mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ระบบ “Persona Health”  ให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวรายบุคคล

ระบบ “Persona Health” ให้ความรู้การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวรายบุคคล

0

              สสส. จับมือ สปสช. เปิดตัวระบบ Persona Health จัดส่งความรู้และคำแนะนำการดูแลสุขภาพให้ผู้ใช้แอปฯ สปสช. แบบเฉพาะตัวรายบุคคล ตามอายุ เพศ และภาวะสุขภาพของแต่ละคน หวังช่วยให้ประชาชนดูแลสุขภาพตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

              นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมเปิดตัวความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ในการเชื่อมโยงระบบ “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ” ของ สสส. เข้ากับแอปพลิชัน “สปสช.” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะตัวตามภาวะสุขภาพของแต่ละคน ให้แก่ประชาชนผู้ใช้งานแอปฯ สปสช.  

             นพ.จเด็จ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลราคาถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สปสช. เห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิและรับบริการได้สะดวกมากขึ้น โดย สปสช. มีแอปพลิเคชันอยู่แล้ว ชื่อแอปฯ “สปสช” รองรับทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส เป็นการใช้เพื่อการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล การเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ การเชื่อมโยงกับกระเป๋าสุขภาพของแอปเป๋าตัง รวมถึงข้อมูลสุขภาพ (Health Record) เฉพาะคน แต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 แอป สปสช. มีการใช้มากขึ้น จึงคิดว่าในอนาคตจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพได้ 

              สปสช. มีข้อมูลประชากรถึง 48 ล้านคน หากสามารถผูกข้อมูลของประชาชนกับข้อมูลสุขภาพที่จำเป็น จะทำให้สามารถแนะนำประชาชนที่อยู่ในกลุ่ม วัย เพศ ที่เป็นเป้าหมายได้ว่าควรดูแลสุขภาพอย่างไร ยิ่งถ้าเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ สสส. มีอยู่แล้ว เชื่อว่าจะเอามาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น คนอายุวัย 50 ปี มีชุดสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับการดูแล เช่น ตรวจเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือด แต่การตรวจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้นการเชื่อมโยงกับชุดความรู้แนะนำการปฏิบัติตัวของ สสส. จะช่วยเสริมให้คนที่ไม่ป่วยดูแลตัวเองได้ดีขึ้น

            “สสส. มีชุดความรู้เต็มไปหมด ส่วน สปสช. ก็มีสิ่งที่จะบริการกับประชาชน หากนำ 2 สิ่งนี้มารวมกันโดยใช้เทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่าย เชื่อว่าจะเป็นพลังเสริมที่ทำให้ประชาชนดูแลสุขภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นประชาชนทุกคน ตอนนี้ท่านมีชุดความรู้ประจำตัวท่านอยู่ในมือแล้ว หากเปิดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ก็จะมีชุดความรู้เพื่อเสริมกับบริการที่ สปสช. จัดให้” นพ.จเด็จ กล่าว 

             ด้าน ดร.สุปรีดา กล่าวว่า การจะดูแลสุขภาพตัวเองได้ต้องรู้ข้อมูลสุขภาพสำคัญเสียก่อน ข้อมูลเหล่านี้ปัจจุบันได้กระจายในรูปแบบดิจิทัลหมดแล้ว ขณะที่ สสส.เอง ได้สะสมองค์ความรู้และเครื่องมือต่างๆ ในการดูแลสุขภาพมานานกว่า 20 ปี เช่น คู่มือการพูดเรื่องเพศกับลูก วิธีการเลิกบุหรี่ การตรวจระดับความหวาน มัน เค็มของอาหาร ฯลฯ จากเดิมที่อยู่ในกระดาษ วันนี้ สสส. ได้แปลงมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลหมดแล้ว 

               อย่างไรก็ดี เนื่องจากองค์ความรู้และเครื่องมือของ สสส. มีจำนวนนับพันชิ้น จึงต้องจัดหมวดหมู่ชุดความรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละคน เช่น อายุ เพศ สภาวะสุขภาพลักษณะต่างๆ การจะทำเช่นนี้ได้ต้องมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลกับ สปสช. โดยระบบที่เรียกว่า Persona Health เพื่อจัดส่งข้อมูลสื่อสุขภาพเฉพาะตัวบุคคลโดยใช้ AI ช่วยคัดกรองเครื่องมือหรือองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับคนๆ นั้น 

