5G คือ Generation ใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีการส่งข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้ง 5G ไม่ได้จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT)
เนื่องจากเทคโนโลยีมีความหลากหลายมาก มีคำศัพท์เฉพาะมากมาย เพื่อให้ทันกับยุคเทคโนโลยี 5G เรามารู้จักคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้กัน
5G NR หรือ 5G New Radio
5G NR คือ Radio Access Technology (RAT) ที่พัฒนาขึ้นโดย 3rd Generation Partnership Project (3GPP) รุ่นที่ 5 ถือเป็นชื่อมาตรฐานสากลของการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 5G โดยคลื่อนความถี่ที่ใช้ของ 5G NR จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงความถี่ ได้แก่
- Frequency Range 1 (FR1), คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 6 GHz หรือ sub-6
- Frequency Range 2 (FR2), ช่วงความถี่สูงมาก (mmWave) อยู่ในช่วง 20 GHz จนถึง 60 GHz
mmWAVE
คลื่น 26 GHz หรือ mmWave เป็นคลื่นความถี่สูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะสำหรับการใช้งานความเร็วสูงสุดและสามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานในปริมาณมาก พร้อมทั้งมีความแม่นยำในการใช้งานเพื่อรองรับนวัตกรรม 5G ต่างๆ ในอนาคตได้อย่างแท้จริง โดยสามารถนำมาพัฒนาคอนเทนท์ร่วมกับการใช้ VR หรือ AR รวมถึงออกแบบบริการ 5G เพื่อสาธารณสุขในที่ห่างไกล เป็นต้น
FCC เรียกว่า High Band ส่วน Qualcomm นั้นจะ เรียก mmWave
FCC คือ (Federal Communication Commission) องค์กรนี้เป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐ (คล้าย กสทช) ที่วางระเบียบให้แก่อุปกรณ์ประเภทวิทยุ ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่คลื่นวิทยุ
5G NR มีการติดตั้ง 2 โหมดด้วยกัน คือ Standalone (SA) และ Non-Standalone (NSA)
Non-Standlone (NSA)
การติดตั้งแบบ Non-Standalone หรือ NSA จะนำมาใช้ในการติดตั้งในช่วงแรก เพื่อความรวดเร็วในการวางเครือข่าย 5G ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมด โดยการติดตั้งแบบนี้จะใช้ส่วน Core Network ของเทคโนโลยี 4G เดิม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และสามารถให้บริการ 5G ได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้ง Core Network ใหม่เพียงแต่ทำการอัปเกรดอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นและให้แบนด์วิธที่มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจะมีการเปลี่ยนเป็น 5G SA หรือ 5G Standalone ทั้งหมดเพื่อให้สามารถเข้าถึงความสามารถของ 5G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Low Band
Low Band หรือเรียกอีกอย่างว่า คลื่นความถี่ต่ำ เป็นคลื่นในช่วงที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น คลื่น 850 MHz และ 900 MHz ส่วนในคลื่น 5G ที่ไทยพึ่งมีการประมูลไปนั้นเป็นคลื่น 700MHz คลื่นความถี่ต่ำมีระยะการกระจายสัญญาณที่กว้างมาก ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างโดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเสาสัญญาณเยอะ แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดความเร็วของสัญญาณ ทำให้การ UL/DL ข้อมูลนั้นทำความเร็วสูงมากไม่ได้
Mid Band
Low Band หรือเรียกอีกอย่างว่า คลื่นความถี่ระดับกลาง มีเป็นย่านความถี่ตามชื่อ คือสูงกว่า Low-Band แต่ยังไม่ถึงระดับ Sub-6 อยู่ในช่วงย่านความถี่ 2 ถึง 6 GHz ระยะสัญญาณแม้จะไม่ได้ไกลเท่า Low Band แต่ก็ยังพอนำมาให้บริการตามพื้นที่ชุมชนได้ ทำความเร็วของสัญญาณได้โอเค ซึ่งก็มีทาง Sprint ที่ได้นำคลื่น 2.5 GHz มาให้บริการ 5G อยู่เช่นกัน
Latency
Latency เป็นคำที่เอาไว้พูดถึงคุณภาพสัญญาณ เนื่องจากการส่งข้อมูลจะมีการสูญเสียเวลาไป พูดง่ายๆก็คือ ค่าLatency เป็นระยะเวลาที่ใช้ไปทั้งหมด ตั้งแต่การส่งข้อมูลไปยังปลายทางและส่งข้อมูลกลับมายังต้นทาง ซึ่งค่านี้ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้การตอบสนองแบบเรียลไทม์ระหว่างปลายทางกับผู้ใช้ ในเวลาเดียวกันเหมือนอยู่ที่เดียวกัน
Massive MIMO
MIMO ย่อมาจาก Multiple-Input Multiple-Output คือเทคโนโลยีที่มีการรับและการส่งสัญญาณข้อมูลที่มากกว่าหนึ่งในเวลาและในช่องความถี่เดียวกันเดียวกัน สำหรับระบบ Massive MIMO ก็คือระบบ MIMO ที่มีการเพิ่มปริมาณของเสาอากาศมากขึ้น เช่น 32หรือ 64 หรือมากกว่า ประโยชน์ของ MIMO คือทำให้ส่งข้อมูลได้มากขึ้น
Discussion about this post