mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“COXY-AMP” ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

“COXY-AMP” ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

0

          เนื่องจากมีการระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรค หรือเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันมีชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 หลายรูปแบบ เช่น ชุดตรวจโรคโควิด-19 แบบรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test; RDT) ที่กำลังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการมาตรฐานในการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส แต่ยังมีข้อเสีย กล่าวคือ วิธี RDT เป็นการตรวจหาแอนติเจนหรือแอนติบอดี ซึ่งการตรวจแอนติเจนต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วันจึงจะได้ผลที่แม่นยำ ขณะที่การตรวจแอนติบอดีจะตรวจพบในวันที่ 10 เป็นต้นไป จนกระทั่งหายป่วยแล้ว (หากตรวจนอกเหนือจากเวลาดังกล่าวอาจให้ผลที่ไม่แม่นยำ) ส่วนวิธี Real-time RT PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานเป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส แม้ว่ามีความไว และความจำเพาะสูง แต่มีข้อจำกัดด้านเทคนิคบางประการ ทำให้พื้นที่ต่างจังหวัดที่ห่างไกลยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ และเครื่องมือมีราคาแพง

            ดร.ภคพฤฒ คุ้มวัน นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า แม้เทคนิค real-time PCR (RT-PCR) จะเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน และเป็นเทคนิคที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ประสิทธิภาพสูง แต่ว่ายังไม่สามารถนำไปใช้ตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและปริมาณมากได้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่มีราคาสูง และจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการที่มีเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น

        “ทีมวิจัยได้พัฒนา “COXY-AMP” ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ซึ่งเทคนิคแลมป์คือการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจง ภายใต้อุณหภูมิที่คงที่ จึงทำได้ง่ายในกล่องให้ความร้อน และความพิเศษของ COXY-AMP คือเมื่อเกิดปฏิกิริยาสีจะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ จึงสามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล

         ปัจจุบัน COXY-AMP ประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1. COXY-AMP ชุดตรวจโรคโควิด-19 ซึ่งใช้ตรวจหาสารพันธุกรรมชนิด RNA ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) แต่ด้วยปัจจุบันวิธีการสกัด RNA จากคนไข้ทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะให้คุณภาพและปริมาณของ RNA ที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยจึงพัฒนาชุดตรวจที่ 2. COXY-AMP Internal Control เป็นชุดตรวจที่ใช้ประเมินคุณภาพของ RNA ที่นำมาทดสอบว่ามีคุณภาพและปริมาณที่ดีพอหรือยัง เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ”

"ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว"

            สำหรับวิธีการทำงาน ดร.ภคพฤฒ อธิบายว่า ทั้ง 2 ชุดตรวจ มีขั้นตอนการทำงานที่ง่ายเหมือนกัน เพียงแค่ผู้ใช้ใส่สารพันธุกรรม RNA ที่สกัดได้ในหลอดปฏิกิริยาทดสอบ และนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 75 นาที จากนั้นสีของสารในหลอดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนอัตโนมัติ โดย COXY-AMP ชุดตรวจโรคโควิด-19 จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ส่วน COXY-AMP Internal Control จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียว หมายถึงสารพันธุกรรม RNA ที่นำมาทดสอบนั้นมีคุณภาพดีเพียงพอ    

           “หากนำเทคโนโลยี COXY-AMP มาเปรียบเทียบกับ RT-PCR จะพบว่า COXY-AMP มีต้นทุนในการตรวจคัดกรองเพียง 300 บาทต่อตัวอย่าง ขณะที่ RT-qPCR มีต้นทุนสูงกือบ 1,000 บาท นั่นเท่ากับ COXY-AMP มีราคาถูกกว่าถึง 3 เท่า หากแต่ว่าความเป็นจริงราคาตรวจโรคโควิด-19 ด้วย RT-PCR ในประเทศไทยนั้น มีราคาสูงถึง 5,000 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก นอกจากนี้ COXY-AMP ยังใช้อุปกรณ์ในการตรวจคือกล่องให้ความร้อนซึ่งมีราคาเพียง 10,000 บาท ถูกกว่า RT-PCR ถึง 100 เท่า เพราะเครื่องตรวจ RT-PCR มีราคาตั้งแต่ 600,000-1,000,000 บาท ซึ่ง COXY-AMP ไม่เพียงมีต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 อย่างมาก โดยจากการทดสอบชุดตรวจนี้กับตัวอย่างเริ่มต้น 146 ตัวอย่าง พบว่ามีความจำเพาะ (Specificity) 100% ความไว (sensitivity) 100% และมีความถูกต้อง (accuracy) ที่ 100% อีกทั้งยังสามารถแสดงผลได้ภายใน 75 นาที ซึ่งเร็วกว่า RT-PCR ถึง 2 เท่า”

           COXY-AMP เป็นเทคโนโลยีที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับ RT-PCR อีกทั้งยังใช้งานได้ง่ายกว่า ส่วนในเชิงการผลิตนั้นยังสามารถนำไปขยายขนาดตามกำลังการผลิตของผู้ประกอบการได้ ที่สำคัญแม้การระบาดของโควิด-19 จะยุติลงในอนาคต เทคโนโลยีหลักของ COXY-AMP ยังนำไปประยุกต์ดัดแปลงให้มีความเหมาะสมต่อการตรวจเชื้อโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งขณะนี้ COXY-AMP ชุดตรวจโรคโควิด-19 และ COXY-AMP Internal Control พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในภาคการผลิตหรือจำหน่ายชุดตรวจทางการแพทย์ที่สนใจ 

สามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  
นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 0-2564-6700 ต่อ 3254, 3533
E-mail: wansika@biotec.or.th

ที่มา : nstda.or.th

Share1Tweet1Share
Previous Post

“Smart Pulz” นวัตกรรมเครื่องมือวัดสัญญาณชีพระยะไกล

Next Post

แอปพลิเคชัน “กินยาแล้ว” นวัตกรรมจัดยาด้วยระบบ AI

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
แอปพลิเคชัน “กินยาแล้ว” นวัตกรรมจัดยาด้วยระบบ AI

แอปพลิเคชัน "กินยาแล้ว" นวัตกรรมจัดยาด้วยระบบ AI

นักวิจัย “สวทช.” สังเคราะห์สารตั้งต้นยา “ฟาวิพิราเวียร์” ต้านโควิดสำเร็จ

นักวิจัย “สวทช.” สังเคราะห์สารตั้งต้นยา “ฟาวิพิราเวียร์” ต้านโควิดสำเร็จ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.