mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ส่งต่อเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ส่งต่อเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

0

               นักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเทคโนโลยีการสกัดสารสำคัญจากดอกเห็ดเห็ดหลินจือเพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ทางเครื่องสำอางสูง สร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และพัฒนาระบบห่อหุ้มที่เพิ่มความคงตัวและความปลอดภัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด สู่ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าผสมอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ หวังยกระดับพืชสมุนไพรให้ใช้งานได้หลากหลายมิติ เพิ่มมูลค่า รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ ตอบเทรนด์แนวคิดเศรษฐกิจ BCG

             ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า พันธกิจหลักของนาโนเทคในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ความเป็นเลิศนั้น เราได้ให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยดำเนินการสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่อย่าง BCG  (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขยับต่อยอดสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเทศสู่ความยั่งยืน ใน 3 ด้านที่นาโนเทคเกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ วัสดุและพลังงาน

             “สำหรับการวิจัยเรื่อง การพัฒนากรรมวิธีสกัดสารสำคัญจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือและระบบอนุภาคนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเวชสำอาง นั้น จะเป็นการเสริมจุดแข็งของประเทศในด้านของพืชสมุนไพร และสารสกัดธรรมชาติที่หลากหลายให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) แบบ ‘ทำน้อยแต่ได้มาก’ ที่มีภาคเอกชนรับถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมความงามที่กำลังเติบโตตามกระแสการรักสุขภาพและดูแลตัวเอง” ดร.วรรณีกล่าว

              ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน นาโนเทค สวทช. กล่าวว่า งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากรรมวิธีสกัดสารสำคัญจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือและระบบอนุภาคนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเวชสำอางนั้น เริ่มมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่ทำให้ตนเองได้รู้จักกับบริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด ก่อนได้พูดคุยและตกผลึกความคิดในการร่วมกันของฝั่งวิจัยที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสารสกัดธรรมชาติ และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เวชสำอางด้วยระบบกักเก็บระดับนาโน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านเครื่องสำอาง และภาคเอกชนอย่างบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านวัตถุดิบที่เป็นออร์แกนิกส์หลายชนิด รวมถึงเห็ดหลินจือออร์แกนิกส์อีกด้วย

              “โจทย์จากผู้ประกอบการคือ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าของสารธรรมชาติออร์กานิค ผสมผสานกับแนวคิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางนวัตกรรม โดยใช้กระบวนการสกัดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้วัตถุดิบและสารสกัดเห็ดหลินจือที่มีคุณภาพ และปลอดภัย และนำมาพัฒนาเป็นระบบกักเก็บที่สามารถนำส่งสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.ธงชัยกล่าว พร้อมชี้ว่า นักวิจัยและผู้ประกอบการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกันและขอทุนวิจัยจากโปรแกรม INNOVATIVE HOUSE* ซึ่งในตอนนั้น (พ.ศ.2560) อยู่ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนากรรมวิธีสกัดสารสำคัญจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือและระบบอนุภาคนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเวชสำอาง”

* โปรแกรม INNOVATIVE HOUSE ปัจจุบัน อยู่ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

             เมื่อได้รับทุนทีมวิจัยได้พัฒนากระบวนการสกัดดอกเห็ดหลินจือ โดยสารสกัดเห็ดหลินจือที่ได้นั้น พบสารสำคัญหลักคือ Ganoderic acid A และ Ganoderic acid C2 จึงได้ต่อยอดพัฒนาระบบกักเก็บสารสำคัญ พร้อมกับพัฒนาระบบอนุภาคนิโอโซม เพื่อกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ซึ่งมีขนาดอนุภาคช่วง 144.6 ถึง 308.3 นาโนเมตร และประสิทธิภาพการห่อหุ้ม 96.67% ทำให้อนุภาคนี้กระจายตัวได้ดี มีความคงตัว มีความปลอดภัยในการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ และมีความปลอดภัยเมื่อสัมผัสผิวหนังในมนุษย์ ที่สำคัญคือ อนุภาคสามารถนำส่งสารสำคัญเข้าสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.640 ถึง 97.44 ในเวลา 24 ชั่วโมง

               อนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือที่ได้ ได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของอนุภาคในชื่อ ริชโอโซม (REISHOSOME) และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมของริชโอโซมที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีการทดสอบในอาสาสมัครทั้งการระคายเคืองผิวหนัง (Irritation test) และประสิทธิศักย์ (Efficacy test) โดยผลการทดสอบประสิทธิศักย์พบว่า ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวสามารถช่วยลดเลือนริ้วรอย ทำให้ผิวหน้ากระจ่างใส และมีความชุ่มชื่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในอาสาสมัคร และจดแจ้ง อย. ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ริเชอรอล (REISHURAL)

