mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม WATER FiT Simple กล่องควบคุมการให้น้ำเพื่อการเกษตรแบบไม่ใช้ไฟฟ้า

นวัตกรรม WATER FiT Simple กล่องควบคุมการให้น้ำเพื่อการเกษตรแบบไม่ใช้ไฟฟ้า

0

             ‘น้ำ’ ถือเป็นปัจจัยการผลิตในภาคการเกษตรที่มีความสำคัญมาก ซึ่งการให้น้ำอย่างเหมาะสมไม่เพียงทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ยังส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีอีกด้วย ทั้งยังช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตจากการใช้น้ำที่เกินความจำเป็น

              ปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้พัฒนาเทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก Water Fit Simple ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค สมาร์ท ไลฟ์ แอนด์ อินโนเวชั่น ผู้ให้บริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ (Agriculture System Integrator: ASI) เพื่อทำหน้าที่ส่งต่อเทคโนโลยีให้เกษตรกรใช้บริหารจัดการน้ำในแปลงปลูก เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของตนเองได้ไม่เว้นแม้บนดอยสูง

             คุณนที มูลแก้ว เจ้าของ แอดสะเมิง ออร์แกนิกฟาร์ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เล่าว่า กลุ่มสะเมิงออร์แกนิก เป็นกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ดอยสูง จุดมุ่งหมายแรกคือสร้างงานให้คนพื้นถิ่น มีอาชีพดูแลตัวเองได้ ไม่ทิ้งถิ่นฐาน และมีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการผลิตพืชผักสมุนไพรอินทรีย์ที่มีคุณภาพสร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนในชุมชน สู่เป้าหมายการสร้างอาหารปลอดภัยกระจายให้ผู้คนในพื้นที่อื่นๆ กลุ่มฯ จึงพยายามขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอสะเมิงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบข้อจำกัดมากมาย เช่น การบริหารทรัพยากรน้ำที่มีอย่างจำกัด การเดินทางเข้าไปบริหารจัดการในพื้นที่แปลงปลูก การขนส่งผลผลิตซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่บนดอยสูงมีสภาพเป็นพื้นที่ในหุบเขาหรือพื้นที่ตามเชิงเขาที่มีความลาดชัน อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลจากชุมชน รวมถึงกระแสไฟฟ้า/สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เข้าไม่ถึงพื้นที่แปลงปลูก

            คุณนที เล่าอีกว่า “เราได้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ สวทช.ภาคเหนือ ด้วยโจทย์ที่ต้องการบริหารจัดการน้ำในแปลงปลูก แต่มีข้อจำกัดสำคัญพื้นที่ห่างไกลชุมชน ไม่มีกระแสไฟฟ้าและสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าหน้าที่ สวทช. ภาคเหนือ ริเริ่มจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำการใช้เทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก Water fit Simple ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน และส่งผู้เชี่ยวชาญอิสระมาช่วยประเมินพื้นที่แปลงปลูกพบว่ามีความเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี WATER FiT จึงตัดสินใจนำร่องติดตั้งใช้งาน WATER FiT ในแปลงปลูกพืชผักสมุนไพรอินทรีย์”

             ด้าน คุณกิตติศักดิ์ นามบุญ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค สมาร์ท ไลฟ์ แอนด์ อินโนเวชั่น กล่าวว่า ตอนนี้เราได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากผลงานวิจัย WATER FiT เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กล่องควบคุมการให้น้ำรุ่นพื้นฐาน (WATER FiT Simple) หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระให้กับ ฝ่าย สวทช. ภาคเหนือ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (EST) หน่วยวิจัยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จากการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ สวทช. มากว่า 2 ปี พบว่าเทคโนโลยีนี้ มีคุณสมบัติและจุดเด่นมากมาย เหมาะกับเกษตรกรยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นดอยสูงหรือพื้นที่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลชุมชน ไม่มีไฟฟ้าและอินเตอร์เน็ตเข้าถึง ติดตั้งและใช้งานง่าย ผมจึงอยากจะผลิตและส่งต่องานวิจัยนี้ให้เกษตรกรที่อยากจะเริ่มต้นปรับตัว เข้ากับยุคเกษตร 4.0 ได้ใช้ประโยชน์เพื่อบริหารจัดการน้ำในการเพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางเข้าไปดูแลให้น้ำพื้นที่ปลูกอีกด้วย”

             เทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก Water Fit Simple มีระบบใช้ควบคุมการให้น้ำแปลงปลูกแบบอัตโนมัติ ตั้งค่าเปิดปิดวาล์วน้ำหรือปั้มน้ำตามเวลา โดยผู้ใช้งานตั้งค่าผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ไม่ใช้ไฟฟ้า ใช้เพียงถ่าน 9 โวลต์ 1 ก้อน เป็นแหล่งพลังงาน (โดยถ่านสามารถใช้งานได้สูงสุด 1 ปี)

  • ไม่ต้องใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต กำหนดและปรับตั้งค่าได้ง่ายบนแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (ระบบแอนดรอยด์) ผ่านสัญญาณบลูธูท

