mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นาโนเทค จับมือ GPSC นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโนสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

นาโนเทค จับมือ GPSC นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโนสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

0

              สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์ ช่วยลดการจับเกาะของฝุ่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ทนทานต่อสภาพอากาศในเมืองไทย ลดภาระในการทำความสะอาดและบำรุงรักษา ร่วมในโครงการ Light for a Better Life ที่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารแผนกวิชาช่างกลเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว จ.สระแก้ว เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาสู่ศูนย์เรียนรู้ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของวิทยาลัยฯ ต่อไป

              ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน นาโนเทค สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยฯ ทำการพัฒนาสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวหลากหลายประเภท เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับพื้นผิวตามความต้องการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง พลาสติก กระดาษ รวมถึงพื้นผิวอื่นๆ เพื่อเพิ่มสมบัติพิเศษให้กับวัสดุได้ตามต้องการ

             “สำหรับสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์นี้ เป็นสูตรสารเคลือบที่พัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์อนุภาคนาโน และออกแบบให้อนุภาคมีการจัดเรียงตัวตามแบบที่กำหนดอย่างเป็นระเบียบ ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี โดยทีมวิจัยได้ทำการเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชั่นของอนุภาคนาโนให้มีสมบัติเฉพาะ ได้แก่ การกันฝุ่น สะท้อนน้ำ และยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ โดยสารเคลือบนาโนสูตรสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์นี้ ทีมวิจัยได้พัฒนาสารเคลือบให้อยู่ในรูปแบบสารละลาย ใช้งานได้ง่าย สามารถทำการเคลือบได้ทั้งก่อนติดตั้ง หรือว่าหลังติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์”

               ดร.ธันยกรอธิบาย นักวิจัยนาโนเทคได้พัฒนาสารเคลือบนาโนจากอนุภาคซิลิกา ที่มีความโปร่งใส ยึดเกาะบนพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์ได้ดี และลดการจับเกาะของฝุ่นอันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลง ทนทานต่อสภาพอากาศในเมืองไทย ช่วยลดภาระในการทำความสะอาดและบำรุงรักษา นอกจากนี้สารเคลือบนาโนสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์เซลล์แสงอาทิตย์ ผู้ที่ทำการเคลือบ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมนี้ สามารถต่อยอดใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้หลากหลาย อาทิ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง หรือกลุ่มธุรกิจบริการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ เพื่อคงสภาพคอนกรีตหรือสีทาภายนอกอาคาร ให้ใหม่อยู่เสมอ, อุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุโลหะ เพื่อเคลือบป้องกันสนิม, อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันฝุ่น ช่วยรักษาสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์ หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอหนังและพลาสติก เพื่อเพิ่มสมบัติการสะท้อนน้ำและสิ่งสกปรก กันฝุ่น หรือยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น

              ล่าสุด ได้มีความร่วมมือกับบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ภายใต้โครงการ Light for a Better Life ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 กิโลวัตต์ บนหลังคาอาคารแผนกวิชาช่างกลเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว จ.สระแก้ว โดย ดร.ธันยกร และทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ลงพื้นที่ร่วมกับคุณณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ จาก GPSC เพื่อนำนวัตกรรมเคลือบนาโนฯ ดังกล่าวไปเคลือบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง โดยมีคุณเกียรติสยาม ลิ้มตระกูล ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้วร่วมต้อนรับ ซึ่งโครงการ Light for a Better Life ของ GPSC นี้จะสนับสนุนให้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของวิทยาลัยฯ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า และต่อยอดกิจกรรมด้านการเกษตรสร้างรายได้สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และสร้างประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไป

ShareTweetShare
Previous Post

“ข้าวเกรียบจากเปลือกกล้วย” เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้ง ช่วยเกษตรกรเมืองนนท์

Next Post

มทร.ธัญบุรี คิดค้นนวัตกรรม เครื่องแยกเส้นใยผักตบชวา

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

3 months ago
33
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

4 months ago
36
น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมด้านพลังงาน

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

4 months ago
27
นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”

4 months ago
22
Load More
Next Post
มทร.ธัญบุรี คิดค้นนวัตกรรม เครื่องแยกเส้นใยผักตบชวา

มทร.ธัญบุรี คิดค้นนวัตกรรม เครื่องแยกเส้นใยผักตบชวา

ระบบตรวจจับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการอำพรางอาวุธปืนด้วย AI

ระบบตรวจจับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการอำพรางอาวุธปืนด้วย AI

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.