mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
โปรแกรม ITAP สวทช. หนุนผู้ประกอบการ พัฒนาชุดตรวจสารเคมีตกค้างในภาคการเกษตร

โปรแกรม ITAP สวทช. หนุนผู้ประกอบการ พัฒนาชุดตรวจสารเคมีตกค้างในภาคการเกษตร

0

           ผู้บริโภค เฮ โปรแกรม ITAP  สวทช. หนุนผู้ประกอบการ พัฒนาชุดตรวจสารเคมีตกค้างในภาคการเกษตร มีการนำไปใช้จริงแล้วกับร้านอาหารชั้นนำ และโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังผลิตนวัตกรรมน้ำยาล้างผักและผลไม้ เอาใจสายเฮลท์ตี้ ที่นิยมซื้อผักสดผลไม้ มาปรุงอาหารเองที่บ้าน ช่วยล้างผักผลไม้ ให้ปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์และยาฆ่าแมลงได้มีประสิทธิภาพ

            ศ.ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) โดยศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้สนับสนุนให้ทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อช่วยผู้ประกอบการพัฒนาชุดตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรอย่างง่าย และทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากหยาดน้ำดอกมะพร้าว เพื่อลดปริมาณสารเคมีตกค้างและลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในผักและผลไม้ ให้กับ 2 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เอิร์ธแคร์อินโนซิส จำกัด โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดตรวจสอบ CHEMISPOT ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบสารกำจัดวัชพืช 2 ชนิด คือ พาราควอต (Paraquat) และไกลโฟเซต (Glyphosate) สำหรับใช้คัดกรอง (screening) การตกค้างของสารเคมีในผักและผลไม้ โดยแสดงผลว่า ‘พบ’ หรือ ‘ไม่พบสารตกค้าง’ สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และทราบผลทดสอบได้ทันที

            “ชุดตรวจสอบพาราควอต อยู่ในรูปของ “เจลทดสอบ” มีสีขาวขุ่น อยู่ในภาชนะพลาสติกขนาดเล็ก การทดสอบทำได้ง่ายๆ โดยใส่ตัวอย่างของเหลว ลงในสารทดสอบ หากไม่มีสารพาราควอต สารทดสอบจะมีสีขาวใสเหมือนเดิม แต่ถ้ามีสารพาราควอต สารทดสอบจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าทันที โดยความเข้มของสีจะเปลี่ยนไปตามปริมาณของสารพาราควอตที่พบ”

           “ชุดตรวจสอบไกลโฟเซต อยู่ในรูป“ของเหลวทดสอบ” มีลักษณะสีขาวใส บรรจุในขวดแก้ว ใช้งานโดยเติมตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ ในขวดทดสอบ เขย่าและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีที่เกิดขึ้น จากการทำปฏิกิริยาของสารทดสอบกับสารไกลโฟเซต จะทำให้เกิดสีเหลืองขุ่น โดยความเข้มของสีจะเปลี่ยนไปตามปริมาณของสารไกลโฟเซตที่พบ”

           ทั้งนี้ชุดตรวจสอบนี้ถูกนำไปใช้ทดสอบผักและผลไม้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรงแรม 5-6 ดาว รวมถึงร้านอาหารชั้นนำต่างๆ

            นายอุกฤษฏ์ วิศิษฐ์กิจการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอิร์ธแคร์อินโนซิส จำกัด กล่าวว่า บริษัท เอิร์ธแคร์ฯ เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศเพื่ออาหารปลอดภัย และสนใจที่จะพัฒนาชุดตรวจสอบที่ใช้ง่าย สามารถใช้ได้เองที่บ้าน ซึ่งการที่ได้ร่วมโครงการกับโปรแกรม ITAP สวทช. ทำให้สินค้าของบริษัท ทั้งผลิตภัณฑ์ Paraquat หรือ Glyphosate ได้รับการตอบรับจากทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ตัวชุดตรวจสอบได้ถูกใช้จริงในโครงการของสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แล้ว เพื่อนำร่องในโครงการอาหารปลอดภัยสำหรับให้คนในชุมชน โรงเรียน สถานพยาบาล ตื่นตัวถึงปัญหาสารเคมีตกค้างในผักและในน้ำ ทำให้นักเรียนผู้เข้าร่วมในโครงการอาหารปลอดภัย มีโอกาสใช้ชุดตรวจสอบและเห็นถึงปัญหาด้วยตนเองด้วย

