เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ โดยผู้สูงอายุในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปจากสถิติในช่วงเดือนมกราคม 2565 กรมกิจการผู้สูงอายุระบุว่า มีผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคน คิดเป็น 18% จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน ซึ่งมีผู้สูงอายุช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี มากถึง 6.84 ล้านคน หนึ่งในปัญหาที่น่ากังวลเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น คือสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ โรคหลงลืม สมองเสื่อม ความเครียดกังวล ภาวะซึมเศร้าต่างๆ โรคประจำตัว รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่คนเดียว ที่อาจจะต้องเผชิญกับหัวใจล้มเหลวเชียบพลัน หกล้ม เป็นต้น
ดังนั้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมจึงเป็นส่วนที่จำเป็นในการช่วยให้ผู้สูงอายุหรือ ผู้ป่วยที่เดินทางไม่สะดวกได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อย่างในปัจจุบันเทเลเมดดิซีนบนรถพยาบาลฉุกเฉิน การรับยาเดลิเวอรี่ หรือการพบแพทย์ที่บ้าน เป็นต้น
ภายในงานนิทรรศการ SCG: The Next Chapter ได้มีการนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจ ภายใต้โครงการ DoCare Protect ซึ่งทางเอสซีจี ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งเป็นระบบ Health & Safety Monitoring Solution โดยเน้นการช่วยดูแลและเฝ้าระวังการใช้ชีวิตภายในบ้าน โดยมีการพัฒนานวัตกรรม Internet of Things (IoT) และ Digital Platform ที่เชื่อมต่อบ้านกับโรงพยาบาล ช่วยให้การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยทำได้ที่บ้านง่ายแค่ปลายนิ้ว ระบบเก็บข้อมูลสุขภาพอัตโนมัติส่งตรงถึงโรงพยาบาล เช่น ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับออกซิเจนในเลือด อุณหภูมิร่างกาย น้ำหนักตัว ทำให้สามารถติดตามอาการและปรึกษาแพทย์พยาบาลได้แบบเรียลไทม์ พร้อมระบบขอความช่วยเหลือและแจ้งเตือนทันทีเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ เช่น หกล้ม (Fall Detection)
สำหรับนวัตกรรมภายใต้โครงการ DoCare ที่เปิดตัวไปนานนี้ อย่าง นวัตกรรมปุ่มฉุกเฉินช่วยเหลือแบบพกพา (Help Trigger) มาพร้อมกับระบบ GPS ในตัว ระบบ Built-in SIM เพื่อให้ส่งสัญญาณถึงปลายทางโดยไม่ต้องสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ และกันน้ำได้ในระดับความลึก 1 เมตร สูงสุด 30 นาที แบตเตอรี่อยู่ได้นาน 3-4 วัน ทั้งนี้ยังสามารถติดตั้งการแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่าน LineOAเพื่อส่งไปยังคนในครอบครัวให้รับรู้ได้อีกด้วย
ส่วนผู้ใช้งานด้วยขนาดอุปกรณ์ที่กะทัดรัดพกพาสะดวก สามารถห้อยคอได้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถกดปุ่ม SOS เพื่อทำการโทรออกขอความช่วยเหลือได้ทันที และGPS ที่ติดตั้งภายในอุปกรณ์จะส่งสัญญาณบอกพิกัดแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อเดินทางช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด และยังมีการติดตั้งระบบการตรวจจับการหกล้ม และส่งสัญญาณช่วยเหลือทันที
และนวัตกรรม Anura อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น Anura เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเบื้องต้นจาก Vital Signs ประกอบด้วย อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับออกซิเจนในเลือด สามารถส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้ประกอบในการให้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผ่านการ Tele Consultation การพบแพทย์ทำได้จากที่บ้าน เพียงแค่กดปุ่มโทรปรึกษาอาการกับแพทย์แบบ Online แพทย์ก็จะสามารถเห็นข้อมูล Vital Signs ต่างๆ ทำให้การดูแลรักษารูปแบบ Virtual Hospital มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจเกี่ยวสุขภาพมากขึ้น ซึ่งความปราถนาที่คนต้องการมากที่สุด คือการได้อยู่ใกล้หมอ อยากให้มีช่วยเหลือทันทีเกิดปัญหาด้านสุขภาพ และบ้านที่ต้องมีความฉลาด สะอาด ประหยัด