             นางวาสนา เชิดเกียรติกำจาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด กล่าวว่า จุดเริ่มต้นมาจากคุณวรกร เลาหเสรีกุล กรรมการผู้จัดการอีกท่านของฟาร์มคิดดีฯ ที่ทำฟาร์มเห็ดหลินจือไว้กินเอง หากมีเยอะก็แปรรูปเป็นชาเห็ดหลินจือขายที่ตลาดสุขใจ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ จนเมื่อได้คุยกับ ดร.ธงชัย ก็มีแนวคิดที่จะขยายประโยชน์ของเห็ดหลินจือให้มากกว่าแค่ในอุตสาหกรรมอาหาร สู่อุตสาหกรรมกลุ่มสุขภาพและความงามที่มีมูลค่าสูงกว่า ตลาดกว้างกว่า และความท้าทายมากกว่าด้วยเทคโนโลยีนาโน “เรามองเห็นโอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่โหยหาวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและความงามที่เป็นออร์แกนิคส์ ทำให้การวิจัยและพัฒนาที่ได้ผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิจัยจากนาโนเทค อาจารย์ทางด้านวิชาการและการตลาดในโปรแกรม INNOVATIVE HOUSE เข้ามาเสริมในมิติต่างๆ อย่างครบครัน ทำให้เราสามารถต่อยอดงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวในชื่อ ริเชอรอล (REISHURAL) ในที่สุด” กรรมการผู้จัดการฟาร์มคิดดี กล่าว

            ปัจจุบัน ริเชอรอลอยู่ระหว่างการผลิต ณ โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง (Nanoparticles and Cosmetics Production Plant) ภายใต้การดำเนินงานของนาโนเทค ซึ่งคาดว่า จะพร้อมออกสู่ตลาดในช่วงเดือนกันยายนนี้

              นางวาสนา เผยว่า กลุ่มเป้าหมายสำหรับริเชอรอลคือคนวัย 45-60 ปี ที่ต้องการดูแลสุขภาพผิวพรรณให้อ่อนเยาว์ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง และการใส่ใจรูปลักษณ์ ภาพลักษณ์ เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีนวัตกรรมรองรับ แม้ปัจจุบัน ในตลาดโลกจะมีผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางและบำรุงผิวจากสารสกัดเห็ดหลินจืออยู่บ้าง ราว 20 แบรนด์ทั่วโลก โดยมีทั้งเซรั่ม โลชั่น สบู่ รวมถึงครีมกันแดด นางวาสนาชี้ว่า ด้วยจุดเด่นเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่น (Nano Encapsulation) จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ผลิตภัณฑ์ริเชอรอลโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งอื่น ๆ “เราตั้งเป้ายอดขาย 30 ล้านบาทใน 3 ปีแรก ซึ่งปัจจุบัน ก็เริ่มมีคนสั่งจองเข้ามาตั้งแต่ของยังอยู่ระหว่างการผลิตแล้ว และในก้าวต่อไป จะเป็นการต่อยอดใช้อนุภาคสารสกัดเห็ดหลินจือในผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเริ่มจากกลุ่มผลิตภัณฑ์กันแดด ที่อยู่ระหว่างการขอทุนวิจัยเพิ่มเติม รวมถึงมีแผนที่จะขายอนุภาคสารสกัดเห็ดหลินจือให้กับบริษัทผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางในอนาคต” ผู้บริหารฟาร์มคิดดีชี้

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม WATER FiT Simple กล่องควบคุมการให้น้ำเพื่อการเกษตรแบบไม่ใช้ไฟฟ้า

Next Post

ม.มหิดล เดินหน้าวิจัย “ยาขับเหล็กสูตรใหม่” เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

10 months ago
78
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
47
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

10 months ago
85
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

10 months ago
131
Load More
Next Post
ม.มหิดล เดินหน้าวิจัย “ยาขับเหล็กสูตรใหม่” เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

ม.มหิดล เดินหน้าวิจัย "ยาขับเหล็กสูตรใหม่" เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

“รถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ”  ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย  เจ้าหน้าที่และพนักงานขับรถ

“รถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ” ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย เจ้าหน้าที่และพนักงานขับรถ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.