mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
DMIND แอปพลิเคชั่นคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรม AI จากนักวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ

DMIND แอปพลิเคชั่นคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรม AI จากนักวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ

0

              จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโรคซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในระดับที่น่ากังวล โดยในปี 2564 มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้นและมีสถิติผู้พยายามฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6 คนต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70 % ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  คาดการณ์กันว่าในอีก 18 ปีข้างหน้าจะส่งผลกระทบกลายเป็นภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้อันดับ 1 ของทั่วโลก  ด้วยสถิติและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้จิตแพทย์ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ด่านหน้าอย่าง รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยากที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้บรรเทาเบาบางลง

รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์

             “ได้มีโอกาสคุยกับรุ่นน้องที่เป็นจิตแพทย์ด้วยกันและทำงานอยู่ในกรมสุขภาพจิต พบว่าเจอปัญหาคล้ายๆ กัน คือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าเราจะเพิ่มกำลังในการผลิตจิตแพทย์เพียงใดก็ไม่เพียงพอ จะเห็นได้ตามข่าวทางสื่อต่างๆ ว่ามีดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมากที่ประสบกับภาวะซึมเศร้า แต่จริงๆ ยังมีคนที่เราไม่รู้จักอีกเยอะที่ป่วยเป็นซึมเศร้าและตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง ซึ่งเป็นปัญหาที่จิตแพทย์รู้สึกกังวล และพยายามหาทางรับมือกับปัญหานี้” รศ.พญ.โสฬพัทธ์ กล่าว

             โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ แต่การจะให้โอกาสกับผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการเข้าถึงการรักษาได้อย่างไร นั่นคือโจทย์สำคัญที่สุด

             “ตามรูปการณ์ในปัจจุบัน การที่โรงพยาบาลจะขยาย OPD หรือแผนกเพื่อรองรับผู้ป่วยก็ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน การเพิ่มสถานพยาบาลยังไงก็ไม่มีทางเพียงพอ ในบางจังหวัดมีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการวันละ 200 – 300 คน มันเป็นไปไม่ได้เลย แล้วคนที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่กล้ามาโรงพยาบาลก็มีอีกจำนวนมาก ประกอบกับที่กรมสุขภาพจิตเองก็มีสายด่วนสุขภาพจิต ให้บริการในการพูดคุยให้คำปรึกษา โดยมีนักจิตวิทยาช่วยประเมินว่าสายที่โทรเข้ามามีอาการของโรคซึมเศร้ามากแค่ไหน เราได้พูดคุยกับกรมสุขภาพจิตแล้วพบว่ามีคนที่ต้องรอสายต่อวันเป็นพันๆ คน แต่มีคนที่รับสายโทรศัพท์ต่อวันไม่เพียงพอ ทำให้ยังมีคนที่เข้าไม่ถึงบริการอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีคนที่สุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแล้วไม่สามารถเข้าถึงบริการ เราจะได้รู้ได้อย่างไรว่าสายไหนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด จะมีเทคโนโลยีอะไรที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้บ้าง” รศ.พญ.โสฬพัทธ์ ตั้งคำถาม

                ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ รศ.พญ.โสฬพัทธ์ทราบดีว่าคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะแสดงลักษณะอาการของโรคออกมาผ่านทั้งน้ำเสียง คำพูด และการแสดงออกทางสีหน้า หากมีเครื่องมือที่สามารถนำมาวิเคราะห์ตรงนี้ได้ก็คงจะดีไม่น้อย นั่นคือที่มาของการพัฒนา DMIND แอปพลิเคชั่นสำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท Agnos Health ซึ่ง D ย่อมาจาก Depression หรือโรคซึมเศร้านั่นเอง

DMIND คืออะไร

              DMIND เป็นเครื่องมือที่นำมาช่วยจิตแพทย์ โดยไม่ได้มาทำหน้าที่แทนจิตแพทย์ แต่นำมาช่วยคัดกรองว่าใครคือเคสเร่งด่วนที่ต้องช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คนที่มีอาการโรคซึมเศร้าเบาหน่อยค่อยมีการช่วยเหลือในลำดับต่อๆ ไป

              รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เผยว่า  “ในจุฬาฯ ได้มีการพูดคุยและร่วมกันพัฒนาเครื่องมือนี้เป็นการภายในอยู่แล้ว ซึ่งเป็นงานที่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้พูดคุยกับกรมสุขภาพจิต จึงเป็นเวลาที่สมควรที่จะได้ทดลองนำเอางานที่ทำกันในห้องปฏิบัติการมาทดลองจริงๆ กับเทปเสียงที่บันทึกเอาไว้ของกรมสุขภาพจิต แล้วนำมาลองวิเคราะห์ดู ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ง่ายอย่างที่เราเคยคิดเอาไว้ เพราะเห็นว่ามีการทำกันเยอะในต่างประเทศ ปรากฏว่าเทคนิคที่ต่างประเทศใช้หรือมีการตีพิมพ์ นำกลับมาใช้กับคนไทยไม่ได้ ต้องเริ่มกันใหม่หมด เราทำงานกันหนักมาก มีการเก็บตัวอย่างหลายหมื่นตัวอย่างมาวิเคราะห์ จนเกิดเป็น AI ที่เป็น Machine Learning ที่เป็น Template ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยนำมาทดสอบกับคนไข้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนเรามั่นใจในตัวเลขของข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์มีความแม่นยำขึ้นเรื่อยๆ และจะแม่นยำขึ้นได้อีกด้วยเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์”

               ทางแอปพลิเคชั่นหมอพร้อมก็มีจำนวนผู้ใช้งานที่มีความเครียดเพิ่มขึ้นสูงมาก เดิมทีในหมอพร้อมจะใช้วิธีกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยการให้ทำแบบสอบถาม แต่พอมาใช้เป็น AI วิเคราะห์ก็จะเพิ่มความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในระดับ Direct Bio Tracker ที่สามารถวิเคราะห์การแสดงอารมณ์ของผู้ป่วยผ่านสีหน้าท่าทางที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับชีวภาพของร่างกายจริงๆ ไม่ใช่เป็นแค่ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่บางทีคนไข้ยังไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองแสดงออกมา

                  ทั้งนี้ AI จะประเมินลักษณะภาวะซึมเศร้าออกมาเป็นคะแนน หากคะแนนอยู่ในเกณฑ์สีเขียว คือยังอยู่ในภาวะปกติ สีเหลืองมีภาวะซึมเศร้า นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับเพื่อให้คำปรึกษาภายใน 7 วัน และสีแดง หมายถึงภาวะซึมเศร้ารุนแรง นักจิตวิทยาจะติดต่อกลับภายใน 1-24 ชั่วโมง เกณฑ์เหล่านี้เป็นการจัดแบ่งตามการดูแลที่มีอยู่แล้วของกรมสุขภาพจิต โดย รศ.พญ.โสฬพัทธ์ ให้เหตุผลว่า หลักการทำงานร่วมกันจะต้องเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่มากนัก แต่นำสิ่งที่แต่ละฝ่ายมีมาทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด

             “สิ่งที่สำคัญที่สุดข้อแรกคือประชาชนต้องเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ คนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชั่น สองก็คือต้องให้ความรู้สึกสบายใจกับผู้ใช้งาน มีอิสระที่จะพูด จากที่เคยทดลองนำไปใช้ บางครั้งคนไข้ที่ดูเหมือนจะปกติแล้วหรือมีอาการซึมเศร้าเล็กน้อยเมื่อมาพบแพทย์ พอให้มานั่งคุยกับแอปพลิเคชั่น DMIND ซึ่งเป็นลักษณะอวตาร์ (คุณหมอพอดี) คนไข้จะมีอาการพรั่งพรู และเผยความในใจออกมาโดยไม่รู้ตัวและไม่มีกำแพง จนทำให้เราได้ข้อมูลที่มันลึกจริงๆ มาเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ในการรักษา ซึ่งตอนแรกเราก็กลัวว่าคนไข้จะยอมเปิดใจกับเทคโนโลยีหรือเปล่า แต่พอมาลองใช้จริงแล้ว ผลลัพธ์ออกมาดีมากๆ” รศ.พญ.โสฬพัทธ์เผยถึงข้อดีของแอปพลิเคชั่นนี้

             “สิ่งที่มีความสุขมากในวันนี้คือ โดยส่วนตัวหมอก็รู้แค่ในส่วนของตัวเอง นั่นคือศาสตร์ทางด้านจิตเวช แต่นาทีนี้ที่สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือกับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สิ่งที่เราอยากได้และต่างประเทศทำได้ เราก็ร่วมกันฝ่าฟันจนสำเร็จออกมา ทำให้เห็น ว่าในจุฬาฯ เรานั้นมีคนเก่งอยู่มากมาย หากว่าเราคุยกันมากขึ้น ทำงานร่วมกันมากขึ้น เราจะสามารถทำในสิ่งที่เป็นนวัตกรรมระดับโลกได้” รศ.พญ.โสฬพัทธ์ กล่าว

