mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “กูปรีอัลกอริทึม” ส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19

นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “กูปรีอัลกอริทึม” ส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19

0

             คณะวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ. ดร.ฐิติยา เนตรวงศ์ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศ. ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ อ.พัฒนพงษ์ โพธิปัสสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ร่วมกันพัฒนา “กูปรีอัลกอริทึม” นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ Energies และ Scholar Community Encyclopedia ซึ่งมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคนเข้าใช้งาน

             วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษรองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “Local สู่ Global” โดยใช้อัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เรียกว่า Kouprey-inspired Optimization (KIO) เพื่อช่วยจัดการพลังงานในการเกษตรอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงชุมชน ซึ่งริเริ่มด้วยโหนดพลังงานอัจฉริยะสำหรับลดต้นทุนด้านพลังงานและแรงงานในการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ รวมถึงและที่พักในสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเปิดรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด-19

             รศ. ดร.พรรณี เปิดเผยว่า โครงการวิจัยนี้อยู่ภายใต้ทุนสนับสนุนงานพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีจุดเด่นตรงที่การพัฒนากูปรีอัลกอริทึมจากการจำลองการวิ่งและเติบโตของกูปรี สัตว์ที่มีเฉพาะในแถบชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นวัวป่าตระกูลหนึ่งที่มีพฤติกรรมการหาอาหารและย้ายถิ่นฐานที่น่าสนใจ ทำให้สามารถเอาชีวิตรอดจากการถูกล่าโดยน้ำมือมนุษย์ได้ โดยกูปรีจะอพยพทั้งในแบบของการเดินทางตามจ่าฝูง การปะปนไปกับฝูงวัวแดง และการแยกตัวของวัวหนุ่มออกจากฝูงก่อนจะกลับมารวมฝูงใหม่ ซึ่งจากบันทึกของ นพ.บุญส่ง เลขะกุล ผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทย ที่พบรอยกูปรีในแถบเทือกเขาพนมดงรักชายแดนประเทศไทย-กัมพูชาเมื่อปี 2488 จนสุดท้ายในปี 2549 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี ออกลาดตะเวนบริเวณเทือกเขาพนมดงรักใกล้รอยต่อประเทศกัมพูชาและ ส.ป.ป.ลาว มีรายงานว่าค้นพบกูปรีในบริเวณดังกล่าว

             ข้อมูลดังกล่าวพบว่าสัตว์ป่าหายากประเภทนี้มีการอพยพฝูงที่มีสมาชิกประมาณ 20 ตัว ค่อนข้างมีรูปแบบที่ชัดเจน โดยมีจ่าฝูงเป็นผู้นำออกหากินและย้ายที่อยู่ ส่วนกูปรีตัวเมียและกูปรีเด็กติดตามจ่าฝูง ขณะที่กูปรีวัยหนุ่มส่วนใหญ่มักแยกออกไปคนละทางรวมถึงทิศตรงข้ามกับฝูงเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ ๆ เมื่อถึงช่วงเวลาที่จ่าฝูงแก่ตัวลง หนึ่งในวัวหนุ่มเหล่านี้ที่มีคุณสมบัติสูงกว่าในการนำฝูงจะถูกเลือกเป็นจ่าฝูงตัวใหม่

ประยุกต์ IoT เข้ากับระบบเกษตรอัจฉริยะในสวนทุเรียน
ระบบเกษตรอัจฉริยะในสวนทุเรียนภูเขาไฟ
วงจรชีวิตของกูปรี

              ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงได้นำสมาชิกในฝูงกูปรีมาแทนประชากร เพื่อใช้หาคำตอบของสมการเชิงเส้น โดยประชากรกูปรีที่หาค่าที่ดีที่สุดได้ในขั้นตอนเริ่มต้นจะถูกสมมติให้เป็นจ่าฝูง ในแต่ละรอบการทำงานอัลกอริทึมนี้จะสร้างโซลูชั่นคู่แข่งกับจ่าฝูงโดยนำทิศทางการแตกฝูงของวัวหนุ่ม การแตกฝูงในทิศทางต่าง ๆ จากเดิมนี้เองคือกระบวนการเขย่าค่าเพื่อให้ได้วิธีการใหม่ที่จะนำไปเปรียบเทียบกับจ่าฝูงในรอบการทำงานก่อนหน้า คณะวิจัยได้เสนอโมเดลการนำขั้นตอนวิธีหารค่าที่เหมาะสมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกูปรี โดยนำข้อมูลจากเซนเซอร์วัดความชื้นของดิน ระดับความเป็นกรดด่าง ส่งผ่านบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ก่อนส่งไปยังศูนย์กลางของระบบเพื่อประมวลผลค่าจากเซนเซอร์ที่กระจายในสวนทุเรียนในฐานะพามีเตอร์ในสมการเชิงเส้นที่จะพิจารณาการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปควบคุมชุดให้น้ำ ให้ปุ๋ย รวมถึงการเลือกใช้แหล่งพลังงานในสวนทุเรียน

                การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ร่วมกับเซนเซอร์วัดสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี IoT ข้างต้น ช่วยให้การดูแลสวนทุเรียนภูเขาไฟในจังหวัดศรีสะเกษเข้าสู่แนวทางของเกษตรประณีต ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการให้น้ำ ปุ๋ย รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและแรงงานในสวน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มกำไรในการทำสวนทุเรียนภูเขาไฟให้แก่เกษตรกร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้เกิดแหล่งจ่ายพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำ พลังงานจากลม รวมถึงการสร้างเครือข่าย IoT เพื่อใช้ในการเกษตร ยังเป็นสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนภูเขาไฟ รวมทั้งพืชอื่น ๆ ที่ต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อลดต้นทุนในการนำระบบนี้ไปใช้

              “การรวมกันของกูปรีอัลกอริทึมและโหนดพลังงานอัจฉริยะช่วยให้จัดการสวนทุเรียนภูเขาไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้พลังงานสะอาดร่วมกับพลังงานไฟฟ้าแบบดั้งเดิมในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีพลังงานแสงอาทิตย์ 8 ชั่วโมงต่อวัน จึงเพียงพอสำหรับการเกษตรอัจฉริยะและการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตอนกลางวันและตอนเย็น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งภาคเกษตรและการท่องเที่ยวลดต้นทุนแรงงานของธุรกิจได้ประมาณร้อยละ 30 และในภาคพลังงานสามารถลดต้นทุนได้ร้อยละ 50 โดยคณะวิจัยจะนำต้นแบบนี้ไปขยายผลในสวนทุเรียนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกของประเทศ และใช้น้ำค่อนข้างมากในการปลูกทุเรียน”

ShareTweetShare
Previous Post

ซีพีเอฟ ใช้ “ระบบฟาร์มอัจฉริยะ” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ

Next Post

นวัตกรรม AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

3 months ago
23
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
18
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

3 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

3 months ago
8
Load More
Next Post
นวัตกรรม AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

นวัตกรรม AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

โรงพยาบาลพญาไท3 ใช้หุ่นยนต์ช่วยรักษาคนไข้ข้อเข่าเสื่อม ผ่าตัดได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ

โรงพยาบาลพญาไท3 ใช้หุ่นยนต์ช่วยรักษาคนไข้ข้อเข่าเสื่อม ผ่าตัดได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.