  • ต่อควบคุมวาล์วน้ำได้สูงสุด 4 ตัว หรือควบคุมปั๊มน้ำ 1 เครื่องร่วมกับวาล์วน้ำได้สูงสุด 3 ตัว ทำงานอิสระจากกัน

  • กำหนดรูปแบบการให้น้ำได้ทั้งแบบให้น้ำทุกวัน วันเว้นวัน หรือบางวัน

  • กำหนดจำนวนครั้งและระยะเวลาให้น้ำได้หลายช่วงในแต่ละวัน เช่น ให้น้ำ 3 ครั้ง เวลา 8.00น. ให้น้ำ 10 นาที เวลา 13.00 น. ให้น้ำ 8 นาที และเวลา 15.30 น. ให้น้ำ 5 นาที เป็นต้น

  • รองรับเซนเซอร์วัดความชื้นดิน เซนเซอร์วัดปริมาณน้ำฝน เซนเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์

              คุณกิตติศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “สำหรับในส่วนของการติดตั้งยังทำได้ง่าย เพียงนำกล่อง WATER FiT Simple ไป ติดตั้งที่หน้าแปลงปลูกและเดินสายจากโซลินอยด์วาล์วไฟฟ้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดอุปกรณ์ จากนั้นทำการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น “Irrigation Valve” ด้วยบลูธูท เพียงเท่านี้ผู้ใช้ก็สามารถบริหารจัดการการให้น้ำและแปลงปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการสั่งการบนแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนได้ทันที”

               สำหรับประสิทธิภาพการใช้งาน คุณนที เล่าว่า หลังจากนำเทคโนโลยี WATER FiT Simple มาใช้ในแปลงปลูกพืชผักสมุนไพรอินทรีย์ พบว่าพืชเจริญเติบโตไดี เก็บเกี่ยวผลลผลิตได้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น คุณภาพดีขึ้นทั้งในเรื่องของกลิ่นสมุนไพรและการแตกใบสวยงาม ต่างจากเดิมที่แม้จะขับรถเข้าดูแลให้น้ำแปลงปลูกทุกวัน ก็ยังพบความเสียหาย ทั้งพืชตาย เหี่ยวเฉา ใบเหลือง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจะเกิดช่วงเวลาการให้น้ำไม่เป็นเวลาหรือไม่สม่ำเสมอ บางทีติดธุระเข้าสวนไม่เป็นเวลาบ้าง รวมถึงให้น้ำในปริมาณที่ไม่เหมาะสมบางครั้งเผลอให้น้ำน้อยไปบ้างหรือมากเกินไปบ้าง ซึ่งผมดูแลสวนคนเดียวอาจะมีความผิดพลาดที่เกิดจาก Human Error ได้ นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคุมบริหารจัดการการให้น้ำอย่างเหมาะสม ยังช่วยผมประหยัดเงินค่าน้ำมันในการเดินทางเข้าสวน มีเวลาเหลือไปหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มฯ ได้เพิ่มอีกด้วย”

                 ปีที่ผ่านมา ทีม สวทช. ภาคเหนือ และผู้เชี่ยวชาญได้เข้ามาช่วยเก็บข้อมูลในเรื่องของต้นทุนการผลิตเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้เทคโนโลยี พบว่าเดิมเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันในการขับรถเดินทางขึ้นไปรดน้ำแปลงพืชผักสมุนไพรทุกวันสูงถึง 12,960 บาท/ปี แต่หลังจากติดตั้ง WATER FiT Simple ก็เดินทางขึ้นไปดูแปลงเฉลี่ยอาทิตย์ละครั้ง คิดเป็นค่าน้ำมัน 1,728 บาท/ปี ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางถึง 11,232 บาท/ปี นอกจากนี้ยังมีเวลาเหลือ ทำให้สามารถไปหาลูกค้าและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 5,000 บาท/เดือน หรือ 60,000 บาท/ปี นับเป็นเทคโนโลยีดีๆ ที่ไม่เพียงตอบโจทย์การใช้ในพื้นที่ห่างไกลและไฟฟ้าเข้าไม่ถึง แต่ยังช่วยให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรคุ้มค่า เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้เป็นอย่างดี”

              สำหรับผู้สนใจเทคโนโลยีกล่องควบคุมการให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก WATER FiT Simple สามารถขอรับคำปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค สมาร์ท ไลฟ์ แอนด์ อินโนเวชั่น ซึ่งได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากในผลงานวิจัยอย่างเป็นทางการ โทรศัพท์ 08 8252 6799 อีเมล KSmartLife2022@gmail.com

ShareTweetShare
Previous Post

แพทย์จุฬาฯ วิจัยพบสาร “ไซโตไคน์” บ่งชี้ “ข้อเสื่อม” หวังช่วยวางแผนการรักษา ชะลอความรุนแรงของโรค

Next Post

นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ส่งต่อเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ส่งต่อเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ส่งต่อเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

ม.มหิดล เดินหน้าวิจัย “ยาขับเหล็กสูตรใหม่” เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

ม.มหิดล เดินหน้าวิจัย "ยาขับเหล็กสูตรใหม่" เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.