การทำงานของแอปพลิเคชั่น DMIND

               ด้าน รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกนำมาใช้งานในแอปพลิเคชั่นดังกล่าว เปิดเผยว่า DMIND เป็นปัญญาประดิษฐ์เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าโดยตรง เริ่มต้นจากทางภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดย รศ.พญ.โสฬพัทธ์ ได้มาชวนให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วยกันพัฒนาแอปพลิเคชั่นนี้ โครงการนี้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2563 โดยเมื่อปีที่แล้ว เรามีการร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต และมาในปีนี้ เราได้ขยายขอบเขตไปใช้งานในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม

                รศ.ดร.พีรพล เผยถึงการทำงานของระบบ DMIND ว่าประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือตัวแอปพลิเคชั่นในหมอพร้อม หรือ Automate Avatar ที่เป็น Mobile Application ที่คนไข้เข้ามาใช้งาน เมื่อมีการพูดคุยกับคนไข้ผ่านแอปก็จะได้ข้อมูลออกมาเป็นไฟล์วิดิโอ ซึ่งจะถูกส่งต่อไปให้ AI วิเคราะห์ในส่วนที่สอง และส่วนสุดท้ายคือ Web Base ที่แพทย์สามารถเข้ามาตรวจสอบย้อนหลังได้ หากมีผู้ใช้งานคนไหนที่ดูแล้วมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงก็จะมีแพทย์หรือนักจิตวิทยาจากสายด่วนกรมสุขภาพจิตเข้าไปติดตามให้การดูแล

รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล

              ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเข้าไปในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม เลือกส่วนใช้งาน “คุยกับหมอพร้อม (Chatbot)” เลือก “ตรวจสุขภาพใจ” เลือก “ตรวจสุขภาพใจกับคุณหมอพอดี” จากนั้นก็จะเป็นส่วนของการตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยคัดกรองและประเมินตัวเอง (ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่สะดวกใจที่จะใช้งานแบบต้องอัดเสียง เปิดกล้อง หรืออัดวิดีโอ) หากต้องการการประเมินเชิงลึก ผู้ใช้งานก็จะต้องอนุญาตให้มีการเปิดกล้องบันทึกเสียงและภาพเพื่อการประเมินและพูดคุยกับหมอพอดี (อวตาร์) โดยข้อมูลภาพและเสียงจะถูกเก็บเป็นความลับ อาจารย์พีรพลให้เหตุผลว่าที่ยังต้องมีการคัดกรองโดยการตอบแบบสอบถาม เนื่องจากผู้ป่วยเป็นซึมเศร้าหลายราย อาจจะยังไม่พร้อมที่จะไปพบแพทย์หรือเปิดเผยว่าตัวเองป่วย อาจจะต้องการประเมินด้วยตัวเองผ่านการตอบแบบสอบถามก่อน

ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น DMIND

            “ต้องยอมรับว่าปัจจุบันสายด่วนกรมสุขภาพจิต1213 มีปริมาณคนที่โทรเข้าไปขอความช่วยเหลือล้นมากกว่าจำนวนคู่สายที่รองรับได้อยู่แล้ว การเข้ามาร่วมมือกันพัฒนา DMIND เพราะเล็งเห็นปัญหา และต้องการจะแก้ปัญหาตรงนี้ จากเดิมที่ต้องรับทุกสายไม่ว่าจะมีภาวะซึมเศร้ามากหรือน้อย เมื่อโทรเข้ามาแล้วก็ต้องประเมินอาการเป็นรายๆ ไป อาจทำให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนเข้าไม่ถึงเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที เรื่องของการจัดลำดับความเร่งด่วนหรือ Priority จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จากสถิติที่ผ่านมาที่เรานำ DMIND เข้าไปช่วยคัดกรองเบื้องต้น ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ทำให้สายด่วนกรมสุขภาพจิตสามารถดูแลผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้ทันท่วงทีเป็นร้อยๆ เคส หากเป็นกรณีเคสเร่งด่วน กรมสุขภาพจิตถือเป็นหน้าที่หลักที่จะต้องช่วยเหลืออยู่แล้ว เมื่อมีการคัดกรองจากระบบของ DMIND ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่เน้นกับเคสที่เร่งด่วนอย่างแท้จริง และดูแลได้อย่างทั่วถึงแน่นอน”  รศ.ดร.พีรพล กล่าวเพิ่มเติม