ปลอดภัย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเทรนด์ที่ทางเอสซีจีต้องการที่จะพัฒนาเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้คนในยุคนี้ โดยได้มีการรวบรวมนวัตกรทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ในการร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น ได้แก่ นวัตกรรมในโครงการ DoCare ระบบที่เชื่อมต่อระหว่างกับโรงพยาบาล เพื่อให้คนได้เชื่อมต่อกับแพทย์ได้อย่างเรียบไทม์ โดยเฉพาะผู้สูงที่อาจจะอาศัยอยู่บ้านคนเดียว หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ซึ่งปัญหาการหกล้มเป็นอีกเรื่องสำคัญดังนั้นภายในโครงการนี้จึงมีการพัฒนา Help Trigger ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานส่งสัญญาณฉุกเฉิน อย่างการหกล้ม ให้เข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุด
นอกจากนี้ยังมี SCG Ative AIR Quality ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการกัดกรองอากาศที่มีฝุ่น PM 2.5 เชื้อโรค ไวรัส และมลพิษไม่ให้เข้ามาภายในบ้าน, SCG Bi-ion ระบบไอออนกำจัดเชื้อโรคในอากาศ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใฝเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อได้ 99% ที่ผลิตขึ้นในช่วงโควิด-19 โดยนำไปติดตั้งในห้อง ICU ซึ่งปัจจุบันก็มีการนำไปติดในอาคารและตามโรงพยาบาลต่างๆ และSCG HVAC Air Scrubber ระบบบำบัดอากาศเสีย เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 30% ที่นิยมในพื้นที่ใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ด้าน พิมพ์ชนก วรวัฒนนนท์ Chief Product Owner – Well-being โครงการ DoCare กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรม เพื่อลดความกังวลในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว โดยการพัฒนานี้ได้ออกแบบนวัตกรรมหลายตัวเพื่อใช้ติดตั้งภายในบ้านที่ไม่กล้องเพื่อให้มีความเป็นส่วนตัว และไร้สายเพื่อให้การติดตั้งง่าย แต่จะใช้การตรวจจับด้วยระบบเซนเซอร์แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ เช่น เซนเซอร์จับการเปิด ปิดประตู เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวที่สามารถติดในห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น และห้องอื่นๆ รวมไปถึงการพัฒนา Anura อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น ที่ช่วยในการบันทึกข้อมูลสุขภาพสามารถดูย้อนหลังได้ และหากมีความกังวลหรือสุขภาพมีความผิดปกติก็สามารถพบแพทย์ได้แบบเรียลไทม์ โดยปัจจุบันมีเครือข่ายนำร่องกับทางโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลธนบุรี เป็นต้น
“อย่าง ปุ่มฉุกเฉินช่วยเหลือแบบพกพา ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้งานได้ง่าย เพื่อหกล้มหรือรู้สึกว่าร่างกายผิดปกติก็จะสามารถเชื่อมต่อไปยัง Care Center และส่งต่อไประบบฉุกเฉินเพื่อให้รถฉุกเฉินเข้ารับตัวผู้ป่วยส่งไปรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งนวัตกรรมนี้ตอบโจทย์อย่างมากสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียว เพราะลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และรับบฉุกเฉินยังสามารถส่งสัญญาณไปยังลูกหลานได้ด้วย และเร็วๆนี้ก็จะมีการเปิดตัวระบบที่คล้ายกับปุ่มฉุกเฉินฯ แต่อยู่ในรูปแบบสมาร์ทวอทช์ด้วย” พิมพ์ชนก กล่าว
พิมพ์ชนก ยังบอกอีกว่า ยังมีการจัดตั้งทีม Care Center ที่รองรับอย่างเพียงพอ ซึ่งดูแลโดยพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง/7วัน พร้อมกับทีม Emergency Service ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และทีมรถฉุกเฉินพยาบาลมืออาชีพที่คอยเฝ้าระวัง โดยไม่ใช่รถสังกัดของโรงพยาบาลหรือสังกัดมูลนิธิ และพร้อมเข้าช่วยเหลือทันท่วงที ตลอด 24 ชั่วโมง/7 วันอีกด้วย โดยปัจจุบันให้บริการครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่จะได้เข้ารับการช่วยเหลือไม่เกิน 30 นาที ส่วนในพื้นที่อื่นเชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง ขอนแก่น นครราชสีมา และ ภูเก็ต ก็กำลังจะมีการขยายเครือข่ายรถพยาบาลฉุกเฉินในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Discussion about this post