             “ระบบ Persona Health ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่น 1.0 ตัวระบบจะจับคู่หรือ match ข้อมูลสุขภาพเฉพาะของบุคคลโดยมีข้อมูลตั้งต้น คือ เพศและอายุ เช่น ผู้หญิงช่วงที่อายุเท่านี้ มีความจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งอะไรบ้าง และถ้าสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น เช่น ผู้ใช้แอปฯ คนนั้น เลือกดูในหัวข้อสุขภาพอื่นๆ ที่สนใจ หรือมีคีย์เวิร์ดจาก สปสช. ว่าผู้หญิงคนนี้มีภาวะเบาหวานด้วย ระบบก็จะจัดส่งชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องตามมาด้วย เป็นต้น” ดร.สุปรีดา กล่าว

              ดร.สุปรีดา กล่าวอีกว่า ในระยะเริ่มต้น ระบบ Persona Health จะเข้าไปอยู่ในแอปฯ สปสช. โดยมีไอคอนเฉพาะที่มีสัญลักษณ์ สสส. ติดอยู่ ผู้ใช้แอปฯ สามารถคลิกเข้าไปแล้วใช้งานดูได้ โดยขณะนี้ระบบแอนดรอยด์สามารถดาวน์โหลดได้แล้ว แต่ในระบบไอโอเอสรออีกประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้าข้อมูลสุขภาพบางอย่างยังไม่มี Solution หรือคำตอบให้ สสส.จะรวบรวมข้อมูลและประสาน สปสช. จัดทำชุดความรู้เพิ่ม คาดว่าในระยะเวลาไม่นานระบบนี้จะมีความรอบด้านและป้อนข้อมูลให้ประชาชนที่มีภาวะสุขภาพต่างกันได้รับข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้พร้อมสำหรับดูแลตัวเอง

              ทั้งนี้ นอกจากแอปฯ สปสช. แล้ว สปสช.ยังเชื่อมโยงข้อมูลกับแอปฯ เป๋าตัง ดังนั้น ระบบ Persona Health ก็จะตามไปด้วย รวมทั้งมีบริษัทประกันชีวิตอีก 2 บริษัท แสดงความสนใจนำเครื่องมือนี้ไปใช้กับผู้เอาประกันของตน ขณะเดียวกันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ก็กำลังทำโครงการอาสาสมัครอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ซึ่งแนวโน้มน่าจะมีประมาณ 80,000 คน อสด.ก็จะเอาข้อมูลความรู้เหล่านี้ไปกระจายต่อเช่นกัน

             ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ติดตั้งแอปพลิเคชัน สปสช. แล้วกว่า 5.5 แสนราย ท่านที่สนใจเพียงพิมพ์คำว่า “สปสช.” ใน App Store (ระบบ iOS) หรือ ใน Google Play (ระบบ Android) ดาวน์โหลด ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

หรือคลิกดาวน์โหลด
ระบบ iOS : https://goo.gl/PHMJ1E
ระบบ Android : https://goo.gl/BFtGCq

ShareTweetShare
Previous Post

มทร.ธัญบุรี อัพไซเคิลขยะซองบรรจุภัณฑ์สู่วัสดุก่อสร้างตกแต่งอาคาร

Next Post

แอปฯ “ช่างอาชีวะ” บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าฟรีถึงบ้าน สอดคล้องวิถีชีวิตยุคใหม่

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
แอปฯ “ช่างอาชีวะ” บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าฟรีถึงบ้าน สอดคล้องวิถีชีวิตยุคใหม่

แอปฯ “ช่างอาชีวะ” บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าฟรีถึงบ้าน สอดคล้องวิถีชีวิตยุคใหม่

นวัตกรรม “กำแพงต้นไม้อัจฉริยะ” ช่วยกรองมลพิษ ลดฝุ่น PM2.5

นวัตกรรม “กำแพงต้นไม้อัจฉริยะ” ช่วยกรองมลพิษ ลดฝุ่น PM2.5

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
98

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.