               ด้านความแม่นยำในการตรวจจับ (Accuracy) การวิเคราะห์สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง และเนื้อหา ของ DMIND รศ.ดร.พีรพล กล่าวว่า จากที่ได้ทดลองนำไปใช้ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 75% ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณคนไข้นับหมื่นรายที่ได้รับการคัดกรองโดย DMIND ช่วยลดภาระงานของแพทย์ไปได้ค่อนข้างมาก

              “ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เราก็มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ของจุฬาฯ ที่คอยตรวจสอบตรงนี้อยู่ ดังนั้น ข้อแรกเราไม่มีการเก็บข้อมูลที่ระบุไปถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้ ข้อสองข้อมูลที่ได้เมื่อผ่านระยะเวลาไปช่วงหนึ่งจะถูกทำลายทิ้ง จึงไม่มีทางที่จะติดตามกลับไปถึงตัวคนได้ว่าเป็นใคร ไม่มีการเก็บข้อมูลดิบเอาไว้”

การต่อยอด DMIND ในอนาคต

              รศ.ดร.พีรพล กล่าวย้ำว่า ในอนาคต ตนอยากให้แอปพลิคชั่นนี้สามารถเข้าถึงคนทุกคนได้จริงๆ ทั้งนี้โครงการก็ยังมองหาหน่วยงาน โรงพยาบาล บริษัททางด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา หรือหากแพลตฟอร์มที่อยากจะนำ AI ตัวนี้ไปต่อยอดใช้งานต่อก็ยินดีเปิดรับ เพราะปัญหาโรคซึมเศร้าถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ระดับชาติ หากสามารถนำเอานวัตกรรมนี้ไปสู่โรงพยาบาลต่างๆ หรือเข้าถึงคนได้มากขึ้น ตนเชื่อว่า ก็จะยิ่งเกิด impact มากขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้

             “การสอน AI ก็เหมือนกับการสอนเด็กหรือคนๆ หนึ่งขึ้นมา ดังนั้นมันยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงพัฒนาได้อีก เราก็คาดหวังว่าจะมีคนใช้มากขึ้น เพื่อให้ AI มีข้อมูลมากขึ้นเพื่อให้เกิดความแม่นยำยิ่งๆ ขึ้นไป” รศ.ดร.พีรพล กล่าวทิ้งท้าย

จุดเด่นของแอปพลิเคชั่น DMIND

  1. ใช้เทคโนโลยี AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง และอารมณ์ ได้อย่างแม่นยำในระดับ Direct Bio Tracker และมีการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงมีความแม่นยำสูง

  2. เป็นแอปพลิเคชั่นหนึ่งเดียวของไทย ที่พัฒนามาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ใช้ข้อมูลที่เก็บและทำวิจัยจากเคสของคนไทยโดยตรง

  3. ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ทั้งเรื่องของการดูแลคนไข้ การติดตามการรักษา การเปลี่ยนยา ใช้ร่วมกับการรักษาโดยวิธีการจิตบำบัด และสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดงานวิจัยเพื่อป้องกันและรักษาโรคซึมเศร้าในอนาคต

  4. เข้าถึงง่ายผ่านแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ใช้งานง่ายและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทำให้ผู้ทีมีความเสี่ยงหรือมีปัญหาซึมเศร้าทุกคนสามารถขอรับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชั่น DMIND ได้อย่างไร

             ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง DMIND Application ได้ทาง https://bit.ly/DMIND_3 นอกจากนี้ DMIND Application ยังเชื่อมต่อกับช่องทางการสื่อสารของหมอพร้อม ได้แก่ LINE Official Account และ Facebook ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการได้ผ่านขั้นตอนดังนี้

1. เข้าแอปพลิเคชัน Line หมอพร้อม กดลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อน https://bit.ly/2Pl42qo 

2. เลือกเมนู “คุยกับหมอพร้อม (Chatbot)”

3. เลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ”

4. เริ่มทำแบบทดสอบ

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล ค้นพบแนวทางการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาด เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรโลก

Next Post

ม.มหิดล ดัน “Pilot Plant” เตรียมพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล มอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นของขวัญแด่คนไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
82
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
ม.มหิดล ดัน “Pilot Plant” เตรียมพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล มอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นของขวัญแด่คนไทย

ม.มหิดล ดัน "Pilot Plant" เตรียมพัฒนาการผลิตชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล มอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเป็นของขวัญแด่คนไทย

นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา

นวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.