mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
“โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” สู่เนื้อบดเทียมทดแทนเนื้อสัตว์

“โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” สู่เนื้อบดเทียมทดแทนเนื้อสัตว์

0

             กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัวความสำเร็จผลงานวิจัย “โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” หรือ “มัยคอโปรตีน (Mycoprotein)” ที่ผลิตได้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยโปรตีนที่ได้มีลักษณะเส้นใยคล้ายเนื้อสัตว์ ไม่มีคอเลสเตอรอล อุดมด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และเบต้ากลูแคน ที่สำคัญบริโภคได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อน ที่สำคัญเตรียมร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาสู่ “เนื้อบดเทียม” และ “ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป” ออกสู่ตลาด

            ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชันและนวัตกรรมอาหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “การพัฒนาเทคโนโลยี ทีมวิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัย เป็นเกรดอาหาร (food-grade microbe) และมีประสิทธิภาพในการผลิต โดยมีคุณสมบัติเด่น คือ 1. เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ผลิตโปรตีนปริมาณมาก 2. มีการสร้างเส้นใยที่มีลักษณะเหมาะสม และ 3. เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ปลอดภัย ไม่สร้างสารพิษ หรือ มัยคอทอกซิน (Mycotoxin) ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยทีมวิจัยนำเส้นใยมัยคอโปรตีนที่ผลิตได้ไปตรวจวิเคราะห์เพื่อรับรองความปลอดภัยด้วย หลังจากได้สายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสม มีการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบ เพื่อให้พร้อมต่อยอดสู่ระดับอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการผลิตโปรตีนที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้

            โปรตีนที่จุลินทรีย์ผลิตมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายกับเนื้อสัตว์ แต่ทีมวิจัยได้ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่ดีมากขึ้น ตอนนี้ผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะคล้ายเนื้อเทียมบด สามารถใช้ประกอบอาหารปรุงรสทดแทนเนื้อสัตว์บดได้ ซึ่งในอนาคตมีแผนพัฒนาขึ้นรูปให้เป็นชิ้นเนื้อที่มีความคล้ายคลึงเนื้อสัตว์มากขึ้น ส่วนคุณค่าทางโภชนาการพบว่ามีโปรตีนสูงเทียบเท่ากับโปรตีนจากไข่ ไม่มีคอเลสเตอรอล อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกตัว มีไฟเบอร์ ไวตามิน รวมถึงเบต้ากลูแคน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีความปลอดภัยในการบริโภคด้วย เพราะในกระบวนการผลิตซึ่งเป็นเทคโนโลยีการหมัก ไม่ใช้สารเคมี และไม่มียาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ดีขณะนี้ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้ร่วมกับ บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด เจ้าของแบรนด์ “น้ำตาลลิน” ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศไทย เดินหน้าการวิจัยต่อยอดในระดับกึ่งอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเพิ่มมูลค่าโปรตีนทางเลือกสู่ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมต่างๆ ด้วย”

         ด้าน นางอัจฉรา งานทวี ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด กล่าวว่า ทุกวันนี้น้ำตาลถูกมองเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสุขภาพ และรณรงค์ให้ทานน้ำตาลน้อยลง บริษัทจึงพยายามมองหานวัตกรรมที่จะต่อยอดการผลิตไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีมูลค่า มากขึ้น กระทั่งมาเจองานวิจัยการพัฒนามัยคอโปรตีนจากจุลินทรีย์ของไบโอเทค สวทช. ทำให้เห็นโอกาส และเกิดเป็นความร่วมมือในการวิจัยพัฒนา เนื่องจากในกระบวนการผลิตต้องใช้น้ำตาลเป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ ประกอบกับโปรตีนทางเลือกคือ “เทรนด์อาหารแห่งอนาคต” เป็นอุตสาหกรรมอาหารรูปแบบใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก

         “ตอนนี้เรามองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปที่อาหารสำเร็จรูป รวมถึงการขายเป็นวัตถุดิบเนื้อเทียมให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เพราะผู้บริโภคปัจจุบันรักสุขภาพมากขึ้น สังเกตจากผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ปรับเปลี่ยนมารับประทานโปรตีนจากพืชจำนวนมาก หรือแม้แต่ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันและระบบการย่อยอาหาร ไม่สามารถทานเนื้อสัตว์ได้ปริมาณมาก โปรตีนจากจุลินทรีย์จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่มาทดแทนได้ นอกจากนี้ยังตอบโจทย์กลุ่มคนที่รักสิ่งแวดล้อม เพราะการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ถือเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอนนี้อยู่ระหว่างการวิจัยปรับเนื้อสัมผัสให้เหมือนเนื้อสัตว์มากที่สุด มีรสชาติดี และตุ้นทุนการผลิตต่ำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด คาดว่าอาจจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ภายในปลายปี 2564 นี้”

         ผู้ที่สนใจงานวิจัย “โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” นวัตกรรมอาหารแห่งโลกยุคใหม่ ธุรกิจอาหารมุมมองใหม่แห่งอนาคต ติดตามเพิ่มเติมได้ที่งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16 (NAC2021: NSTDA Annual Conference 2021) ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น ระหว่างวันที่ 25-30 มีนาคม 2564 นี้ ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ https://www.nstda.or.th/nac/2021/ สอบถามเพิ่มเติม 02-5648000

ที่มา : สวทช.

ShareTweetShare
Previous Post

ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุ

Next Post

หุ่นยนต์ RAIBO-X ฆ่าไวรัสโควิดด้วยแสง UV-C

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

10 months ago
78
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
47
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

10 months ago
85
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

10 months ago
131
Load More
Next Post
หุ่นยนต์ RAIBO-X ฆ่าไวรัสโควิดด้วยแสง UV-C

หุ่นยนต์ RAIBO-X ฆ่าไวรัสโควิดด้วยแสง UV-C

Chemical Recycling นวัตกรรม “เปลี่ยน” พลาสติกใช้แล้ว “เป็น” วัตถุดิบตั้งต้นให้โรงงานปิโตรเคมี

Chemical Recycling นวัตกรรม “เปลี่ยน” พลาสติกใช้แล้ว “เป็น” วัตถุดิบตั้งต้นให้โรงงานปิโตรเคมี

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.