mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา ลดการเผาขยะ ตอบโจทย์ซีโร่เวสต์

นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา ลดการเผาขยะ ตอบโจทย์ซีโร่เวสต์

0

              อาหารสุขภาพสำหรับสุนัข เป็น 1 ใน 4 ผลผลิตจากโครงการวิจัยสร้างมูลค่าให้กับเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา ล่าสุดอยู่ระหว่างขั้นตอนการขอจดอนุสิทธิบัตร พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการ ตอบโจทย์ “ขยะเป็นศูนย์ (zero  waste)” ทั้งลดปริมาณขยะเจลาตินและลดมลพิษทางอากาศเนื่องจากการเผากำจัดขยะเจลาติน

              รศ.มานพ เจริญไชยตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอโครงการวิจัย “นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเจลาตินเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยา” ในกิจกรรมเปิดบ้านชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุน

               รศ.มานพ กล่าวว่า โจทย์วิจัยจากบริษัท เซอร์วิส แพค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มีแคปซูลเจลาตินเหลือทิ้งการจากผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัมต่อเดือน จึงร่วมกับทีมทำการวิจัยหารูปแบบนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หลังจากศึกษาลงลึกในโครงสร้างเจลาติน เบื้องต้นพบว่าเหมาะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 4 ชนิด ได้แก่ อาหารสุนัข วัสดุดูดซับและสารหนู ยาสำหรับสัตว์เลี้ยงและแบตเตอรี่ที่บิดงอได้

              งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์นานาชาติ 3 ฉบับ ในวารสาร Quartile ที่มีการอ้างอิงข้อมูลด้านวิชาการมากกว่า 1 ครั้ง โดยใช้ประโยชน์จากเจลาตินได้ถึง 150 กิโลกรัมต่อเดือน หรือคิดเป็น 15% ของเจลาตินเหลือทิ้งทั้งหมด

             ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับสุนัขนั้น นักวิจัยได้พัฒนาสูตรและทดลองกับสุนัขทั้งหมด 30 ตัว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3  ชนิด ได้แก่

  1. อาหารเม็ดสุนัข ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาการยืดอายุเก็บรักษา (shelf life) และรอการจดอนุสิทธิบัตร

  2. ขนมสุนัข มีส่วนประกอบของเจลาตินสูงถึง 30-50% ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทดสอบคุณค่าทางอาหาร

  3. ผงโรยอาหารสุนัข นำเจลาติน 20-30% มาผสมกับเวย์โปรตีนหรือโปรตีนจากถั่วเหลือง ในอัตราส่วนที่เหมาะสมแก่สุนัข 3 กลุ่มช่วงวัย มีคุณค่าทางอาหารได้แก่ โปรตีน 76.5% ไขมัน 5.5% เยื่อใย 0.1% เถ้า 3.1% และโซเดียม 0.2% จากผลการศึกษาพบว่า สุนัขชอบรับประทานผงโรยอาหารต้นแบบมากกว่าผงโรยอาหารตามท้องตลาด

             โครงการวิจัยที่ 3 ผลิตภัณฑ์ขั้นสูงด้านยาสำหรับสัตว์เลี้ยง มีส่วนผสมจากแอโรเจลลูกผสม ที่สามารถแทรกตัวในยาโคลไตรมาโซลและเจลาตินเหลือทิ้ง เพื่อใช้สำหรับยาต้านเชื้อราแบบนอกร่างกาย โดยมาตรฐานของยาที่ผลิตได้จะอยู่ในขั้น “การศึกษาที่ไม่ใช่การศึกษาทางคลินิก (non-clinical study)”

             โครงการวิจัยที่ 4 นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเจลาตินเหลือทิ้งเพื่อผลิตแบตเตอรี่ที่บิดงอได้ สำหรับเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์อัจฉริยะ (smart devices) อุปกรณ์ที่สามารถตัดสินใจ และทำงานได้ด้วยตนเอง มีประโยชน์ด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความ ประหยัดต่อผู้บริโภค

              โครงการดังกล่าวนำมาต่อยอดเพื่อใช้สำหรับสมาร์ตวอทช์และโทรศัพท์มือถือที่ต้องการความยืดหยุ่น การพับ การงอ โดยไม่ต้องกังวลถึงความอันตรายจากการรั่วไหลของแบตเตอรี่ 

               ความสามารถของแบตเตอรี่จากโครงการวิจัยนี้ จะเพิ่มการเก็บค่าการเก็บประจุของวัสดุขั้วแอโนด (anode) เจลาตินคอมโพสิตมีค่าสูงกว่าขั้วแกรไฟต์ (372 mAh.g-1) ที่ถูกใช้ในเชิงการค้า และยังสามารถช่วยเพิ่มการเก็บประจุของวัสดุขั้วแคโทด (cacathode) เชิงพาณิชย์ (commercial cathode) ทำให้แบตเตอรี่บิดงอเจลาตินมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูง

             วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้จัดการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2566 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม โดยโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากเจลาตินเหลือทิ้งนี้อยู่กรอบทุนวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมหลายประเด็นที่มีความสำคัญ อาทิ Climate Change, การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, ด้านพลังงาน และฝุ่น PM 2.5

             ประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญ มีความเร่งด่วนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นภาวะวิกฤติที่จะเกิดขึ้น และก็จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในส่วนภูมิภาคก็มีความตระหนักต่อการที่จะเรียกร้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

              ฉะนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญ ในระดับการประชุมของรัฐบาล ภาคีเครือข่ายกรอบอนุสัญญาสำคัญของสหประชาชาติ ประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาพูดคุยและต้องการความร่วมมือและการตกลงร่วมกัน

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล เสนอระบบใหม่โลจิสติกส์เวชภัณฑ์ไทย รวมเส้นทางขนส่ง – บริหารจัดการด้วย AI กู้วิกฤติพลังงานโลก

Next Post

ม.มหิดล ค้นพบแนวทางการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาด เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรโลก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

7 months ago
57
SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

7 months ago
42
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

7 months ago
32
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

7 months ago
64
Load More
Next Post
ม.มหิดล ค้นพบแนวทางการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาด เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรโลก

ม.มหิดล ค้นพบแนวทางการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาด เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรโลก

DMIND แอปพลิเคชั่นคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรม AI จากนักวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ

DMIND แอปพลิเคชั่นคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า นวัตกรรม AI จากนักวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
163

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
57

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
30

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
32
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.