สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนนวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา ผลงานต่อยอดจากโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหมอนยางพาราระดับชุมชน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน จังหวัดพัทลุง ตอบรับต่อสถานการณ์ปัจจุบันในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
นับตั้งแต่สถานการณ์ราคายางตกต่ำ ช่วงปี 2556 เป็นต้นมา ชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง ต้องเผชิญกับภาวะยางล้นตลาดและราคายางที่ตกต่ำ จนขาดความเชื่อมั่นในการทำสวนยาง อีกทั้งการปลูกพืชทดแทนยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นำโดยนายชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร จึงนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ คุณภาพ 100% โดยได้ทำการศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยการยาง จนเมื่อ พ.ศ.2558 ได้ริเริ่มทำโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราระดับชุมชนขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ยางพารา และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนชาวสวนยาง อีกทั้งโครงการวิจัยยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก วช. เมื่อปี พ.ศ.2559 เพื่อปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่สถานการณ์ราคายางตกต่ำ ช่วงปี 2556 เป็นต้นมา ชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง ต้องเผชิญกับภาวะยางล้นตลาดและราคายางที่ตกต่ำ จนขาดความเชื่อมั่นในการทำสวนยาง อีกทั้งการปลูกพืชทดแทนยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นำโดยนายชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร จึงนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ คุณภาพ 100% โดยได้ทำการศึกษาดูงานที่สถาบันวิจัยการยาง จนเมื่อ พ.ศ.2558 ได้ริเริ่มทำโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราระดับชุมชนขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ยางพารา และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนชาวสวนยาง อีกทั้งโครงการวิจัยยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก วช. เมื่อปี พ.ศ.2559 เพื่อปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
โดยกลุ่มสหกรณ์ฯ ได้นำสูตรและวิธีการจากการศึกษาดูงานมาทดลอง ทำการปรับสูตรจนสัมฤทธิ์ผล จึงลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยกรรมวิธีหลักในการผลิต คือ น้ำยางที่ใช้ต้องผ่านการใช้หัวปั่นน้ำยาง เพื่อให้ได้ความเข้มข้น 60% ขึ้นไป จึงนำมาผสมกับสารเคมี คือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฟองสบู่ สารกันเชื้อรา สารกันยุบ ให้ขึ้นรูป ซึ่งการผลิตชุดที่นอนยางพารา จะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน ตามองค์ประกอบการผลิตที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายแบบได้อย่างสมบูรณ์
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้นำนวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา คุณภาพ 100% ที่ต่อยอดมาจากโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหมอนยางพาราระดับชุมชน ไปใช้เพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลสนาม สังกัด กระทรวง อว. ในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เนื่องด้วยคุณสมบัติที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระการนอน สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมฝุ่นและเชื้อโรค อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 10 ปี โดยปัจจุบันได้มอบไปแล้วทั้งสิ้น 1,400 ชุด
นายชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตร จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ชุดที่นอนยางพารา 100% มีขนาดและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนอนหลับพักผ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องวิตกกังวล มีความเครียด จนอาจส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งชุดที่นอนยางพารามีคุณสมบัติในการช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ในอนาคตจึงอยากให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิจัยไทย ช่วยขยายผลเรื่องการแปรรูปมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับชุมชนและในระดับอุตสาหกรรม เพราะเชื่อมั่นว่าการแปรรูปยางพาราจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำได้
ปัจจุบันกลุ่มสหกรณ์ฯ ได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้การแปรรูป (จุดสาธิตการแปรรูปหมอนยางพารา) เพื่อให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป รวมถึงมีการขยายผลและถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังโรงงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าชุดที่นอนยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ให้กับสังคมอย่างได้แท้จริง
Discussion about this post