mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
2 นวัตกรรม ช่วยบรรเทารักษา “โรคเบาหวาน”

2 นวัตกรรม ช่วยบรรเทารักษา “โรคเบาหวาน”

0

         สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์มาโดยตลอด เพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษา “ภาวะเบาหวาน” เนื่องจากเป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ – หลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ฯลฯ

         ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า “NIA ให้ความสำคัญกับการยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางแพทย์ขั้นสูง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ  โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อช่วยบรรเทาหรือรักษาโรคเบาหวาน ที่ผ่านมา เอ็นไอเอ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีสร้างสรรค์และต่อยอดนวัตกรรม ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ ที่สามารถใช้ได้จริงทางการแพทย์มากกว่า 10 โครงการ เช่น เทคโนโลยีการคัดกรองแบบรวดเร็ว เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล เพื่อลดระยะเวลาการเดินทาง และช่วยให้สามารถเข้าถึงการรักษาเบื้องต้นได้ทุกที่ อาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมต่อการบริโภคของผู้ป่วย เวชภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคเบาหวาน ฯลฯ นอกจากนี้ เอ็นไอเอ  ยังตระหนักถึงนวัตกรรมที่จำเป็นในอนาคต เช่น สิทธิการเข้าถึงการรักษาเบาหวาน เบาหวานกับวิถีชีวิต การลดจำนวนผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยง เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น ตลอดจนฐานข้อมูลที่สำคัญ (บิ๊กดาต้า) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งประเทศ

         นวัตกรรม “TrueEye Technology” เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และภาวะเบาหวานขึ้นตาผ่านรูปถ่ายจอประสาทตา ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท บริษัท ทรูอาย จำกัด  ภายใต้การสนับสนุนของNIA   

         ดร. ศิพัตม์ ไตรอุโฆษ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ทรูอาย จำกัด  กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกที่คนไทยป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันกระบวนการตรวจค่าน้ำตาลสะสมมีความล่าช้าและยุ่งยาก ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเจาะเลือดและส่งแลปให้ประมวลผล ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงรู้ตัวช้า  “TrueEye Technology” เป็นนวัตกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และภาวะเบาหวานขึ้นตาผ่านรูปถ่ายจอประสาทตา ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง เทคโนโลยีด้านเว็บ/โมบายแอปพลิเคชัน การประมวลภาพ และการวิเคราะห์ภาพถ่ายจอประสาทตาด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยการใช้รูปจอประสาทตาของคนปกติและคนที่มีอาการผิดปกติมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลผู้รับบริการ เช่น อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ ความดันตัวบน และรอบเอว ที่กรอกผ่านแอปพลิเคชั่นมาวิเคราะห์ร่วมกับระบบ AI ให้จดจำและแยกแยะคนที่มีอาการปกติและผิดปกติ สามารถประเมินระดับความเสี่ยงได้ภายใน 5 นาที และมีความแม่นยำเทียบเท่ากับงานวิจัยระดับโลกเมื่อเทียบกับตัวชี้วัดมาตรฐานระดับสากล

 

          เทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากจะสามารถประเมินความเสี่ยงโรคได้ง่าย รวดเร็ว และไม่เจ็บตัวแล้ว ยังสร้างมิติใหม่ในการตรวจหาความเสี่ยงของภาวะเบาหวานและค่าน้ำตาลสะสมย้อนหลัง 3 เดือน ครอบคลุม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาวะปกติ กลุ่มภาวะเสี่ยง และกลุ่มภาวะเป็นเบาหวาน

         “เทคโนโลยี TrueEye  มีโรงพยาบาลสมิติเวชได้นำไปใช้งานแล้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความแออัดและภาระงานของแพทย์และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านสุขภาพของประเทศไทย และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันสามารถต่อยอดใช้ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อื่น เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกด้วย”ซีอีโอฯกล่าว

        อีกหนึ่งองค์กรที่มีนวัตกรรมเกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวาน นางสาวกมณฑกร แก้ววิเศษ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบโอเวิลด์ จำกัด กล่าวว่า แผลเบาหวาน เป็นแผลที่หายช้าเพราะการไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอ ส่งผลให้กลายเป็นแผลเรื้อรังและติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากแผลเบาหวานมีสภาพของบาดแผลที่รุนแรง ทำให้การรักษาในปัจจุบันแพทย์จะใช้ครีมทาแผลเบาหวานที่ได้จากการสังเคราะห์และเป็นตัวยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น บริษัทจึงได้ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นและพัฒนาต้นแบบตำรับยาทาแผลเบาหวานจากสมุนไพร เพื่อลดการนำเข้ายาเคมีรักษาแผลเบาหวานจากต่างประเทศ นำวัตถุดิบทางการเกษตรมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยารักษาแผลเบาหวานได้มากขึ้น

         นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก Austrian Drug Screening Institute (ADSI) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิเคราะห์สารสำคัญจากสมุนไพรและการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในยุโรป มาร่วมพัฒนายาทาแผลเบาหวานจากตำรับ “ยาน้ำสมุนไพรทองนพคุณ”  ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นชัน ทองพันชั่ง และไพล มีคุณสมบัติลดบวม ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อรา   โดยเป็นวัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศและมีปริมาณมากพอสำหรับผลิตในระดับอุตสาหกรรมมาผ่านกระบวนการสกัดสารสำคัญด้วยวิธีและสภาวะที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางยาสำหรับมาพัฒนาเป็นยาทาแผลเบาหวานจากสมุนไพร 100% มีประสิทธิภาพการรักษาแผลเบาหวานระยะเริ่มต้นถึงระยะกลาง มีสรรพคุณลดการอักเสบ ช่วยให้แผลแห้งไว ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ต้านเชื้อรา และยังสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เพื่อขยายสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป.

ShareTweetShare
Previous Post

กรุงไทยจับมือแพทยสภา เปิดตัวแอปฯ “MD eConnect” เชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลต่อยอดบริการทั่วประเทศ

Next Post

ม.มหิดล – St. Mary’s University สหรัฐอเมริกา วิจัยฝึกใช้ขาเทียมทางไกล

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 weeks ago
10
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

1 month ago
10
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

1 month ago
39
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

1 month ago
14
Load More
Next Post
ม.มหิดล – St. Mary’s University สหรัฐอเมริกา วิจัยฝึกใช้ขาเทียมทางไกล

ม.มหิดล – St. Mary’s University สหรัฐอเมริกา วิจัยฝึกใช้ขาเทียมทางไกล

ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ

ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.