ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติกำลังเป็นที่สนใจในการนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิม ที่ผลิตมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ โดยแป้งถือเป็นวัสดุทางชีวภาพอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่เป็นพิษ และย่อยสลายได้ง่าย แต่แป้งก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น สมบัติการต้านทานน้ำและสมบัติเชิงกลต่ำ จึงมีการนำแป้งมาผสมร่วมกับวัสดุที่ย่อยสลายทางธรรมชาติ โดยนำไพลิไวนิลแอลกอฮอล์มาผสมกับแป้งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตเป็นบรรจุซึ่งภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ เนื่องจากความเข้ากันได้ดีและสามารถขึ้นรูปฟิล์มได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีการนำน้ำมันหอมระเหยได้จากการสกัดพืชมาประยุกต์ใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ จะมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย แต่จะส่งผลให้คุณสมบัติทางกลของฟิล์มบรรจุภัณฑ์ลดลง
รองศาสตราจารย์พรนภา เกษมศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาแผ่นฟิล์มยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์โดยใช้แป้งมันสำปะหลังมาทำแผ่นฟิล์มร่วมกับการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนและน้ำมันหอมระเหยจากพืชโดยใช้วิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้แผ่นฟิล์มที่มีสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่นำไปประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับถนอมอาหาร
ซึ่งแผ่นฟิล์มถนอมอาหารและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ได้มีการทดลองในระดับห้องทดลอง โดยทดสอบกับมะเขือเทศราชินี พบว่าแผ่นฟิล์มสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษามะเขือเทศราชินีได้มากกว่า เมื่อเทียบกับสูตรควบคุม โดยวัดการสูญเสียน้ำหนักของมะเขือเทศ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่ายภายใน 2 เดือน มีความต้านทานน้ำ ไม่เปื่อยยุ่ยเมื่อโดนน้ำ
สามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณพรรณรวี กบิลพัฒน์
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 043-202733
E-mail: panravee@kku.ac.th
คุณจินดาพร พลสูงเนิน
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 043-202733
E-mail: chinph@kku.ac.th
ที่มา : nstda.or.th
Discussion about this post