mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ซีพีเอฟ ใช้ “ระบบฟาร์มอัจฉริยะ” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ

ซีพีเอฟ ใช้ “ระบบฟาร์มอัจฉริยะ” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ

0

             บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าขับเคลื่อนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำ ระบบฟาร์มอัจฉริยะ และเทคโนโลยีบล็อกเชน มาผนวกกับกิจการเลี้ยงสัตว์ ช่วยยกระดับการบริหารจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภคในมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร

              น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานฟาร์มและข้อกำหนดลูกค้า ในฐานะประธานความมุ่งมั่นด้านสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ตระหนักดีว่าหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร จึงได้ประกาศนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้สัตว์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีจริยธรรม สัตว์มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายระดับสากล ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ยังได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงสัตว์สู่ระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)” โดยประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีทันสมัย อาทิ Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง รวมทั้งช่วยให้การจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์มเหมาะกับการเป็นอยู่ของสัตว์ ช่วยสัตว์อยู่สุขสบาย ได้กินอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ หนุนการเติบโตของสัตว์ โดยมีการแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูลในฟาร์มแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูแลสัตว์ และบริหารงานผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา

              “ระบบฟาร์มอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและน้ำ ลดการสูญเสียอาหารสัตว์ ประหยัดต้นทุนการผลิต และที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางชีวภาพ ปกป้องฟาร์มให้ปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์และคน ช่วยลดความจำเป็นของคนเข้าไปในโรงเรือน ลดความเสี่ยงการติดต่อโรคจากคนสู่สัตว์ ซึ่งนำไปสู่การลดการใช้ยาปฏิชีวนะ” น.สพ.พยุงศักดิ์กล่าว

                ซีพีเอฟ มุ่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบสมาร์ทฟาร์มเพื่อช่วยให้การดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง อาทิ การนำกล้องวงจรปิดและเทคโนโลยี IoT มาช่วยควบคุมการทำงานทางไกลในการติดตามสุขภาพสัตว์ สามารถแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ตลอดเวลา (Real-time) ตั้งแต่ การวิเคราะห์สูตรอาหาร และปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์ในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งยังช่วยปรับสภาวะสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้เหมาะสมตามสรีระวิทยา ซึ่งจะช่วยเสริมการเติบโตของสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้ง มีการแจ้งเตือนสถานะผิดปกติได้ทันท่วงที อาทิ การนำระบบ sound talk มาตรวจจับฟังเสียงไอของสุกร เพื่อติดตามสุขภาพของสัตว์ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีประมวลผลด้วยภาพ (image processing) ช่วยลดการสุ่มตัวอย่างกุ้งเพื่อติดตามการเจริญเติบโต เป็นต้น

               ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมแบบออนไลน์จำนวนมากมาจากแต่ละฟาร์ม เพื่อช่วยยกระดับและสร้างความเชื่อมั่นในข้อมูลของการบริหารจัดการฟาร์มและการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงการตรวจสอบย้อนกลับเป็นไปอย่างโปร่งใส สนับสนุนให้นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุดในการยกระดับคุณภาพและสุขภาพของสัตว์

                 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมาช่วยยกระดับความปลอดภัยในฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบเกษตรกรพันธสัญญา เช่น ระบบให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ ระบบการสังเกตการณ์ทางไกล เป็นต้น รวมทั้งมีการตรวจประเมินฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดของบริษัทฯ และของเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ในทุกประเทศเป็นประจำทุกปี และได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วโลกมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากเนื้อสัตว์ของซีพีเอฟมีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และมาจากกระบวนการที่ยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรมใหม่จากเภสัชจุฬาฯ StemAktiv กระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิด ฟื้นฟูสุขภาพผิว

Next Post

นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “กูปรีอัลกอริทึม” ส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “กูปรีอัลกอริทึม” ส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19

นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “กูปรีอัลกอริทึม” ส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19

นวัตกรรม AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

นวัตกรรม AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.