mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “Breath Trainer” เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ

นวัตกรรม “Breath Trainer” เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ

0

              นักวิจัย คณะสหเวชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (Breath Trainer) ในการฝึกควบคุมการหายใจเข้า-ออกอย่างช้าๆ (Slow breathing) เพื่อช่วยลดความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. และ สวทช. แนะนำกลุ่มคนทั่วไปสามารถฝึกได้ เพื่อช่วยให้การหายใจเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ในวันที่ 2 ก.พ.65 นี้ นักวิจัยเตรียมเข้ารับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564-2565

            รศ.ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ จากภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงาน “เครื่องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (Breath Trainer) ” กล่าวว่า ได้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้น เพื่อฝึกการหายใจลึกและช้า โดยเน้นฝึกที่บริเวณกล้ามเนื้อกระบังลม และชายโครง (costal muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหลักของการหายใจ และหลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ (accessory muscle) สามารถวัดอัตราการหายใจ โดยมีค่าความถูกต้องเมื่อเทียบกับเครื่องมือวัดสัญญาณชีพอื่น ช่วยเพิ่มปริมาตรปอด โดยเฉพาะส่วนปอดกลีบล่าง (lower lobes) ซึ่งมักพบว่าเป็นบริเวณที่มีปัญหา เช่น ภาวะปอดแฟบ ลักษณะเด่น คือ สามารถปรับระดับแรงดัน/แรงต้าน เซตเป้าหมายการฝึก เพิ่มระดับความยาก-ง่าย และสามารถย้อนดูประวัติการฝึกหายใจได้ ตัวเครื่องสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และผ่านการทดสอบหัวข้อความปลอดภัยทางไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

              เครื่องฝึกฯ จะช่วยให้กล้ามเนื้อหายใจเข้ามีความแข็งแรง อันเป็นการเพิ่มสมรรถภาพทางการหายใจและความทนทานของหลอดเลือดระบบหายใจ นำไปสู่การลดความดันโลหิตสูง และอาการเหนื่อยในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาหายใจไม่สะดวก หายใจสั้นตื้น ไม่ทั่วท้อง หายใจไม่อิ่ม หรือเหนื่อยง่ายเมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในกลุ่มคนทั่วไป และยังเหมาะกับกลุ่มนักกีฬา ที่ต้องการเพิ่มความทนทานของหัวใจและการหายใจ นับเป็นเทคนิคเบื้องต้นอย่างหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยมีการนำมาใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง , กลุ่มผู้ป่วยภาวะเหนื่อยหอบ (เพื่อควบคุมการหายใจเข้าออกให้ช้า ๆ) ผู้ป่วยกลุ่มโรค COPD , ผู้ป่วยโรคหัวใจ , ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ

โดยได้พัฒนาเป็นเครื่องมือต้นแบบ ประกอบด้วย

  1.  ชุดวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นตัวจับสัญญาณ เพื่อวัดอัตราการหายใจเข้า และออก ส่งสัญญาณป้อนกลับ (feedback) ไปยังผู้ใช้งาน

  2. ชุดวัดแรงดันอากาศที่สัมพันธ์กับระดับการหายใจในรูปแบบชุดรัดช่องท้อง พันรอบบริเวณทรวงอกส่วนล่างหรือบริเวณชายโครงของผู้ฝึก ใช้หลักการเดียวกับ arm cuff ที่ใช้พันรอบแขนเพื่อทำการวัดความดัน และมี sensor วัดแรงดันด้านในสำหรับจับสัญญาณการหายใจเข้า-ออกจากการเคลื่อนที่ของทรวงอก

  3. ซอฟต์แวร์รับสัญญาณและวิเคราะห์สัญญาณ (Respiratory Training) ที่แสดงและบันทึกผลผ่านหน้าจอ ใน Application บน smartphone ว่านอกจากนี้ยังมีกล่องวัดสัญญาณและชุดปั๊มแรงดัน เพื่อกระชับให้พอดีกับรูปร่างของแต่ละคน

              ผลงานวิจัย ได้รับทุนสนับสนุนโครงการจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการสร้างเครื่องมือ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ใหม่ไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ลดการนำเข้าเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกการหายใจ นอกจากนี้หากสามารถลดต้นทุนในการผลิตและเข้าสู่เชิงพาณิชย์ได้ จะทำให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระการพึ่งพิงผู้อื่นได้ โดยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 นักวิจัยเตรียมเข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564-2565 ที่จะถึงนี้อีกด้วย

ShareTweetShare
Previous Post

รหัสพันธุกรรมระบุตัวเสือโคร่งในกรงเลี้ยง ป้องกันการสวมทะเบียนเสือโคร่งในป่าธรรมชาติ

Next Post

ม.มหิดล คิดค้นโมเดลก้อนเนื้อมะเร็งจำลอง 3 มิติ ทดสอบยารักษามะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
ม.มหิดล คิดค้นโมเดลก้อนเนื้อมะเร็งจำลอง 3 มิติ ทดสอบยารักษามะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

ม.มหิดล คิดค้นโมเดลก้อนเนื้อมะเร็งจำลอง 3 มิติ ทดสอบยารักษามะเร็งจอประสาทตาในเด็ก

ม.แม่โจ้ ใช้เทคโนโลยีดักจับและควบคุมคาร์บอนฯ เพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา

ม.แม่โจ้ ใช้เทคโนโลยีดักจับและควบคุมคาร์บอนฯ เพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.