mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
มทร.ธัญบุรี อัพไซเคิลขยะซองบรรจุภัณฑ์สู่วัสดุก่อสร้างตกแต่งอาคาร

มทร.ธัญบุรี อัพไซเคิลขยะซองบรรจุภัณฑ์สู่วัสดุก่อสร้างตกแต่งอาคาร

0

              อีกผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในการแปรรูปสิ่งของเหลือใช้กำจัดยากให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่่ และกลายเป็นงานดีไซน์รักษ์สิ่งแวดล้อมรับเทรนด์โลก

             ดร.ประชุม คำพุฒ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ดูแลหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) กล่าวว่า หลายบริษัทฯ ประสบปัญหาเรื่องของการจัดการขยะพลาสติกประเภทซองบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นวัสดุผสมหลายอย่าง หรือ Multi-materials ด้วยเพื่อต้องการรักษาสภาพของสินค้าภายในให้มีคุณภาพ เช่น ตัวอย่างของซองกาแฟ ต้องเป็น แบร์ริเออร์ (Barrier) ที่ดีมากๆ คือ ต้องป้องกันไม่ให้ทั้งน้ำและอากาศเข้า เพราะจะทำให้กลิ่นกาแฟเพี้ยนไปจากเดิม จึงต้องเคลือบด้วยโลหะ เช่น อะลูมิเนียม สลับกันหลายชั้น ดังเช่นซองมันฝรั่งทอดที่เราเห็นผิวด้านในเป็นสีเงินแวววาว ซึ่งก็จะช่วยเก็บความกรอบให้มันฝรั่งทอดมีชีวิตอยู่บนชั้นวางสินค้าได้ยาวนานมากขึ้น

               ดังนั้น จึงเกิดเป็นปัญหาหลักในเรื่องของการจำกัดขยะซองบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และผู้ประกอบการทุกรายได้หาทางแก้ปัญหาการนำมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ไม่ได้ โรงงานรับซื้อขยะก็ไม่รับซื้อ เนื่องจากหาทางที่จะไปต่อไม่ได้ จึงต้องฝังกลบหรือเผาทิ้ง ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและพลังงานมหาศาล ทำให้มีบางบริษัทได้คิดค้นพลาสติกชนิดที่กันน้ำและอากาศซึมผ่านได้โดยไม่ต้องใช้โลหะเคลือบ (Mono-material) เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และเป็นเทคโนโลยีที่ยังเหมาะกับบริษัทฯ รายใหญ่ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วซองซาเช่ ซองฟอยด์ ซองลามิเนต ก็ยังคงต้องมีใช่อยู่ไปอีกนาน”

              หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มทร.ธัญบุรี ได้เปลี่ยนมุมมองความคิดเดิมๆ โดยไม่ยึดติดกับกรอบการวิจัยที่ผ่านมา เพื่อให้ก้าวผ่านขีดจำกัดในการจัดการขยะซองบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ คือ ถ้าหากเราคิดแต่การรีไซเคิล จะไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่การอัพไซเคิลได้เลย และหลายครั้งที่นักวิจัยใช้วิธีการรีไซเคิลเพื่อมาอัพไซเคิลอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ต้องการจะอัพไซเคิลซองฟอยด์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ แต่ต้องทำกระบวนการแยกฟอยด์ออกจากชั้นพลาสติกก่อน แล้วจึงนำฟอยด์ไปอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่น และนำพลาสติกที่แยกแล้วไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อีกแบบหนึ่ง เป็นต้น เช่นนี้ หน่วยวิจัยของเราไม่นับว่าเป็นการอัพไซเคิลในทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องจากต้องเสียเวลาในกระบวนการแยกวัสดุออกจากกัน จึงเลือกการอัพไซเคิล โดยการใช้ซองทั้งหมด 100% โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการแยกวัสดุออกจากกัน อีกทั้งวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต้องมีราคาถูก เพื่อให้ชุมชนเข้าถึงได้ง่าย ทำได้เอง ซึ่งชุมชนก็จะสามารถรับทำงาน CSR ของบริษัทฯ ขนาดใหญ่ได้อีกด้วย

              ผลิตภัณฑ์ที่ทางหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อัพไซเคิลจากซองขนมขบเคี้ยว และซองกาแฟ เช่น วัสดุตกแต่งผนังแบบสองมิติและแบบสามมิติ โดยได้รับการรันตีรางวัลเหรียญทองจากงาน “The Innovation Week in Africa” (IWA 2021) ผลงานเรื่อง “แผ่นอัดจากซองอลูมิเนียมฟอยด์สำหรับงานตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์” จัดโดย สมาคม OFEED ณ ประเทศโมร็อกโก (ออนไลน์) ระหว่างวันที่ 8-12 กันยายน 2564 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แผนงานวิจัยทะเลไทยไร้ขยะ อำนวยการแผนงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีโครงการพัฒนาต่อเป็นแผ่นไม้กระดานเทียม สำหรับทำเป็นพื้น ผนัง และแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซึ่งวัสดุหรือวัสดุต่างๆ ที่ได้ดำเนินการนี้สามารถใช้ขยะซองบรรจุภัณฑ์ได้ 100%

              ทั้งนี้ เมื่อต้องการทราบปริมาณการใช้ขยะซองบรรจุภัณฑ์ว่าสามารถใช้ได้เท่าไหร่ก็นำผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาชั่งน้ำหนักดู ก็จะได้ปริมาณขยะซองบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ไปได้ทันที นำผลงานไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ มีภาคเอกชนนำไปใช้จริง คาดว่าขยะ ซองซาเช่ ซองฟอยด์ ซองลามิเนต จากขยะที่ไม่มีค่าและต้องเสียเงินในการนำไปกำจัดทิ้ง ก็จะกลายเป็นขยะที่มีราคามากกว่าขยะพลาสติกอย่างแน่นอน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มทร.ธัญบุรี โทร.0-2549-3410 หรือทางเฟซบุ๊ก กลุ่ม “กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)”

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “ระบบชาร์จเร็วทางเลือกใหม่สำหรับรถไฟฟ้า” ใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ไม่ถึง 2 ชั่วโมง

Next Post

ระบบ “Persona Health” ให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวรายบุคคล

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

10 months ago
80
SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

10 months ago
54
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
48
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

10 months ago
85
Load More
Next Post
ระบบ “Persona Health”  ให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวรายบุคคล

ระบบ “Persona Health” ให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวรายบุคคล

แอปฯ “ช่างอาชีวะ” บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าฟรีถึงบ้าน สอดคล้องวิถีชีวิตยุคใหม่

แอปฯ “ช่างอาชีวะ” บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าฟรีถึงบ้าน สอดคล้องวิถีชีวิตยุคใหม่

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    100 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    82 shares
    Share 33 Tweet 21
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.