นการเล่นเสริมทักษะ และแบบที่ 3 คือ “Sports & Exercise” หรือ การออกกำลังกาย โดยการทำให้เด็กได้มีพัฒนาการที่ดีที่สุดนั้น จะต้องมีการจัดสัดส่วนการเล่นในรูปแบบปิรามิดซึ่งมีแบบที่ 1 เป็นฐาน แล้วต่อยอดขึ้นไปด้วยแบบที่ 2 และแบบที่ 3 ตามลำดับ

             ตัวอย่างกิจกรรม “โรงเรียนฉลาดเล่น” เช่น ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ อาจออกแบบให้เป็นการเล่น โดยทำช่องตัวเลขและเครื่องหมาย ให้เด็กได้กระโดดเพื่อที่จะบวก ลบ คูณ หาร ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังทำให้เด็กได้สนุกต่อการเรียนรู้อีกด้วย

              โดย Play เป็นหนึ่งในโมเดล 4P ที่ใช้เป็น platform สำหรับให้โรงเรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งอีก 3P คือ Policy หรือ นโยบาย People หรือ ครูผู้นำกิจกรรม และ Place หรือ สถานที่ เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง 4 จะสามารถข้บเคลื่อนสู่การเป็น “โรงเรียนฉลาดเล่น” ได้อย่างสมบูรณ์

            “นวัตกรรมในการจัดการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบนี้จะเป็น “เรือใบ” ที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าในแนวระนาบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการใช้องค์ความรู้ตามปณิธาน “ปัญญาของแผ่นดิน” ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สร้างขึ้นนี้จะขยายผลสู่ระดับนโยบาย เพื่ออนาคตของเด็กไทยต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

‘ลูกบ้าน’ แอพฯ แก้ปัญหาคนไข้โควิดล้นโรงพยาบาล

Next Post

มหิดล เพิ่มพื้นที่สีเขียว-สร้างพลังงานสะอาด

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
Innovation

สวทช. เร่งปั้นโมเดล NSTDA Core Business ผลิตนวัตกรรมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ

5 months ago
19
เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”
Innovation

เทศบาลนครปฐมนำร่อง “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Smart City”

7 months ago
16
แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
Innovation

แอปพลิเคชัน POLICE PLUS ใช้เทคโนโลยีสู่การแพทย์วิถีใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

7 months ago
8
7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์
Innovation

7 เทคโนโลยี คว้าใจผู้ประกอบการรับต่อยอดเชิงพาณิชย์

7 months ago
17
Load More
Next Post
มหิดล เพิ่มพื้นที่สีเขียว-สร้างพลังงานสะอาด

มหิดล เพิ่มพื้นที่สีเขียว-สร้างพลังงานสะอาด

จุฬาฯ เปิดตัว “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลก” ฝีมือคนไทย

จุฬาฯ เปิดตัว “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลก” ฝีมือคนไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.