mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.มหิดล ดัน “Pilot Plant” เตรียมพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล มอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นของขวัญแด่คนไทย

ม.มหิดล ดัน “Pilot Plant” เตรียมพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล มอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นของขวัญแด่คนไทย

0

              ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะเนรมิตประเทศที่เติบโตและพัฒนามาจากการทำเกษตรกรรมเป็นหลักอย่างประเทศไทย สู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมนานาชาติ ซึ่งความฝันอันสูงสุดของการก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม คือ การได้สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เพื่อที่จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตามโจทย์ของการสร้างนวัตกรรมนั้นๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ หรือตลอดห่วงโซ่อุปทาน  รวมไปถึงการผลิต “ชีวภัณฑ์” ที่สนองต่อเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ (UN) ข้อที่ 3 ซึ่งว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาวะ (Good Health & Well-being)

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (Establishment of Mahidol University Bio-industrial Development Center) ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของ “ชีวภัณฑ์” ว่าหมายถึง ยาใดๆ ก็ตามที่ผลิตมาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้

              ซึ่ง “ชีวภัณฑ์” ที่ “Pilot Plant ม.มหิดล” กำลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการผลิตชีวภัณฑ์ระดับประเทศ ได้แก่ ยา วัคซีน ตลอดจนโปรตีน แอนติบอดี หรือสารชีวภัณฑ์อื่นๆ ตลอดจนการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) เช่น การรักษาด้วยเซลล์ หรือยีนบำบัด เป็นต้น

               มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาชีวภัณฑ์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศอุตสาหกรรม และในการเป็นผู้นำด้านการแพทย์และสาธารณสุข  จึงได้สร้างอาคารกึ่งอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาชีวผลิตภัณฑ์ หรือ “Pilot Plant ม.มหิดล” ขึ้น

             แม้ในปัจจุบัน “Pilot Plant ม.มหิดล” จะยังไม่สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็มีส่วนสำคัญในการร่วมผลิต และทดสอบยาและวัคซีนที่อยู่ในขั้นการทดสอบในมนุษย์ และกำลังจะพัฒนาขึ้นเป็นชีวภัณฑ์ใหม่ ที่สามารถจะขยายผลสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไปในอนาคตอีกมากมาย

              ตัวอย่างผลงานของ “Pilot Plant ม.มหิดล” อันเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่มหาวิทยาลัยมหิดลภาคภูมิใจ อาทิ การร่วมกับกลุ่มวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ในการวิจัยและพัฒนาการผลิตแอนติบอดีเพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

              นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาชุดคัดกรองโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ตลอดจนได้ร่วมกับภาคเอกชนผลิตเซลล์ตั้งต้น และเซลล์เพาะเลี้ยงแบคทีเรีย ฯลฯ

              ในฐานะศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ผ่านประสบการณ์การบริหารจากภาคเอกชน ก่อนเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (Establishment of Mahidol University Bio-industrial Development Center) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร ได้ใช้เทคนิคการกระจายอำนาจการบริหาร สู่ผู้จัดการโครงการย่อย ที่สามารถขับเคลื่อนอย่างแข็งแกร่ง ด้วยการทำงานแบบการบริหารโครงการ (Project management) และการทำงานเป็นทีม จึงทำให้ “Pilot Plant ม.มหิดล” ในปัจจุบันสามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กับการมีโครงการย่อยหลายโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งผลสู่มาตรฐานสากล ที่จะบรรลุผ่านการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 : 2005 ให้ได้ภายในปลายปี 2566

              “เราวางตำแหน่ง “Pilot Plant ม.มหิดล” ไว้ในเชิงที่เป็น “Contract Development and Manufacturing Organization: CDMO”  ที่คอย “สร้างคน” และคอยช่วยผลักดันจากงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง จนสามารถ “scale up” หรือขยายผลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร กล่าว

               แม้ความฝันสู่การเป็นโรงงานต้นแบบพัฒนาชีวภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม จะยังคงต้องใช้ความพยายามอีกมากมายสู่การบรรลุเป้าหมาย ขอเพียงกำลังใจจากพี่น้องชาวไทย เชื่อมั่นว่าดินแดนแห่งโลกเทคโนโลยีชีวภัณฑ์ทางการแพทย์ที่พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลกแห่งนี้ จะสามารถเนรมิตชีวิตคุณภาพ กับวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ให้อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพื่อเป็นของขวัญแด่ปวงชนชาวไทยได้ในเร็ววัน

 

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

DMIND แอปพลิเคชั่นคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรม AI จากนักวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ

Next Post

นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

4 months ago
33
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
44
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
36
Load More
Next Post
นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา

นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา

คืนคุณค่าพลาสติกใช้แล้วด้วยนวัตกรรม PCR ช่วยลดขยะและก๊าซเรือนกระจก

คืนคุณค่าพลาสติกใช้แล้วด้วยนวัตกรรม PCR ช่วยลดขยะและก๊าซเรือนกระจก

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.