หม้อแปลงไฟฟ้าเจริญชัย วิจัย/พัฒนา หม้อแปลง Low Carbonช่วยผู้ประกอบการลดคาร์บอน 100 ล้านตัน/ปี เป็นนวัตกรรมคนไทยทันสมัยที่แรกของโลก ที่มีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าชาญฉลาด/ทันสมัย เสมือนปลูกป่าในเมือง 105,263,158 ไร่ ดูดซับคาร์บอน มุ่งสู่ Net Zero Emission ตามนโยบายรัฐ
ประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี ค.ศ.2065 เนื่องจากระยะที่ผ่านปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) มีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ และจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกระดับโดยเร็ว และประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตลอดจนหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา climate change โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลดและควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามาส่วนร่วมในการแก้ไข้ปัญหาร่วมกันใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและพฤติกรรมการบริโภค
โดยบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้วิจัยและพัฒนาสร้างผลงานโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ประเภทด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ของหม้อแปลง Low Carbon ที่มีระบบบริหารจัดการพลังงานสิ้นเปลืองแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในสถานประกอบการให้อยู่ในระดับพลังงานที่เหมาะสมและเสถียรภาพ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้รับการยกย่องจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO มอบประกาศเกียรติคุณให้แก่บริษัทฯ ที่สามารถพัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 69.746 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นนวัตกรรมไทยของคนไทยที่แรกของโลก ลดคาร์บอน ช่วยไทยเร่งสู่เป้าหมาย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ “Net Zero Emission” ตามนโยบายของรัฐบาล หม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ตอบโจทย์การลดคาร์บอนได้ถึง100 ล้านตัน/ปี เหมือนปลูกป่าในเมือง 105,263,158 ไร่ ดูดซับคาร์บอน และวารสาร IEEE พร้อมตีพิมพ์เผยแพร่นวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon เพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่จะพลิกโฉมประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า เน้นการเติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น สร้างพลวัตใหม่ให้แก่เศรษฐกิจ และจะเป็นประโยชน์สำหรับภาคธุรกิจทุกขนาด
Discussion about this post