            ศ.ดร. พวงรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นแล้วยังมีผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งตัวคือ “ชีวาดี ฟรุต แอนด์ เวจจี่    วอช” (Chiwadi Fruit Veggie Wash) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด ได้พัฒนาขึ้นจากหยาดน้ำดอกมะพร้าว ซึ่งได้มีการทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่าประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์เริ่มแรกสามารถลดแบคทีเรียและสารเคมีปราบศัตรูพืชได้ในระดับหนึ่ง แต่เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าจะได้ผักผลไม้ที่ปลอดภัยจริง ทีมวิจัยได้ปรับสูตรน้ำยาล้างผัก โดยต่อยอดจากสูตรเดิม ทั้งการเพิ่มสารสำคัญ ปรับสัดส่วนของสารต่างๆ ในน้ำยาล้างผักและปรับปริมาณการใช้น้ำยาล้างผัก ทำให้สามารถล้างผักและผลไม้ ให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักผลไม้ ได้ในเวลาอันสั้น โดยผลทดสอบพบว่า Chiwadi Fruit Veggie Wash สูตรใหม่ สามารถกำจัดจุลินทรีย์ตกค้างได้หมด และช่วยลดยาฆ่าแมลง ที่ใช้ทดสอบสองชนิด คือ Methomyl และ Lambda-Cyhalothrin จากในระดับที่ ‘ไม่ปลอดภัยมาก’ ให้เป็นระดับ ‘ปลอดภัย’ ได้

             ด้าน นางสารภี ยวดยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า ทีมวิจัยได้ดำเนินการทดลองและช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถเข้าถึงงานวิจัย เข้าใจลักษณะงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งนอกจาก    ผลการทดลองที่ทำให้ได้รับความมั่นใจในตัวสินค้าแล้ว ยังได้รับคำแนะนำการปรับให้สูตรสมดุล เพื่อประโยชน์สูงสุดกับขนาดธุรกิจของตนเอง และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคด้วย

            “ด้วยธุรกิจขนาดเล็กของเราเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ล้างผักและผลไม้อินทรีย์ ที่ไม่มีสารเคมีเป็น    รายแรกของประเทศ และได้ผลในการลดเชื้อจุลินทรีย์ทำความสะอาดและชำระล้างสารเคมีตกค้าง ประเภทกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้มีประสิทธิภาพดีในระดับปลอดภัย”

               ขณะนี้ บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับ อย. เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ที่ใช้สารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ซึ่งยังไม่มีในพระราชบัญญัติอาหาร หากได้รับใบอนุญาตจาก อย. เรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ พร้อมส่งออกสินค้าต่อไป เนื่องจากช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เรื่องของความสะอาดปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้โภคคำนึงถึงเป็นลำดับแรก ทำให้สินค้ามีแนวโน้มแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดได้ทั้งในและนอกประเทศ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวาดีฯ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : nstda

ShareTweetShare
Previous Post

เด็กไทยคิดค้นนวัตกรรม “รีไซเคิลถุงพลาสติกสู่ถุงเพาะกล้าไม้”

Next Post

วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

3 months ago
23
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
18
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

3 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

3 months ago
8
Load More
Next Post
วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

วว. วิจัยพัฒนา “ข้าวอุดมซีลีเนียม” ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

วว. วิจัยพัฒนา “ข้าวอุดมซีลีเนียม” ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.